เปิดคำวินิจฉัยฉบับเต็ม! ศาลรัฐธรรมนูญ กับคดีประวัติศาตร์ มติ 8:1 ชี้การชุมนุม ม็อบ 10 สิงหาฯ เข้าข่าย ‘ล้มล้างการปกครอง’ สั่งหยุดการกระทำในอนาคต
เมื่อวันที่ 10 พ.ย. ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีการอ่านคำวินิจฉัยว่า การกระทำของ นาย อานนท์ นำภา นาย ภาณุพงศ์ จาดนอก หรือ ไมค์ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง ที่ชุมนุมปราศรัยวันที่ 10 ส.ค.63 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต ซึ่งมีการเสนอข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ในการ ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งเครือข่าย เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่งจึงมีคำสั่งให้เลิกการกระทำ โดยศาลให้เหตุผลว่า
ศาลได้พิจารณาคำร้องคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเอกสารชี้แจงจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่าคดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่ข้อเท็จจริงตามคำร้อง คำชี้แจงพยานหลักฐานต่างๆรวมทั้งบันทึกเสียงคำปราศรัยของผู้ถูกร้องทั้ง 3 ฟังเป็นที่ยุติว่าผู้ถูกร้องทั้ง 3 ปราศรัยในที่สาธารณะหลายครั้งหลายหลายสถานที่ต่อเนื่องกัน ตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค. 63 เรียกร้องให้ดำเนินการแก้ไขเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
โดยการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิตเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 63 ผู้ถูกร้องทั้งอภิปรายเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยข้อเรียกร้อง10ข้อ กรณีมีข้อโต้แย้งที่ต้องวินิจฉัยก่อนว่าคำร้อง คลุมเครือไม่ชัดเจนครบองค์ประกอบตามมาตรา 49 หรือไม่เห็นว่า เมื่อพิจารณาคำร้องเป็นการอ้างถึงการที่ผู้ถูกร้องปราศรัยเมื่อวันที่ 10 ส.ค.63 ในเวทีธรรมศาสตร์จะไม่ทน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต
มีเนื้อหาบิดเบือนจาบจ้วง ล้อเลียน หมิ่นพระบรมเดชานุภาพสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำที่มีเจตนาล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 โดยที่เอกสารต่างๆรวมทั้งถอดคลิปเสียงที่แสดงถึงการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 กับพวกประกอบมาท้ายคำร้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องเช่นนี้คำร้องจึงมีความชัดเจนและเพียงพอที่จะทำให้ผู้ถูกร้องทั้ง 3 เข้าใจสภาพของการกระทำที่เป็นข้อกล่าวหาสามารถต่อสู้คดีได้ ข้อโต้แย้งนี้ของผู้ถูกร้องทั้ง3จึงฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เป็นการใช้สิทธิ์หรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่ พิจารณาเห็นว่าหลักการตามรัฐธรรมนูญรากฐานระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คุณค่าทางรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นแก่นของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกอบด้วยคุณค่าสำคัญได้แก่
การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญหมวด 3 ทั้งนี้การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามพุทธศักราช 2475 มีการบัญญัติเรื่อยมาในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ
โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 25 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยนอกจากทีาบัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะใน รัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่ไม่ได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นบุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพที่จะกระทำการนั้นได้ และได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญตราบเท่าที่การใช้สิทธิและเสรีภาพเช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดหลักประกันเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน สามารถแยกได้เป็น 2 ส่วน
คือส่วนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะ และส่วนที่รัฐธรรมนูญหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นไม่ได้มีการบัญญัติห้ามไว้ ปวงชนชาวไทยซึ่งมีสิทธิและเสรีภาพดังกล่าวทั้งได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญจึงให้การคุ้มครองการใช้สิทธิเสรีภาพทุกกรณีทั้งที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะและที่ไม่ได้มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นห้ามหรือจำกัดไว้ โดยมีเงื่อนไขว่าการใช้สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองต้องไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น เมื่อบุคคลมีสิทธิและเสรีภาพย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามมาด้วย
หน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองปรากฏชัดในรัฐธรรมนูญหมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทยมาตรา 50(1)(3)(6) ที่กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติศาสนาพระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นและไม่กระทำการใดที่จะก่อให้เกิดการแบ่งแยกหรือเกลียดชังของสังคม
มาตรา 49 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าบุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้ วรรค 2 บัญญัติว่าผู้ใดทราบว่ามีการกระทำตามวรรคหนึ่งย่อมมีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้ วรรคสามบัญญัติว่าในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอหรือไม่ดำเนินการภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ และวรรคสี่บัญญัติว่าการดำเนินการตามมาตรานี้ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีอาญาของผู้กระทำการของผู้กระทำการตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์ปกป้องคุ้มครองระบอบการปกครองของประเทศที่เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ข้อกำหนดให้ผู้ที่ทราบว่ามีการกระทำอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขร้องต่ออัยการสูงสุดและกรณีที่อัยการสูงสุดไม่รับดำเนินการตามคำร้องขอภายใน 15 วันสามารถยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเองได้
นอกจากนี้ยังกำหนดให้การดำเนินการตามมาตราดังกล่าวไม่กระทบต่อการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดังนั้นรัฐรัฐธรรมนูญมาตรา 49 มุ่งหมายให้ปวงชนชาวไทยทุกคนมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่มีอำนาจในการทำหน้าที่ตรวจสอบและวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49
โดยหลักการตามมาตรา 49 วรรคหนึ่งบัญญัติเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามพุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495มาตรา 35 และบัญญัติในทำนองเดียวกันในรัฐธรรมนูญทุกฉบับเป็นการวางหลักการเพื่อปกป้องการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากภัยคุกคามอันเกิดจากการกระทำซึ่งเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในลักษณะมุ่งหมายให้กับกลาย และคุณค่าของรัฐธรรมนูญที่รองรับการดำรงอยู่ของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีให้ล้มเลิกหรือสูญเสียไป
หลักการตามหลักรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคสอง ปรากฏเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ2540 มาตรา 63 และบัญญัติในทำนองเดียวกันในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 68 เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์กำหนดว่าเมื่อมีผู้ทราบถึงการกระทำอันเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขบุคคลผู้นั้นย่อมมีสิทธิ์ร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว
ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ 2560 บัญญัติเพิ่มเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นว่าถ้าอัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำร้องตามที่ร้องขอภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเองได้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการรับรองสิทธิของพลเมืองในการปกป้องรัฐธรรมนูญจากการกระทำของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่ใช้สิทธิหรือเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในประการที่นำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ดังนั้นการใช้สิทธิ์ปกป้องรัฐธรรมนูญถือเป็นกลไกหนึ่งของระบบยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญโดยบุคคลที่ใช้สิทธิในการปกป้องรัฐธรรมนูญจะต้องยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำร้องก่อนเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอหรือไม่ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอรัฐธรรมนูญก็รับรองสิทธิของผู้ร้องในการยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้เอง
การรับรองสิทธิของผู้ร้องในกรณีดังกล่าวเป็นการสร้างหลักประกันการธำรงไว้ซึ่งหลักการอันเป็นสาระสำคัญแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อใดที่ปรากฏการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขการกระทำในลักษณะดังกล่าวย่อมถูกกล่าวหาเป็นคดีในศาลรัฐธรรมนูญได้
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำร้องคำร้องเพิ่มเติม คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและพยานหลักฐานต่างๆที่สำนักงานอัยการสูงสุดร่วมกับสถานีตำรวจภูธรคลองหลวง จ.ปทุมธานี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่าเมื่อวันที่ 10 ส.ค.63 ผู้ถูกร้องทั้ง 3 จัดชุมนุมปราศรัย เวทีธรรมศาสตร์จะไม่ทน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต การปราศรัยของ นายอานนท์ นำภา ผู้ถูกร้องที่ 1 ปราศรัยถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า
“ที่เรามาชุมนุมกันในวันนี้ เพื่อยืนยันว่านอกจากข้อเสนอ 3 ข้อที่เราพูดกันอยู่ทุกเวที ความจริงมีข้อเสนอระหว่างบรรทัดที่เป็นข้อเสนอสำคัญที่สุดคือการแก้ปัญหาการขยายพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และผมขอยืนยันอีกครั้งว่านี่ไม่ใช่ม็อบล้มเจ้า ไม่ใช่ม็อบจาบจ้วง แต่เป็นม็อบที่พูดความจริงเกี่ยวกับปัญหาบ้านเมือง ประเด็นสำคัญที่ผมจะพูดวันนี้คือข้อเรียกร้องระหว่างบรรทัดของพวกเราระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้นหมายถึงกษัตริย์ต้องอยู่เหนือการเมืองและอยู่ใต้รัฐธรรมนูญพระราชกรณียกิจอันใดที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
ต่อไปนี้ต้องถูกตั้งคำถามดังๆ ต่อสาธารณะเราอยากเห็นสถาบันพระมหากษัตริย์ปรับตัวเข้าหาประชาชนไม่ใช่ให้เราปรับตัวเข้าหาสถาบันพระมหากษัตริย์ การอยู่ใต้รัฐธรรมนูญเป็นสาระสำคัญของการปกครองที่พวกเรามีอยู่แต่ปัญหามันเกิดขึ้นเมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์พยายามใช้อำนาจผ่านการรัฐประหารปี 2557 พระมหากษัตริย์ ถ้ายังเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต้องไม่เซ็นรับรองการรัฐประหาร หากการรัฐประหารเกิดขึ้นพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ฝ่ายประชาธิปไตยเท่านั้น”
ส่วน นายภาณุพงศ์ จอดนอก ผู้ถูกร้องที่ 2 กล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า”นับแต่คณะราษฎรนำโดยท่านปรีดีพนมยงค์และท่านพระยาพหลพลพยุหเสนาได้มีการปฏิวัติสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยและให้กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบันผมคิดว่าการใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยังใช้ยาวมาจนถึงรัชกาลปัจจุบันเพราะกษัตริย์อยู่เหนืออำนาจอธิปไตยทั้ง 3 อำนาจอำนาจตุลาการ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ ถามว่าทำไมต้องพูดแบบนี้
ท่านเคยรู้หรือไม่ว่าหมวดที่ 2 ของรัฐธรรมนูญมาตรา 6 วรรคสอง บอกไว้ว่าผู้ใดไม่สามารถฟ้องร้องกษัตริย์ได้ เช่นนี้แล้วแสดงว่าพระมหากษัตริย์อยู่เหนืออำนาจอธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของ เจตนาการพูดของผมในครั้งนี้ต้องการให้พระมหากษัตริย์อยู่ในที่ที่เหมาะสมร่วมกับประชาชนคนไทยได้ และที่บอกว่าอยู่เหนืออำนาจอธิปไตยคือการอยู่เหนืออำนาจของประชาชนโดยที่ประชาชนไม่สามารถแตะต้องได้เพราะถ้าใครแต่ต้องคนนั้นต้องโดนมาตรา 112″
และ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ผู้ถูกร้องที่ 3 ประกาศกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมฉบับที่ 1 มีสาระสำคัญสรุปว่า “นับแต่คณะราษฎรเกิดการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยหวังว่าประเทศจะมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่เหนือระบอบการเมืองอย่างแท้จริงแต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระมหากษัตริย์ยังคงทรงอำนาจแทรกแซงเหนือการเมือง เมื่อเกิดรัฐประหารพระมหากษัตริย์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งหัวหน้ารัฐประหาร รวมทั้งถ่ายโอนงบประมาณแผ่นดินเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ ทรงใช้พระราชอำนาจนอกกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติ และให้สามารถเสด็จไปประทับนอกราชอาณาจักรได้โดยไม่ต้องแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
รัฐบาลเผด็จการยอมสยบอยู่ภายใต้มือของพระมหากษัตริย์ด้วยอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพวกเขาเห็นได้ว่าพวกเขาเหล่านี้สมประโยชน์กันเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่ากษัตริย์ประเทศไทยนี้ไม่ได้ทรงอยู่เหนือการเมืองหากแต่เป็นรากเหง้าของปัญหาการเมืองตลอดมา นอกจากจะทรงละเลยหน้าที่การเป็นประมุขยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนแล้วยังเสด็จไปเสวยสุขประทับอยู่ต่างแดน โดยใช้เงินภาษีของราษฎรทั้งที่ราษฎรประสบความยากลำบาก
อีกทั้งยังมีสัมพันธ์แนบแน่นกับกลุ่มกบฏผู้ก่อการรัฐประหาร กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมจึงเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาสถาบันพระมหากษัตริย์จำนวน 10 ข้อ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่มีบทลักษณะการห้ามใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขปรากฏใ
รัฐธรรมนูญ40มาตรา 63 รัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 68 และรัฐธรรมนูญ 60 มาตรา 49 และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่18-22/2555 คําวินิจฉัยศาลรัฐนูญที่ 3/2562 ได้วางหลักคำว่าล้มล้างว่าเป็นภัยร้ายแรงต่อรัฐธรรมนูญและระบอบการปกครองตามรัฐธรรมนูญที่สุดวิสัยจะแก้ไขให้กลับคืนได้ นอกจากนั้นเป็นการกระทำที่มีเจตนาเพื่อทำลายหรือล้างผลาญ สูญสลาย หมดสิ้นไป ไม่ให้ดำรงอยู่หรือมีอยู่อีกต่อไปการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยพระราชฐานะของพระมหากษัตริย์ที่ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอยู่เหนือความรับผิดชอบทางการเมืองตามหลักกฎหมาย
รัฐธรรมนูญที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงกระทำผิดมิได้และให้มีการยกเลิกกฎหมายที่ห้ามผู้ใดล่วงละเมิดหมิ่นประมาทพระบรมเดชานุภาพสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายดังกล่าวจะส่งผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ในสถานะที่เคารพ สักการะ อันนำไปสู่การสร้างความปั่นป่วน และความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเกินความพอเหมาะพอควร
โดยมีผลทำให้กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และจะนำไปสู่การบ่อนทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุดพระมหากษัตริย์กับชาติไทยดำรงอยู่คู่กัน นับแต่อดีตถึงปัจจุบันและจะดำรงอยู่ด้วยกันต่อไปในอนาคตประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้ว
ปวงชนชาวไทยยังเห็นพ้องร่วมกันอัญเชิญพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นสถาบันหลักคู่ชาติไทยและถวายความเคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ทั้งนี้เพื่อธำรงความเป็นชาติไทยไว้ ดังปรากฏในพ.ร.บ.ธรรมนูญการปกครองสยามชั่วคราวพุทธศักราช 2475 โดยมาตรา 1 บัญญัติว่าอำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย
มาตรา 2 บัญญัติว่า เมื่อมีบุคคลและคณะบุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้เป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังที่จะกล่าวต่อไปในรัฐธรรมนูญคือ 1.กษัตริย์ 2.สภาผู้แทนราษฎร 3.คณะกรรมการราษฎร 4.ศาล มาตรา 3 บัญญัติว่ากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศพระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่นๆซึ่งจะมีกฎหมายบัญญัติเป็นการเฉพาะก็ดีจะต้องกระทำในนามกษัตริย์
ต่อมาเมื่อมีการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามเมื่อวันที่ 10 ธ.ค.2475 ในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวบททั่วไปมาตรา 2 บัญญัติว่าอำนาจอธิปไตยย่อมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นแต่โดยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญนี้หมวด 1พระมหากษัตริย์หมวด 3 บัญญัติว่าองค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ มาตรา 5 ระบุว่าพระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพสยาม
มาตรา 6 บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจนิติบัญญัติโดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร มาตรา 7 บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี มาตรา 8 บัญญัติว่ามหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจตุลาการทางศาลที่ได้ตั้งขึ้นตามกฎหมาย จากบทบัญญัติในพ.ร.บ.ธรรมนูญการปกครองสยามชั่วคราวพุทธศักราช 2475และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามฉบับดังกล่าวเห็นได้ว่าประวัติศาสตร์การปกครองของไทยนั้นอำนาจการปกครองเป็นของพระมหากษัตริย์มาโดยตลอดนับแต่ยุคสุโขทัย อยุธยาตลอดจนรัตนโกสินทร์
พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงเป็นประมุขของไทยมีพระราชภารกิจที่สำคัญยิ่งเพื่อรักษาความอยู่รอดของบ้านเมืองและประชาชนโดยจะต้องดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยเพื่อนำกองทัพต่อสู้ปกป้องและขยายอาณาจักรตลอดเวลาในยุคก่อนที่ผ่านมา ประกอบกับพระมหากษัตริย์ไทยทรงถือหลักการปกครองโดยยึดหลักธรรมของพุทธศาสนา และยึดถือทศพิธราชธรรมเป็นหลักในการปกครองประเทศ พระมหากษัตริย์ของไทยจึงเป็นที่เคารพและศรัทธา เป็นศูนย์รวมจิตใจความเป็นหนึ่งเดียวกันของปวงชนชาวไทยมาโดยตลอดเป็นเวลามาหลายร้อยปี
ดังนั้นแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของไทยเมื่อปี 2475 คณะราษฎรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงและประชาชนชาวไทยจึงเห็นพ้องกันในการอัญเชิญสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อเป็นทรงสถาบันหลักจะต้องคงอยู่กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวโดยเรียกรูปแบบการปกครองนี้ว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและราชอาณาจักรไทยได้คงไว้ซึ่งการปกครองนี้ต่อเนื่องมาโดยตลอดทำนองเดียวกับประเทศต่างๆที่มีความเป็นมาของชาติและเอกราชแตกต่างกันแต่สิ่งที่เหมือนกันประการหนึ่งคือเอกรัฐ หรือสัญลักษณ์ของชาติ รวมถึงทรัพย์สมบัติของชาติจะมีกฎหมายห้ามกระทำการอันเป็นมลทินที่ทำให้เสื่อมสภาพ เสียหายหรือชำรุด
“ข้อเรียกร้องที่ขอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 6ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่รับรองพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในฐานะทรงเป็นประมุขของรัฐที่ผู้ใดจะกล่าวหาหรือละเมิดมิได้นั้นจึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาทำลายล้างสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดแจ้งการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เป็นการเซาะกร่อน บ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การออกมาเรียกร้องโจมตีในที่สาธารณะโดยอ้างการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ นอกจากเป็นวิถีที่ไม่ถูกต้อง ใช้ถ้อยคำหยาบคาย และยังไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่เห็นต่างได้ด้วย อันจะเป็นกรณีตัวอย่างให้คนอื่นทำตาม
ยิ่งกว่านั้นการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 มีการดำเนินงานอย่างเป็นขบวนการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายและการปราศรัยของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เมื่อวันที่ 10 ส.ค.63 ณเวทีธรรมศาสตร์จะไม่ทนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตจะผ่านไปแล้ว
ภายหลังจากที่ นายณฐพร โตประยูร ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ยังปรากฏว่าผู้ถูกร้องทั้ง 3 ยังคงร่วมชุมนุมกับกลุ่มต่างๆโดยใช้ยุทธวิธีเปลี่ยนแปลงรูปแบบการชุมนุม วิธีการชุมนุม เปลี่ยนแปลงผู้ปราศรัย ใช้กลยุทธ์แบบไม่มีแกนนำที่ชัดเจน แต่มีรูปแบบการกระทำอย่างต่อเนื่องโดยกลุ่มคนที่มีแนวคิดเดียวกัน การเคลื่อนเคลื่อนไหวของผู้ถูกร้องทั้ง 3 และกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมีลักษณะเป็นขบวนการเดียวกัน มีเจตนาเดียวกันตั้งแต่แรก ถูกผู้ถูกร้องทั้ง 3 มีพฤติการณ์กระทำซ้ำและกระทำต่อไปอย่างต่อเนื่องโดยมีการกระทำกันเป็นขบวนการซึ่งมีลักษณะของการปลุกระดม ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ มีลักษณะก่อให้เกิดความวุ่นวายและความรุนแรงในสังคม
ระบอบประชาธิปไตยมีหลักการสำคัญ 3 ประการ 1 เสรีภาพหมายถึงทุกคนมีสิทธิ์คิด พูดและทำอะไรก็ตามที่ไม่มีกฎหมายห้าม 2 เสมอภาคคือทุกคนมีความเท่าเทียมกัน 3ภราดรภาพหมายถึงคนทั้งหลายมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันช่วยเหลือเกื้อกูลกันฉันท์พี่น้อง มีความสามัคคีกัน การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้นด้วยความผูกพันของปวงชนชาวไทยกับสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีมาหลายร้อยปี พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขจึงได้รับความยินยอมจากปวงชนชาวไทยให้ทรงใช้อำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยเป็นเสาหลักสำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ดังนั้นการกระทำใดๆที่มีเจตนาเพื่อทำลายหรือทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องสิ้นสลายไป ไม่ว่าจะด้วยวิธีการพูด เขียนหรือการกระทำต่างๆเพื่อให้เกิดผลเป็นการบ่อนทำลาย ด้อยคุณค่า หรือทำให้อ่อนแอลง ย่อมแสดงให้เห็นถึงการมีเจตนาเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ การใช้สิทธิเสรีภาพของผู้ถูกร้องทั้งสามไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เป็นการอ้างสิทธิเสรีภาพเพียงอย่างเดียวไม่ได้คำนึงถึงหลักความเสมอภาค ภราดรภาพ ผู้ถูกร้องทั้ง 3 ใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างจากบุคคลรวมทั้งล่วงละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่นที่เห็นต่างด้วย ด้วยการด่าทอ รบกวนพื้นที่ส่วนตัว ยุยงปลุกปั่น ด้วยข้อเท็จจริงที่บิดเบือนจากความเป็นจริง
ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 มีการจัดตั้งกลุ่มในลักษณะเป็นองค์กรเครือข่าย มีการใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง บางเหตุการณ์ผู้ถูกร้องทั้ง 3 มีส่วนในการจุดประกายในการอภิปรายปลุกเร้าให้เกิดความรุนแรงในบ้านเมืองทำให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติอันเป็นการทำลายหลักความเสมอภาคและภราดรภาพผลการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 นำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนอกจากนี้ยังปรากฏว่าการชุมนุมหลายครั้งมีการทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์
การแสดงออกโดยลบแถบสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีของพระมหากษัตริย์ออกจากธงไตรรงค์ ข้อเรียกร้องสิทธิ์ 10 ข้อของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เช่น การยกเลิกมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ การยกเลิกการรับบริจาคโดยพระราชกุศล การยกเลิกพระราชอำนาจ และการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะเป็นข้อเรียกร้องที่ทำให้สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เป็นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของชาติไทยที่ยึดถือปฏิบัติกันตลอดมา
ทั้งพฤติการณ์และเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 แสดงให้เห็นมูลเหตุจูงใจว่าผู้ถูกร้องทั้ง 3 มีเจตนาซ่อนเร้นเพื่อล้มล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไม่ใช่เป็นการปฏิรูป การใช้สิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เป็น การแสดงความคิดเห็นที่ไม่สุจริต เป็นการละเมิดกฎหมายมีมูลเหตุจูงใจเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 49 วรรคหนึ่ง แล้ว แม้เหตุการณ์ตามคำร้องผ่านพ้นไปแล้วแต่หากยังคงให้ผู้ถูกร้องทั้ง 3 รวมทั้งกลุ่มในลักษณะองค์กรเครือข่ายกระทำการดังกล่าวต่อไปย่อมไม่ไกลเกินเหตุที่จะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคสองให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตได้ด้วยเหตุดังกล่าวจึงวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 49 และสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้ง 3 รวมทั้งองค์กรเครือข่ายเลิกกระทำการดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วยตามมาตรา 49 วรรคสอง
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายว่า ศาลรัฐธรรมนูญมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 เสียง วินิจฉัยว่าการกระทำของ ผู้ถูกร้อง 1-3 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพล้มล้างการปกครองล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สำหรับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างน้อย 1 เสียง คือ นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม