Whoscall แอปส์ระบุตัวตนสายเรียกเข้า และ ป้องกันสแปมดัง ได้เผยสถิติที่น่ากลัวในปี 2566 ว่า มิจฉาชีพทำงานหนักก่อกวนคนไทยเพิ่มขึ้น 12.2 ล้านครั้ง คนไทยรับ ข้อความ หลอกลวงมากที่สุดในเอเชียถึง 58 ล้านข้อความ ซึ่งแนบลิงก์ปลอม ลิงก์ขอล็อกอินปลอม การดาวน์โหลดมัลแวร์ อันตราย และเพจปลอมหลอกขายของหลอกลวง
ในรายงานระบุว่า จากการ ศึกษาพฤติการณ์มิจฉาชีพหลอกลวงผ่านสายโทรเข้า ข้อความ และ ลิงก์จากข้อความ พบว่าคนไทยยังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะได้รับข้อความหลอกลวงมากถึง 58.3 ล้านข้อความ ด้วยกลโกงต่างๆ เกี่ยวกับเงินกู้และเว็บพนันมากที่สุด เตือนระวังมุขใหม่ แอบอ้างผู้ให้บริการส่งสินค้า หน่วยงานรัฐ เช่น การไฟฟ้า เพื่อหลอกเหยื่อ
ถึงแม้ว่าจะมีข้อมูลรายงานออกมาว่าทวีปเอเชียจะมีความเสี่ยงลดลงเหลือจากเดิม 405.3 ล้านครั้ง เหลือในปี 2566 ที่ 347.3 ล้านครั้ง
แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วพบว่าในปี 2566 ที่ผ่านมา คนไทยกลับเสี่ยงกับภัยมิจฉาชีพมากขึ้นเช่น
- การโดนหลอกจากสายโทรเข้าและข้อความ รวม 79 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 18% จากยอดรวม 66.7 ล้านครั้ง ในปี 2565
- จำนวนสายโทรเข้า 20.8 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 22% จาก 17 ล้านครั้ง ในปี 2565
- ข้อความหลอกลวงเพิ่มขึ้น 17% สูงถึง 58.3 ล้านข้อความ จาก 49.7 ล้านข้อความ
นอกจากนี้ Whoscall เผยจำนวนข้อความหลอกลวง เฉลี่ยคนไทย 1 คน ต้องรับ SMS ที่น่าสงสัย 20.3 ข้อความ ซึ่งมากที่สุด ในเอเชีย โดยอันดับ 2 คือ ฟิลิปปินส์ จำนวน 19.3 ข้อความ และฮ่องกง จำนวน 16.2 ข้อความ แนวโน้มดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหานี้กำลังเพิ่มขึ้นในภูมิภาค
ซึ่งมิจฉาชีพมุ่งเป้าไปยังเรื่องการหลอกพนันออนไลน์ และการปล่อยกู้เงิน รวมถึงการหลอกถึงบริษัทขนส่ง และหน่วยงานรัฐต่างๆ เช่น
- การหลอกว่า ยูสใหม่ แจกฟรี 500 ครั้งแรก
- การแจ้งวัสดุตกค้าง
- การแจ้งลดค่ามิเตอร์ค่าน้ำ / ไฟผิด
- แจ้งคืนเงินค่าประกันมิตเตอร์
- หลอกคะแนนสะสมจะหมดอายุ
- หรือหลอกด้วยการโทรคือ มาจาก Apps ดังอย่าง TikTok
โดยทั้งหมดจะเป็นการหลอกโดยการแนบลิงก์ให้กดเข้าไป บ้างก็หลอกให้ติด Application, บ้างก็หลอกให้ Add LINE เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ดีเมื่อไม่นานมานี้ Whoscall เปิดให้ใช้ฟีเจอร์ใหม่ฟรี เพื่อสแกนลิงก์ URLs ที่น่าสงสัย โดยผู้ใช้สามารถนำลิงก์ที่สงสัย มาวางในแอปพลิเคชั่นเพื่อตรวจสอบความเสี่ยง หรือเปิดการตั้งค่าให้ตรวจสอบจาก SMS ที่มีลิงก์แนบมาด้วย พบว่า 4.5% ของข้อความที่ได้รับ มีลิงก์ที่น่าสงสัย ซึ่งแนบลิงก์หลอกให้ล็อกอินเข้าเว็บไซด์ปลอม (27%), หลอกให้ดาวน์โหลดแอปอันตราย (20%) และเข้าหน้าช๊อปปิ้งออนไลน์ปลอม (8%)
แม้จะมีการให้ความรู้ถึงภัยมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการหลอกลวงพัฒนารวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เนื่องจาก มิจฉาชีพใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่หลุดรั่วร่วมกับปรับรูปแบบให้แนบเนียนยิ่งขึ้น ยากที่เหยื่อจะแยกแยะและเพิ่มโอกาสที่จะหลอกลวงสำเร็จ
วิธีปฏิบัติในการรับมือกับมิจฉาชีพ
นอกจากการติดตั้ง Apps ในการแจ้งเตือนแล้ว เราควรจะมีสติในการรับข้อความ หรือ ตรวจสอบเบอร์โทรว่าเป็นเบอร์แปลกๆ หรือไม่ โดยทีม Sanook Hitech มีทริปง่ายๆ ในการสังเกตดังนี้
- อย่ารับสายกับเบอร์แปลก (ถ้าไม่จำเป็น) โดยมากในเวลานี้จะมาในรูปแบบของเบอร์ 02
- หากมีการถามอะไร ห้ามตอบคำว่า “ใช่” เพราะอาจจะทำให้เกิดนำเสียงไปใช้ทำธุรกรรมได้
- หากได้ SMS แนบลิงก์ต่างๆ อย่ากด หากเป็นไปได้ลบไปเลยก็ดี
- และถ้ายังมีข้อความแปลกๆ มา มือถือบางรุ่นสามารถกดเป็นข้อความ สแปม เพื่อจะทำให้เวลาข้อความมาจะมีการถูกรีพอร์ต
- แจ้งไปยังผู้ให้บริการของมือถือเพื่อจัดการกับ SMS เป็นอีกวิธีการหนึ่ง
- อย่าไว้ใจอะไรง่ายๆ ว่ามันจะปลอดภัย
แค่นี้ครับก็จะทำให้คุณปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ไม่มากก็น้อยครับ และการตระหนักรู้ครั้งนี้หวังว่ารายงานของปี 2024 จะมีสถิติของคนไทยที่ลดลงนะ