จนท.ดับเพลิง คุมเพลิงโรงงานสารเคมีระยองสำเร็จ พร้อมเฝ้าระวังไฟปะทุเพิ่ม

Home » จนท.ดับเพลิง คุมเพลิงโรงงานสารเคมีระยองสำเร็จ พร้อมเฝ้าระวังไฟปะทุเพิ่ม
ไฟไหม้ ระยอง

ไฟไหม้โรงงานเก็บสารระยอง ล่าสุดควบคุมเพลิงได้แล้ว เจ้าหน้าที่เร่งฉีดโฟมสะกัด ในบ่อเก็บสารเคมีกว่า 30 บ่อ หวั่นลุกลาม

ความคืบหน้ากรณีเพลิงไหม้โรงงานเก็บกากสารเคมีอุตสาหกรรม บ.วินโพรเสส ม.4 ต.บางบุตร อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ที่เกิดมีไฟประทุลุกไหม้ถังสารเคมีทรงสีเหลี่ยมอยู่ในกรงเหล็กวางอยู่กับพื้นอยู่ใกล้กับโรงเก็บสารเคมีที่ 5 โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยและดับเพลิงเดินสำรวจไปเจอจึงได้นำรถดับเพลิงด้วยโฟมเข้าไปฉีดสกัดใช้เวลา 10 นาที จึงสามารถดับได้

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ต้องคอยเฝ้าระวังและสังเกตควันไฟ ซึ่งมีบางจุดที่ไฟอาจจะประทุขึ้นมาอีก ขณะที่สถานการณ์ภายในโรงเก็บสารเคมียังมีควันไฟให้เห็น ส่วนบ่อเก็บสารเคมีที่มีกว่า 30 บ่อ เจ้าหน้าที่ได้ฉีดโฟมคลุมไว้ ซึ่งไม่มั่นใจว่าจะคลุมได้นานขนาดไหน

  • กว่า 24 ชม. ยังคุมเพลิงไว้ไม่ได้ 100% ไฟไหม้โรงงานเก็บสารเคมีระยอง
  • 9 ชั่วโมงเต็ม! จนท.ยังคุมเพลิง โรงงานสารเคมีในระยองไม่ได้
438225185 866517922169002 496386562029353749 n

ทางด้านนายจตุรงค์ วงค์สุวรรณ นายก อบต.บางบุตร เปิดเผยถึงสถานการณ์ล่าสุดว่า สภาพขณะนี้สามารถควบคุมเพลิงได้ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ ยังมีบางจุดที่ยังมีควันไฟอยู่ได้ใช้โฟมฉีดคลุมไว้ ส่วนที่มีความกังวลคือ เรื่องของผงที่ถูกไฟไหม้กองอยู่ ฉีดโฟมคลุมแล้วยังไม่ทราบว่าจะประทุขึ้นมาอีกหรือไม่ และไม่รู้มันมีสารที่เป็นพิษ หรือแคดเมียมที่เขาลือกันหรือไม่ และการบำบัดหรือขนย้ายจะต้องทำอย่างไร ซึ่งพอมันเกิดไฟไหม้ขึ้นจะมีการขนหรือต้องทิ้งไว้นานแค่ไหน ซึ่งหวั่นจะกระทบกับสิ่งแวดล้อมและชาวบ้าน

438205691 7545489748830180 8679208856342218914 n

ทั้งนี้ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดประเด็นเกี่ยวกับ ‘โรงงาน’ แห่งนี้ ย้อนกลับไปในปี 2566 ที่มีเหตุการณ์ #น้ำท่วมระยอง66 ชุติพงศ์ ​พิภพภิญโญ สส. ระยอง เขต 4 จากพรรคก้าวไกล อภิปรายในสภาฯ ว่าในพื้นที่หนองพะวาได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหนัก อันมาจากผนังกั้นน้ำในบ่อเก็บน้ำของโรงงานแตก ซึ่งในนั้นเต็มไปด้วยสารปนเปื้อนอันตราย แต่แล้วน้ำปนเปื้อนนั้นก็ไหลปนรวมกับคลอง จนถึงแม่น้ำระยอง

ประเด็นระหว่าง โรงงานกับชาวบ้าน เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2553 ที่ชาวบ้านคัดค้านการเริ่มกิจการ ด้วยกังวลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ แต่ก็ไม่เป็นผล โดยจากการตรวจสอบพบว่ามีการทิ้งและกำจัดขยะอย่างไม่ถูกต้อง จนเกิดปัญหามลพิษในพื้นที่ แหล่งน้ำเน่า พืชและสัตว์ล้มตาย และกระทบต่อการใช้ชีวิต จนประชาชนรวมตัวฟ้องร้อง และในปี 2566 ศาลพิพากษาให้วิ โพรเสส ชำระค่าเสียหาย และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ