แพทย์แนะ ก่อนฉีดวัคซีนทุกตัว รวมถึงวัคซีนโควิด-19 ทุกชนิด ควรงดกินยาอะไรก่อนบ้าง เพื่อเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
- สาวโพสต์เล่า เพื่อนกิน “ยาคุม” ก่อนฉีด “ซิโนแวค” สุดท้ายเสียชีวิตจากลิ่มเลือดในปอด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับวัคซีน นอกจากต้องงดออกกำลังกายและยกของหนัก รวมถึงพักผ่อนให้เพียงพอแล้ว ยังมียาที่กินอยู่ประจำบางตัวที่ควรงดก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนทั่วไป รวมถึงวัคซีนโควิด-19 ด้วย
ก่อนฉีด “วัคซีนโควิด-19” ควรงดยาอะไรบ้าง?
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า ผลข้างเคียงของวัคซีนแม้จะเกิดได้น้อยมากๆ ก็ตาม แต่ถ้าสามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด กลไกของผลข้างเคียงจากวัคซีนโควิด ที่สำคัญประการหนึ่ง (นอกจากการแพ้เฉียบพลัน) คือการจุดให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง และมีผลต่อเนื่อง ทำให้เส้นเลือดหดตัว และลิ่มเลือด และเป็นเหตุผลที่ต้องละเว้นยาที่มีผลทำให้เส้นเลือดหดตัวอยู่แล้ว
สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค แนะนำยาที่ควรงดก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน ดังนี้
- ยาแก้ปวดไมเกรน เช่น
– Cafergot, Avamigran, Tofago ควรงดยา 5 วัน ก่อนฉีดวัคซีน
– Triptan เช่น Relpax ควรงดยา 24 ชั่วโมง ก่อนฉีดวัคซีน - ยาต้านอาการซึมเศร้า เช่น
– SSRI, SNRI, Tricyclic Antidepressants เช่น fluoxetine, sertraline, escitalopram, venlafaxine, duloxetine, amitriptyline, nortriptyline, imipramine ควรงดยา 24 ชั่วโมง ก่อนฉีดวัคซีน
- ยาแก้หวัด คัดจมูก กลุ่มที่มีฤทธิ์ทำให้กระทบต่อเส้นเลือดและหัวใจ เช่น Pseudoephedrine ควรงดยา 24 ชั่วโมง ก่อนฉีดวัคซีน
- ยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนเพศหญิง ควรงดยา 14 วัน ก่อนฉีดวัคซีน
คำแนะนำเพิ่มเติม
- เฟซบุ๊กเพจ Drama-Addict นำข้อมูลจาก อ.อรวิน วัลลิภาก อาจารย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา จากโรงพยาบาลรามาธิบดี และ อ.โอฬาริก มุสิกวงศ์ สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ระบุว่า ยาคุมกำเนิดชนิดรวมแบบมีเอสโตรเจน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน 6-15 ราย ต่อหมื่นราย (สถิติจากอังกฤษ) ส่วนของไทย ความเสี่ยงน้อยกว่าของอังกฤษประมาณห้าเท่า (ก็ประมาณ หนึ่งรายต่อหมื่นราย) ส่วนยาฉีดคุมกำเนิด (DMPA) ยาฝังคุมกำเนิด พวกนี้เป็นยาคุมแบบไม่มีเอสโตรเจน ความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจะน้อยกว่าแบบมีเอสโตรเจน ดังนั้นถ้าใช้ยาคุมกลุ่มที่ไม่มีเอสโตรเจน ความเสี่ยงจะน้อยกว่า
- กลุ่มที่ใช้ยาคุมกลุ่มที่ความเสี่ยงน้อยอยู่แล้ว เพราะไม่มีเอสโตรเจน เช่น ยาคุมแบบฝัง ยาคุมแบบฉีด ห่วงคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน พวกนี้ไม่ต้องหยุด ใช้ต่อไปได้เลย เพราะความเสี่ยงลิ่มเลือดต่ำอยู่แล้ว ยาคุมกลุ่มนี้ไม่เพิ่มความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน
- เฟซบุ๊กเพจ Drama-Addict แนะนำว่า ใครที่ถึงกำหนดฉีดวัคซีนแล้ว แต่หยุดยาคุมไม่ทัน ก่อนไปฉีด และหลังฉีดวัคซีน ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ ประมาณวันละ 13 แก้ว (หรือราวๆ 3 ลิตร) และพยายามขยับตัวบ่อยๆ อย่านั่งนิ่งๆ นอนนิ่งๆ ทั้งวัน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงลิ่มเลือดได้
- ผู้ที่ใช้น้ำมันกัญชาอยู่แล้ว สามารถใช้ต่อได้ โดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณ
- ผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือดอยู่ สามารถทานยาได้ตามปกติ แต่เมื่อฉีดยาแล้วให้กดนิ่งตรงตำแหน่งที่ฉีดต่ออีก 1 นาที หลังฉีดแล้วเจ้าหน้าที่จะให้รอสังเกตอาการในบริเวณสถานที่ฉีดอีก 30 นาที
- ผู้ที่มีประวัติบาดเจ็บศีรษะ หรือเพิ่งเกิดอุบัติเหตุที่เกิดกับศีรษะ มาไม่ถึง 3 เดือน หรือมีโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ต้องให้แพทย์วินิจฉัยอาการก่อนฉีด ถ้าอาการยังอยู่ในภาวะที่ควบคุมไม่ได้ ต้องเลื่อนออกไปก่อน
- คนที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง ที่อาการไม่คงที่ หรือควบคุมอาการของโรคได้ไม่ดี ก็ให้พิจารณาเลื่อนฉีดวัคซีนออกไปก่อนด้วย
- ก่อน-หลังฉีด “วัคซีน-19” ควร-ไม่ควรทำอะไรบ้าง?