คำผกาเผย เหตุลอบสังหารอาเบะ สุดช็อก ในสังคมที่ระบอบประชาธิปไตยมั่นคง ถือเป็นผู้นำที่มีด้านควรชม และด้านที่ถูกวิจารณ์ ชี้อาชญากรรมญี่ปุ่นสุดน่ากลัว
วันที่ 8 ก.ค. 2565 ข่าวจบ คนไม่จบ! วิเคราะห์เจาะลึก ถึงพริกถึงขิง จากมุมมอง “อั๋น ภูวนาทและ แขก คำผกา” กับ 3 วิพากษ์เผ็ดร้อน 3 ประเด็นฮอตช็อกโลก! สิ้น ‘ชินโซ อาเบะ’ ถูกลอบยิง ตอนหาเสียง -สูตรหาร 500 แก้เกมแลนด์สไลด์? เพื่อไทย สวนกลับแน่ -กลางแปลงค่ายทหาร คู่ขนาน กรุงเทพกลางแปลง สำหรับประเด็นการเสียชีวิตของนายชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นว่า ประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น การฆ่าสังหารนักการเมืองไม่ใช่เรื่องปกติเลย มันไม่มีบรรยากาศแบบนั้นเลย เหมือนในหลายประเทศ
ยกตัวอย่างในไทย ความขัดแย้งทางการเมือง มีการพกอาวุธสงครามยิงกัน เจ้าพ่อ กำนันมีความขัดแย้งทางการเมืองในบริบทประเทศโลกที่ 3 ซึ่งเป็นการเมืองแบบเจ้าพ่อ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีการยิงกัน แต่ญี่ปุ่นนั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะแก้ไขปัญหาด้วยการยิงปืน
อย่างไรก็ดีตนเคยคุยกับนักรัฐศาสตร์ท่านหนึ่งให้ทัศนะว่า การยิงกันในยุคเจ้าพ่อของไทยนั้น ประชาชนไม่ใช่เป้าหมาย แต่การเมืองยุคหลังเจ้าพ่อ เป็นการเมืองที่รัฐเอาปืนไปยิงประชาชน การเมืองหลังรัฐประหาร เจ้าพ่อกับเจ้าพ่อก็เลิกยิงกัน แต่เป็นการหันปากกระบอกปืนหันไปสู่ประชาชน
แต่ญี่ปุ่นระบอบการเมืองประชาธิปไตยที่มั่นคง การลอบสังหารครั้งนี้ เป็นสิ่งที่เกินคาดมากๆ ก่อนเกิดเหตุทางอาเบะ ก็ยืนหาเสียงปกติ ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดเรื่องนี้ขึ้น
ประเด็นต่อมาอาวุธปืนเป็นสิ่งที่หายากมากในญี่ปุ่น อาชญากรรมการฆ่ากันในประเทศ ใช้มีด ตำรวจญี่ปุ่นไม่ถือปืนเดินไปเดินมา หรือเหน็บเอว คนญี่ปุ่นจินตนาการไม่ออกว่า จะมีคนถือปืนไปมา ไม่เหมือนสังคมไทย ที่ขับรถปาดหน้า ก็เอาปืนมายิงกันเลย
อั๋นเผยว่า อาเบะเป็นอดีตนายกรัฐมนตรี จึงไม่น่าเป็นคนที่จะถูกสังหารเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเมือง มันมีความไม่ปกติของผู้ลอบสังหาร มีความเกลียดเกินวิญญูชนหรือไม่ อาจมีความผิดปกติทางสมอง
คำผกาเผยว่า คดีฆาตกรรมในญี่ปุ่นหลายครั้ง มักเกิดจากแรงจูงใจที่ไม่มีความขัดแย้ง หลายคดีผู้ก่อเหตุแค่รู้สึกอยากจะทำ โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักกัน มีคดีที่คนอยากฆ่าเพื่ออยากได้ประสบการณ์นี้ ดังนั้นคดีฆาตกรรมญี่ปุ่น จึงเป็นสิ่งที่เราไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้น
“เหมือนคดีฆาตกรรมจอห์น เลนน่อน”
ตนขอย้ำว่านี่เป็นเพียงการพูดคุยกันระหว่างเราสองคน แต่ยังไม่มีหลักฐานอะไรออกมา แค่ดูว่าข่าวมาแบบนี้ มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง ขอย้ำว่าอาเบะนั้น เป็นนักการเมืองที่ประสบความสำเร็จในฐานะนายกรัฐมนตรีการที่พลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศ
แต่เขาก็มีแนวคิดขวาจัด ที่อยากจะพาญี่ปุ่นไปยิ่งใหญ่ คล้ายๆ ยุคก่อนเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับภรรยาเรื่องที่ดินสร้างโรงเรียนในเมืองโอซากา ที่ภรรยาบริหารมูลนิธิซึ่งฝักใฝ่อุดมการณ์ที่ค่อนข้าง ทำให้คนญี่ปุ่นที่ผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 มานั้นกลัว เช่นให้เด็กร้องเพลงชาติ ซึ่งคนญี่ปุ่นกลัว
สิ่งนี้มันหลอนว่า ฉันรักชาติมากเกินไป และพาประเทศชาติเข้าสู่สงคราม มันมีผลตามมาอย่างไร สิ่งนี้อาเบะถูกวิจารณ์มาก ว่าจะกลับไปขวาแบบนั้นมากไม่ได้
“ตนอยากเล่าให้ฟังว่า เขามีด้านที่ถูกยกย่อง ถูกวิจารณ์จากฝ่ายซ้ายในญี่ปุ่นอย่างไรบ้าง”
อย่างไรก็ดีพวกเราก็แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์นี้ เราก็ต้องติดตามกันต่อ เพราะภาพข่าวนั้นอุกอาจพอสมควร ตัวเขายังมีอิทธิพลในกาเรมือง และก่อนถูกสังหาร ก็ไปหาเสียงเลือกตั้งวุฒิสภา
“ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นในประเทศไทย”