จับตา! ใกล้ ภูเก็ต หวั่นเกิด สึนามิ หลังแผ่นดินไหวรอบที่ 32 เช้าวันที่ 06 ก.ค. 65

Home » จับตา! ใกล้ ภูเก็ต หวั่นเกิด สึนามิ หลังแผ่นดินไหวรอบที่ 32 เช้าวันที่ 06 ก.ค. 65

เฝ้าระวัง! แผ่นดินไหว นอกชายฝั่ง หมู่เกาะนิโคบาร์ ซึ่งห่างจาก ภูเก็ต เพียง 530 กิโลเมตร หวั่นเกิด สึนามิ ประชาชนช่วยกันเตือนภัย

เกิดเหตุเตือนภัยและ #สึนามิ ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 เนื่องจากมี แผ่นดินไหว ใน หมู่เกาะนิโคบาร์ ซึ่งห่างจาก ภูเก็ต เพียง 530 กิโลเมต ซึ่งเป็นความแรงขนาด 4.9 ที่ความลึก 10 กิโลเมตร โดยเกิดขึ้นเป็นรอบที่ 32 แล้ว

ขอบคุณรูปภาพ : ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว จ.ภูเก็ต (ภาคประชาชน)

ครั้งแรกที่เกิด แผ่นดินไหว คือวันที่ 07 ก.ค. 65 ขนาด 4.8 ที่ความลึก 10 กิโลเมตร ทางตอนเหนือของ หมู่เกาะสุมาตรา แนวชายฝั่งจังหวัดอาเจ็ะห์ ห่างจากจังหวัด ภูเก็ต ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 480 กิโลเมตร และเกิดขึ้นมาเรื่อยๆจนถึงวันนี้ ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว จ.ภูเก็ต (ภาคประชาชน) อยากให้ประชาชนตื่นตัวแต่ไม่ตระหนก เฝ้าระวังเตือนภัยพร้อมขออาสาสมัครรายงานเสียงหอสัญญาณเตือนภัย ตลอดแนวชายฝั่งอันดามัน

ขอบคุณรูปภาพ : ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว จ.ภูเก็ต (ภาคประชาชน)

ด้าน รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานฯ ที่ มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ก็ได้ออกมาโพสต์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเกิด แผ่นดินไหว ครั้งนี้และอีกแห่งที่เกิด แผ่นดินไหว เช่นกันนั้นคือ หมู่เกาะอันดามัน ด้วย

ตระหนัก แต่ไม่ตระหนกแผ่นดินไหว และสึนามิอันดามัน

ขณะเดียวกัน ทุ่นเตือนภัยในมหาสมุทรอินเดีย ทั้งของไทย (2 ทุ่น) และอินเดีย (5 ทุ่น) ใช้งานไม่ได้ ทำให้เกิดความตระหนก และกังวลเรื่องสึนามิชายฝั่งทะเลอันดามันเหมือนกับเหตุการณ์ในปี 2547 ผมขอทำความเข้าใจในประเด็นที่สำคัญดังนี้

  • 1) แผ่นดินไหวที่จะทำให้เกิดสึนามิตามมาในระดับที่เป็นอันตรายต้องมีขนาดใหญ่ > 7.5 Mw
  • 2) การเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กหลายครั้ง (Foreshock) อาจตามมาด้วยแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้
  • 3) แผ่นดินไหวทุกครั้งไม่จำเป็นต้องเกิดสึนามิทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับขนาด ความลึก แนวรรอยเลื่อน และลักษณะการมุดตัว
  • 4) แม้ว่าแผ่นดินไหวคาดการณ์ และเตือนภัยไม่ได้ แต่เราสามารถคาดการณ์ และเตือนภัยสึนามิได้
  • 5) ระบบเตือนภัยสึนามิโดยใช้ทุ่นมักจะได้รับความเสียหายบ่อยครั้ง จึงไม่ใช่ทางออก
  • 6) ระบบคาดการณ์ และเตือนภัยโดยใช้ฐานข้อมูล จึงมีความจำเป็น โดยศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และภัยพิบัติ ใช้ระบบนี้เฝ้าระวัง (แต่เราเฝ้าระวังเฉพาะเวลาทำงาน 08.00-17.00) หากเกิดกลางคืน ตัวใครตัวมันน่ะครับ
  • 7) ความตระหนักเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด กล่าวคือเมื่อรู้สึกว่าแผ่นดินไหวริมชายฝั่งทะเล ให้รีบขึ้นที่สูง แล้วท่านและครอบครัวที่รัก จะปลอดภัยครับ
อาจเป็นรูปภาพของ แผนที่, กลางแจ้ง และ ข้อความ
ขอบคุณรูปภาพ : รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์
อาจเป็นรูปภาพของ แผนที่ และ ข้อความ
ขอบคุณรูปภาพ : รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์
อาจเป็นรูปภาพของ แผนที่ และ ข้อความ
ขอบคุณรูปภาพ : รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์
อาจเป็นรูปภาพของ แผนที่, ท้องฟ้า และ ข้อความพูดว่า "20 18 10 11.-20" 21 30 40 16 ระบบฐานข้อมูลเตือนภัยคลื่นสีนามิ 50 14 60 71-80 81 100 12 A 10 B 8 6 4 2 0 85 F 87 89 91 93 95 97 99 101 103 105 Real-time assimilation using AI ที่มา ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และภัยพิบัติ ม.รังสิต"
ขอบคุณรูปภาพ : รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์

อ่านข่าวที่น่าสนใจ

  • อีกอึดใจเดียว! รถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีเหลือง-สายสีชมพู คาดทดสอบเดินรถ ต.ค.65
  • คลิปไวรัล บ่าว-สาว แบกพานของรับไหว้เข้าพิธี พ่อตาแม่ยายเห็นถึงกับรีบคว้าไว้อย่างไว
  • คลิปไวรัล โคโยตี้เอวบิด ถูกดึงกางเกงในก้นโผล่ คนแห่ดู 2.2 ล้าน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ