โควิดวันนี้ – รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 โดยข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 และเว็บไซต์ www.ddc.moph.go.th วันนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ ระหว่างวันที่ 23 – 29 ตุลาคม 2565 รอบสัปดาห์ที่ 43 ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2551 เฉลี่ยวันละ 364 หากนับรวมยอดผู้ติดเชื้อตั้งแต่ช่วงวันที่ 1 มกราคม 2565 จำนวนผู้ป่วยสะสม 2,469,013 ราย ในส่วนของผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์) จำนวน 33 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 4 ราย/วัน ถ้านับรวมจำนวนผู้เสียชีวิตสะสม ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 11,257 ราย
- เดือดทั้งคู่! เข้าหมู่บ้านแต่ลืมแลกบัตร รปภ. ก็แจ้งไม่ดี คนขับก็หัวร้อน
- ทำเป็นเนียน คู่รักหื่นมีเซ็กซ์กลางลานเบียร์ ตอนแรกคิดว่าเต้นท่าพิศดาร โยกกันจังหวะแปลกๆ
- รางวัลที่ 1 อยู่ที่ กองสลากพลัส อีกแล้ว 10 ใบ 60 ล้านบาท เฮสนั่นกรี๊ดลั่นสุดๆไปเลย
ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ทางด้าน รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อมูลอัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับอาการลองโควิด Long COVID ระบุว่า การติดเชื้อโควิดกระตุ้นการอักเสบของเซลล์ในสมองคล้ายโรคสมองเสื่อม
Albornoz EA และทีมงานจากมหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย เผยผลการวิจัยในห้องทดลองพบว่า ไวรัสโควิด-19 นั้นหากมีการติดเชื้อในเซลล์สมอง (microglia) ของมนุษย์ จะกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบคล้ายกับที่พบในโรคอัลไซเมอร์ และพาร์คินสัน
ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่คนที่ติดเชื้อและประสบปัญหา Long COVID โดยมีอาการผิดปกติทางสมองหรือระบบประสาท ก็อาจเกิดจากกระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้น และอาจส่งผลระยะยาวทำให้เสี่ยงต่อปัญหาสมองเสื่อมได้ อย่างไรก็ตามการทำความเข้าใจกลไกข้างต้น ก็จะนำไปสู่การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยาที่จะใช้รักษาภาวะดังกล่าวต่อไปในอนาคต
“ปัญหา Long COVID จะส่งผลกระทบระยะยาวต่อระบบสุขภาพของแต่ละประเทศ”
Al-Aly E และคณะ จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่บทความวิชาการย้ำให้เห็นผลกระทบของการระบาดของไวรัสโรคโควิด-19 ในแต่ละประเทศว่าจะส่งผลให้เกิดปัญหาโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา อาทิ ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางสมองและระบบประสาท โรคเบาหวาน รวมถึงโรคไต โดยมีการยกตัวอย่างผลการวิจัยที่เคยประเมินอัตราการกรองของไตในผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 โดยมีอาการเล็กน้อยนั้นพบว่า หลังจากติดเชื้อ 1 ปี พบว่ามีอัตราการกรองของไตลดลงมากกว่าคนที่ไม่เคยติดเชื้อ โดยเทียบเท่ากับการเสื่อมลงตามอายุปกติราว 4 ปี
ด้วยข้อมูลจากการวิจัยทางการแพทย์ต่างๆ ชี้ให้เห็นว่าต้องตระหนักถึงปัญหา Long COVID โดยคนที่ติดเชื้อมาก่อน ก็ควรระมัดระวังตัวไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ และหมั่นดูแลตรวจตราสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วยการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นเรื่องจำเป็น ช่วยลดความเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรง เสียชีวิต และลดความเสี่ยงของ Long COVID ด้วย
เหนืออื่นใดคือ ประชาชนควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุดการใส่หน้ากากอย่างถูกต้องระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY