คำผกาแจง อเมริกาปลดหนี้กยศ. สะท้อนวิสัยทัศน์นักการเมือง ถ้าไม่ทำอะไรเลย นอนอยู่บ้านเถอะ อย่ามาเป็น ชี้เรื่องนี้ถกเถียงกันได้ เห็นต่างได้ ปากกาอยู่ในมือเรา
วันที่ 26 ส.ค. 2565 ข่าวจบ คนไม่จบ! วิเคราะห์เจาะลึก ถึงพริกถึงขิง จากมุมมอง “อั๋น ภูวนาทและ แขก คำผกา” กับ 3 วิพากษ์เผ็ดร้อน 3 ประเด็นฮอต ‘ตู่’ ไปได้ ‘ป้อม’ จับตาเกมการเมืองพลิก! – มะกันยกหนี้กู้เรียน-ครูไทยไล่อย่าส่งลูกเรียนรัฐบาล -ดราม่ารถตกที่จอดอัตโนมัติ เจอเรียกค่ายก 1 ล้าน โดยพิธีกรคืออั๋น-ภูวนาท คุนผลิน และคำผกา ลักขณา ปันวิชัย สำหรับประเด็นมะกันยกหนี้กู้เรียนนั้น ซึ่งเรื่องนี้มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ถือเป็นประเด็นใหญ่มาก
คำผกาเผยว่า ขอย้อนประวัติศาสตร์ว่ารัฐบาลอเมริกามีสงครามกับความยากจน โดยอุดหนุนการศึกษาจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตได้ จึงเชื่อว่าเป็นเครื่องมือสร้างชนชั้นกลางขึ้นมา แต่แนวคิดนี้เปลี่ยนไป เมื่อชนชั้นกลางขยายตัวมากขึ้น แนวคิดมันเปลี่ยน เพราะความยากจนได้รับการแก้ไขแล้ว การศึกษาถูกมองว่าเป็นการลงทุน รัฐบาลไม่อยากให้การศึกษาเป็นของฟรี
“มันเป็นการลงทุน ที่คนลงเรียนที่ได้กำไร ไม่เรียนจบแล้วมันขาดทุน จึงมีทุนกู้ยืมการศึกษา วิธีนี้มันอยู่ในแนวคิดเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ และมีการดึงเอาเงินอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยออก ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นธุรกิจ”
สิ่งนี้ทำให้มหาวิทยาลัยบริหารหาเงินด้วยตัวเอง เหมือนธุรกิจการค้า คนมาเรียนต้องมากู้เงินรัฐไปเรียน มีอัตราดอกเบี้ยเกือบจะเป็นระบบสวัสดิการ ไทยเราก็ใช้แนวทางนี้ มีกองทุนกู้ยืม และมีการทำให้มหาวิทยาลัยเป็นอิสระ เป็นม.นอกระบบ ข้าราชการมหาวิทยาลัยก็เป็นพนักงาน มีการประเมิน ขอตำแหน่งทางวิชาการไม่ได้ ภายในกี่ปี ก็จะถูกยกเลิกสัญญา
อาจารย์จะเครียดมาก เพราะถ้าขอตำแหน่งวิชาการไม่ได้ ก็จะตกงานไปทันที ผลพวงนี้ ทำให้มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรแปลกๆ เช่นภาควิศวกรรมภาษาอังกฤษ สอบเข้าไม่ยาก แต่ค่าเทอมแพงกว่า มีหลักสูตรแบบจ่ายครบจบแน่ สิ่งเหล่านี้มาพร้อมการดิ้นรนของมหาวิทยาลัยในการหาเงิน จึงต้องมีหลักสูตรใหม่ๆ เก็บค่าเรียนแพงๆ ไปอุดหนุนภาควิชาที่ไม่ทำเงิน เช่นพวกมานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์
“ตนไม่ได้ตัดสินว่าอะไรดีหรือไม่ดี แต่อยากให้เห็นภาพรวมก่อน อเมริการับแนวทางนี้มาโดยตลอด”
ส่วนประเทศสังคมนิยมประชาธิปไตย อย่างเยอรมัน เรียนฟรีไปเลย ส่วนอังกฤษมีเงินกู้ จำกัดว่าเรียนจบ มีเงินเดือนขั้นไหน ถึงเริ่มใช้หนี้ และใช้หนี้แบบไม่ล้มละลายก่อนที่จะตั้งตัวได้ ประเทศสแกนดิเนเวียก็จะเอาเงินคืนมาให้คนกู้ รัฐก็ยังอุดหนุนดีกว่าอเมริกา
ระบบนี้ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีคนอเมริกัน 44 ล้านคนติดหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 3 ใน 4 ของคนอเมริกันมีหนี้แบบนี้เฉลี่ย 6 แสนกว่าบาท มีแค่ 17% เท่านั้นที่ติดหนี้ 3 แสนกว่าบาท มีคน 7% ติดหนี้ 3 ล้านกว่าบาท เป็นหนี้อันดับ 2 รองจากหนี้ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 10 ของหนี้ครัวเรือน ทำให้อเมริกาเจอความเหลื่อมล้ำสูงมาก
แนวทางนี้เป็นของพรรรีพับลิกัน ซึ่งอนุรักษนิยม ส่วนพรรคเดโมแครต ของปธน.โจ ไบเดนที่ต้องการให้มีรัฐสวัสดิการ ซึ่ออีกฝ่ายบอกอยากเรียนก็กู้ แต่พรรคเดโมแครตบอกการศึกษาระดับปริญญาตรีนั้น รัฐต้องให้บริการประชาชน และการที่คนติดกับดักหนี้สิน มันเป็นอุปสรรคของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ คนไม่มีเงินซื้อบ้าน ไม่สามารถบริโภคอะไรดีๆ ได้
อาจารย์ก็เป็นลูกจ้างมหาวิทยาลัย เงินเดือน 70% เป็นค่าเช่าบ้าน ที่เหลือจ่ายหนี้ ไม่มีเงินกิน บางคนจบปริญญาเอก ต้องนอนในรถบ้าน ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน ไปอยู่เมืองที่ค่าครองชีพถูก ก็ไม่มีงานให้สอนหนังสือ นี่คือนโยบายที่เดโมแครต ที่ปลดภาระให้กับคนที่มีเพดานหนี้ลักษณะนี้ แค่ 7% จะปลดหนี้ก่อน ให้เติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวได้
“มีคนด่าไหม ก็ต้องตอบว่ามี เหมือนบ้านเรา คนไปมองว่าเงินจะเฟ้อไหม มีการถกเถียงกันในอเมริกาด้วย”
อั๋นเผยว่า มีคนเห็นแย้งว่ามันไม่คุ้มค่าหรือไม่ แต่มุมของไบเดน เป็นสิ่งที่ช่วยลดช่องว่าง ให้คนได้หายใจหายคอ คำผกาเผยว่า เวลารัฐยกหนี้นั้น เงินมันไม่ได้เข้ากระเป๋าลูกหนี้นั้น เงินก้อนนี้มันคือเงินไหลเวียนในตลาด มันถ่ายจากกระเป๋ารัฐบาลไปอยู่ในมือพ่อค้าแม่ค้า คนตัวเล็กตัวน้อยที่ไปกระตุ้นเศรษฐกิจแบบภาพรวม
ทั้งนี้ต้องอย่าลืมว่าบางคนกู้เรียนแต่ไม่จบ ก็ยกหนี้ให้เขาไป เพราะเขาไม่ได้เอาเงินจากหนี้นี้ไปไหน เขาก็เอาไปใช้ในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน มันคือการคืนกำลังซื้อให้กับคน เพื่อเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ เรื่องนี้เคาะแล้ว
“ฟังดูแล้วยิ่งใหญ่ดี เวลามองอเมริกา แต่ก็ต้องรอดูต่อไป”
สิ่งนี้จะทำให้พรรคเดโมแครตได้คะแนนเสียงไปอีกยาว เพราะฐานเสียงจะใหญ่มาก เพราะคนอายุต่ำกว่า 35 ปี จะได้ประโยชน์ตรงนี้ สิ่งที่คิดไม่ซับซ้อน นักการเมืองออกนโยบายเพื่อประชาชน จะเห็นด้วยหรือไม่ ปากกาอยู่ในมือเรา
“มันเป็นสิ่งที่นักการเมืองทำ ถ้ามีอำนาจรัฐแล้วไม่ทำอะไรเลย ก็เอามือซุกทวารหนักที่บ้าน ตายไปเสีย”