งานวิจัยใหม่เผย ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ อาจมี 3 สายพันธุ์

Home » งานวิจัยใหม่เผย ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ อาจมี 3 สายพันธุ์


งานวิจัยใหม่เผย ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ อาจมี 3 สายพันธุ์

วันที่ 1 มี.ค. ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า มีไดโนเสาร์เพียงไม่กี่ตัวที่เผยความลึกลับแบบเดียวกับ ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ (ที. เร็กซ์) แต่อาจมีความเข้าใจผิดว่าครั้งหนึ่ง ที. เร็กซ์ ที่ครั้งหนึ่งเคยเดินเตร่ทั่วทวีปอเมริกาเหนือ

การวิเคราะห์ใหม่ของกระดูกและฟันของตัวอย่าง ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ จำนวน 37 ตัวแสดงว่า ไดโนเสาร์อาจต้องจัดกลุ่มใหม่เป็น 3 สายพันธุ์ที่แยกจากกัน โดยที. เร็กซ์ ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 90 ล้านถึง 66 ล้านปีก่อนอาจมีพี่น้อง 2 สายพันธุ์ ได้แก่ tyrant lizard queen และ tyrant lizard emperor

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Evolutionary Biology ระบุว่า เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่า “ความอ้วน” ของโครงกระดูกไทแรนโนซอรัสที่โตเต็มวัยมีความแตกต่างกันอย่างมาก สิ่งนี้อธิบายได้จากความแตกต่างทางเพศ โดยที. เร็กซ์ตัวเมียอาจตัวเล็กกว่าตัวผู้ด้วยซ้ำ อีกทางหนึ่ง สามารถอธิบายได้ด้วยขั้นตอนพัฒนาการ หรือเพียงแค่ความแตกต่างผันแปรในลักษณะของแต่ละตัว

ความแตกต่างอื่นๆ ได้แก่ ฟันกรามขนาดเท่ากล้วยลูกหนึ่ง โดยที. เร็กซ์บางตัว มีฟันหน้ารูปตัวดี (D) ซี่เดียวที่เล็กกว่าฟันซี่ถัดไปอย่างมาก ขณะที่ตัวอื่นมีฟันรูปตัวดีที่เล็กกว่า 2 ซี่

คณะนักวิจัยเปรียบความยาวและเส้นรอบวงของกระดูกโคนขาหรือกระดูกต้นขาของตัวอย่างที. เร็กซ์ จำนวน 24 ชิ้น และยังวัดฐานของฟันหรือช่องว่างในกรามเพื่อทำความเข้าใจว่า ที. เร็กซ์ จำนวน 12 ตัวมีฟันกรามเรียว 1 หรือ 2 ซี่หรือไม่ ข้อสรุปของทีมนักวิจัยคือว่า ที. เร็กซ์ ไม่ใช่ไดโนเสาร์ตัวเดียวที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่อาจมีสายพันธุ์พี่น้องที่มีความน่ากลัวพอๆ กัน 2 สายพันธุ์

เกรกอรี ปอล ผู้เขียนการศึกษาชื่อ The Princeton Field Guide to Dinosaurs ระบุว่า “ทั้ง 3 สายพันธุ์มีน้ำหนัก 6-7 ตันที่มีกะโหลกและลำตัวคล้ายกัน จะเหมือนกับความแตกต่างระหว่างการถูกสิงโตหรือเสือทำร้าย ไม่มากหรือน้อย

“ความแตกต่างนั้นมีความละเอียดอ่อนคล้ายกับที่โครงกระดูกของสิงโต (Panthera leo) และเสือ (Panthera tigris) ยากที่จะแยกแยะแม้แต่ในหมู่ผู้เชี่ยวชาญ” ปอลกล่าว


ความแตกต่างผันแปรของฟอสซิล กับ สายพันธุ์ที่แตกต่าง

อย่างไรก็ตาม นักบรรพชีวินวิทยาคนอื่นไม่เห็นด้วยกับการค้นพบนี้

สตีฟ บรูแซ็ตต์ ศาสตราจารย์และประธานสาขาวิชาบรรพชีวินวิทยาและวิวัฒนาการที่คณะธรณีศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเอดินบะระ อังกฤษ ระบุทางอีเมลว่า “ผมเข้าใจความต้องการแบ่งที. เร็กซ์ ออกเป็นสายพันธุ์ต่างๆ เนื่องจากระดูกฟอสซิลที่เรามีนั้นมีความแตกต่างผันแปรอยู่บ้าง แต่สุดท้ายแล้ว ความแตกต่างผันแปรนี้มีน้อยมาก และไม่บ่งบอกถึงการแยกแยะทางชีววิทยาที่มีความสำคัญของสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถกำหนดได้ด้วยอาศัยความแตกต่างที่ชัดเจน แน่นอน และสม่ำเสมอ

“การแบ่งที. เร็กซ์ ออกเป็น 3 สายพันธุ์ตามการวัดจากกระดูก 38 ชิ้น ไม่เพียงพอสำหรับข้าพเจ้า” ศ.บรูแซ็ตต์กล่าว

ส่วน โธมัส คาร์ รองศาสตราจารย์ชีววิทยา ผู้อำนวยการสถาบันบรรพชีวินวิทยา คาร์เธจ แห่งวิทยาลัยคาร์เธจ ในเมืองเคโนชา รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า คุณลักษณะที่ระบุโดยคณะนักวิจัยแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีความหมาย และไม่ใช่สัญญาณทางชีววิทยา

นอกจากนี้ การศึกษาของรศ.คาร์เกี่ยวกับความแตกต่างผันแปรของโครงกระดูกที. เร็กซ์ ที่ตีพิมพ์ในปี 2563 ไม่ได้เปิดเผยสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน


ผู้เขียนการศึกษากล่าวว่า ไทแรนโนซอรัสที่มีความแข็งแกร่งกว่าในกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนมากกว่าที. เร็กซ์ที่มีรูปร่างเรียว ในสัดส่วน 2 ต่อ 1 และตัวเลขความเหลื่อมล้ำดังกล่าวไม่สามารถอธิบายได้ด้วยขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เล็ก และไม่สามารถอธิบายความแตกต่างตามเพศได้ ซึ่งจะส่งผลให้ความแตกต่างมากขึ้น

ความแตกต่างผันแปรของกระดูกขายังไม่สัมพันธ์กับระยะพัฒนาการเช่นกัน เนื่องจากกระดูกโคนขาที่แข็งแรงกว่าพบได้ในไดโนเสาร์อายุน้อยบางตัว ซึ่งมีขนาดประมาณ 2 ใน 3 ของตัวเต็มวัย ขณะที่กระดูกขาเรียวยังพบในกลุ่มตัวอย่างของขนาดโตเต็มวัยบางส่วนเช่นกัน

เมื่อพูดถึงโครงสร้างฟัน กลุ่มตัวอย่างที่มีฟันกรามเพียงซี่เดียวมีความสัมพันธ์กับกระดูกขาที่เรียวกว่า แม้จะมีขนาดกระดูกขาสำหรับไดโนเสาร์ 12 ตัวเท่านั้น

ขณะที่ผู้เขียนการศึกษายอมรับว่า ข้อมูล “ไม่เป็นไปตามข้อพิสูจน์ในอุดมคติ” ของ 3 สายพันธุ์ที่แยกจากกัน แต่กล่าวว่า การศึกษาดังกล่าวระบุว่ามี “รูปพรรณสัณฐาน” ที่รู้จัก 3 แบบภายในไทแรนโนซอรัสที่คณะนักวิจัยศึกษา

เหล่านี้เป็นไทแรนโนซอรัสเร็กซ์ที่โด่งดังอยู่แล้ว (tyrant lizard king) ที่มีคุณสมบัติแข็งแกร่งและฟันหน้าเล็ก 1 ซี่ และไดโนเสาร์ตัวโตอีกตัวที่มีฟันหน้า 2 ซี่ ซึ่งนักวิจัยเรียกว่า Tyrannosaurus imperator (tyrant lizard emperor) และตัวที่สาม – ไทแรนโนซอรัสที่มีรูปร่างเรียวกว่า ซึ่งคณะนักวิจัยตั้งชื่อ Tyrannosaurus regina (tyrant lizard queen)

“ความคาดหวังอย่างเต็มที่คือว่า ที. เร็กซ์ใหม่ๆ เหล่านี้จะมีการตรวจสอบ และจะมีการแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติม หากตัวอย่างและการวิเคราะห์เพิ่มเติมเผยออกมา” การศึกษาระบุ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
พบข้อมูลเพิ่ม จระเข้ พันธุ์ใหม่ยุคครีเทเชียส กินไดโนเสาร์วัยโต เป็นมื้อสุดท้าย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ