ขอพื้นที่ปลอดภัยในที่ทำงาน! ผลสำรวจ 50% ถูกวิจารณ์สัดส่วนร่างกาย

Home » ขอพื้นที่ปลอดภัยในที่ทำงาน! ผลสำรวจ 50% ถูกวิจารณ์สัดส่วนร่างกาย
ขอพื้นที่ปลอดภัยในที่ทำงาน! ผลสำรวจ 50% ถูกวิจารณ์สัดส่วนร่างกาย
คุกคามทางเพศในที่ทำงาน-min

จะทำอย่างไร เมื่อที่ทำงานไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย? ผลสำรวจนิด้าโพลเผย 50 % มักถูกวิจารณ์สัดส่วนร่างกาย และถึงขั้นขอหรือชักชวนให้มีเพศสัมพันธ์

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย ได้ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ดำเนินการสร้างสังคมที่ปลอดจากการค้าทางเพศและโรคส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างบุคคลปฏิบัติต่อกันอย่างให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกันในระดับองค์กร

จากผลสำรวจสถานการณ์การคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ของนิด้าโพล วันที่ 9-16 พฤษภาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างอายุ 20 ปีขึ้นไป 2,000 คน ทั้งข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐ พนักงาน รัฐวิสาหกิจ เอกชน ซึ่งเกือบ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 23.5 เคยเห็นการคุกคามทางเพศในสถานที่ทำงาน ขณะที่ร้อยละ 6.3 หรือ 126 คน เคยถูกคุกคามทางเพศ 

โดยสิ่งที่ถูกกระทำมากที่สุดคือด้วยวาจา ร้อยละ 50 ถูกวิจารณ์สัดส่วนร่างกาย และถึงขั้นขอหรือชักชวนให้มีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 2.88 ด้านกิริยาจ้องมองแทะโลมด้วยสายตามากที่สุด ร้อยละ 86.21
โดยบุคคลที่เป็นผู้ถูกคุกคามอันดับ 1 คือ  เพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 81.75 รองลงมา คือ  หัวหน้า/ผู้บังคับบัญชา ร้อยละ 16.67

ส่วนมาตรการที่อยากให้หน่วยงานเข้ามาจัดการการคุกคามทางเพศกลุ่มตัวอย่างทั้งที่ถูกคุกคามและพบเห็นการคุกคาม 

  • ร้อยละ 33.5 ระบุว่าอยากให้มีบทลงโทษที่ชัดเจนกับผู้กระทำผิดในลักษณะต่างๆ 
  • ร้อยละ 30.4 ขอให้มีนโยบายป้องกันที่ชัดเจน 
  • ร้อยละ 25.8 มีช่องทางการร้องเรียนสายตรงผู้บริหาร 
  • ร้อยละ 25.5 ให้มีการฝึกอบรมพนักงาน

นายแพทย์พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวอีกว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ถูกคุกคามทางเพศ 

  • ร้อยละ 38.10 นิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลย 
  • ร้อยละ 33.33 ใช้วิธีการต่อว่า 
  • ร้อยละ 3.17 ขอความช่วยเหลือจากบุคคล 
Screenshot-2024-06-04-170004-min

จากผลสำรวจดังกล่าวรวมถึงความต้องการให้มีมาตรการการป้องกันการคุกคามทางเพศที่ชัดเจนรวมไปถึงการที่ผู้ถูกคุกคามและผู้พบเห็นการคุกคามทางเพศ ส่วนใหญ่เลือกจะนิ่งเฉย อาจเกิดจากหลายเหตุผล ทั้งกลัวทั้งไม่แน่ใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หรือไม่มั่นใจว่า ถ้าร้องเรียนหรือแจ้งความจะได้รับผลกระทบอย่างไร แสดงให้เห็นว่าการคุกคามทางเพศในสถานที่ทำงานเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง

การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้เสียหายยังเป็นปัญหาใหญ่

  • ระบบร้องทุกข์และการสนับสนุนการร้องทุกข์ในองค์กรไม่เข้มแข็งไม่มีความชัดเจน ไม่เป็นมิตรกับผู้เสียหาย
  • ผู้เสียหายส่วนใหญ่ไม่กล้าร้องเรียนเพราะอับอาย กลัวเสียชื่อเสียง เกรงว่าจะถูกสังคมประณาม หรือถูกตำหนิว่าเป็นฝ่ายเชื้อเชิญให้เกิดขึ้น ผู้เสียหายกังวลว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม
  • องค์กรจำนวนมากยังไม่มีนโยบาย รวมทั้งแนวปฏิบัติในเรื่องนี้
  • ผู้บริหารองค์กรกังวลเรื่องชื่อเสียงองค์กร จึงไม่กล้าทำงานเรื่องนี้อย่างจริงจังและไม่เข้มแข็ง
  • เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นในองค์กร ผู้บริหารนิ่งเฉย หรือพยายามที่จะช่วยเจรจาให้ผู้เสียหายไม่เอาเรื่องราวกับผู้กระทำ
  • ผู้กระทำที่เป็นผู้มีอำนาจในองค์กร มักใช้อำนาจที่เหนือกว่า ปิดปาก ผู้เสียหายด้วยการฟ้องกลับ ข่มขู่ ปิดบังเรื่องราว หรือพาตัวเองให้พ้นผิด โดยมักอ้างว่า “ไม่ได้เจตนา” “แค่ล้อเล่น” หรือ”ผู้เสียหายเชื้อเชิญ/ยินยอม”

กฎหมายในปัจจุบันของประเทศไทย

  • ภาคเอกชน: พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 16 “ห้ามมิให้นายจ้างหรือผู้ซึ่งเป็นหัวหน้างาน ผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน กระทำการล่วงเกินทางเพศต่อลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงหรือเด็ก” และ มาตรา 147ระบุโทษว่า “ผู้ใดผ่าฝืนมาตรา 16 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท”
  • ข้าราชการพลเรือน: “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551” มาตรา 83 “ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้ามตามกฏ ก.พ. ว่าด้วยการกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ พ.ศ.2553” *มติ ครม. 15 กุมภาพันธ์ 2564 เรื่อง “แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเรา และการละเมิดทางเพศ”
  • ผู้กระทำอาจมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 9 “ความผิดเกี่ยวกับเพศ” (มาตรา 276-287) และเสี่ยงถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศอีกด้วย

ที่มา สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ