จับตาคดีทางการเมือง ทักษิณ-เศรษฐา-ก้าวไกล ไปได้อีกไกลแค่ไหน!?

Home » จับตาคดีทางการเมือง ทักษิณ-เศรษฐา-ก้าวไกล ไปได้อีกไกลแค่ไหน!?

คดีทางการเมือง

ยังไม่จบ!? การเมืองไทย ยังไม่มีบทสรุป สังคมจับตาต่อ ทักษิณ-เศรษฐา-ก้าวไกล ใครจะได้ไปต่อ ในเส้นทางสายนี้

เรียกได้ว่ายังคงเข้มข้นอย่างมากกับการเมืองในปี 2567 โดยในวันนี้ 18 มิถุนายน 2667 ที่ศาลอาญา และศาลรัฐธรรมนูญ มีการพิจารณคดีทั้งหมด 4 คดี ได้แก่คดีของ นายทักษิณ ชินวัตร ในกรณี คดี ม.112 และ พรบ.คอมพ์, คดี 40 สว. ยื่นถอดถอนนาย เศรษฐา ออกจากตำแหน่งนายก, คดียุบพรรคก้าวไกล และ มติในการเลือกสว.ไม่ขัด หรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

  • ศาลรัฐธรรมนูญ นัดพิจารณา “ยุบพรรคก้าวไกล” ต่อ 3 ก.ค. 67
  • ‘เศรษฐา’ ยังมีลุ้นต่อ 10 ก.ค. หลังศาล รธน.ยืดเวลาให้อีก 15 วัน
  • ทักษิณ ชินวัตร ลอยตัว ศาลให้ประกันตัว วางหลักทรัพย์ 5 แสน!
  • ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ ชี้ 4 มาตราไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ยัน เลือกสว. ต่อ

สำหรับกรณีของ นายทักษิณ ชินวัตร ในกรณี คดี ม.112 และ พรบ.คอมพ์ ศาลให้ประกันตัว นายทักษิณ ชินวัตร ศาลพิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าจำเลยให้การปฏิเสธมาตลอดอายุมากได้รับการปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวนมีที่พักอาศัยเป็นหลักแหล่งแน่นอนอยู่กับครอบครัว  ทั้งนี้ศาลนัดไต่สวนพยานอีกครั้งในวันที่ 19 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 น.

ทางด้าน คดี 40 สว.ยื่น ถอดถอน “เศรษฐา” ออกจากตำแหน่งนายก นั้น ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาให้หน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องจัดทำความเห็นและจัดส่งสำเนาเอกสารหลักฐานตามประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดนัดพิจารณาต่อไปในวันที่ 10 ก.ค.นี้

และสำหรับ คดียุบพรรคก้าวไกล ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วมีคำสั่งดังนี้ ให้บุคคลเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นล่วงหน้าต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ นำพยานเอกสารในสำนวนการไต่สวนคดีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 มารวมไว้ในสำนวนคดีนี้ กำหนดนัดพิจารณาต่อไปในวันพุธที่ 3 กรกฎาคม 2567 และกำหนดให้คู่กรณีเข้ามาตรวจพยานหลักฐานในวันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2567

สำหรับ มติในการเลือกสว.ไม่ขัด หรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์วินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 36, 40 (3), 41 (3) และมาตรา 42 (3) ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ