กินอาหารปนเปื้อน ฟอร์มาลีน อันตรายแค่ไหน เปิดวิธีสังเกต

Home » กินอาหารปนเปื้อน ฟอร์มาลีน อันตรายแค่ไหน เปิดวิธีสังเกต


กินอาหารปนเปื้อน ฟอร์มาลีน อันตรายแค่ไหน เปิดวิธีสังเกต

เป็นข่าวสะเทือนวงการ หมูกระทะ เมื่อกรมปศุสัตว์ตรวจพบและทลายโรงงานผลิตวัตถุดิบเครื่องในหมู เนื้อ ซึ่ง แช่สารฟอร์มาลีน ที่ จ.ชลบุรีซึ่งพบออเดอร์ส่งออกร้านอาหารถึง 66 ร้าน โดยของกลางที่ถูกตรวจพบมีปริมาณถึง 25,000 กิโลกรัม​

ฟอร์มาลีน คืออะไร อันตรายอย่างไร มาลองอ่านดู

ฟอร์มาลีน นั้นเป็นสารเคมีมีไว้เพื่อการฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ทำให้สิ่งของบางอย่างขึ้นรูปและคงรูปอยู่ ใช้ในอุตสาหกรรม ใช้ในการเกษตร ใช้ในทางการแพทย์ ใช้ในเครื่องสำอางค์ การนำฟอร์มาลีน มาแช่อาหารนั้น ถือเป็นการใช้งานผิดประเภท ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในอาหารทะเล แช่เพื่อไม่ให้เน่าเสียไวแต่สารนี้ถือว่า มีฤทธิ์อันตราย หากเข้าสู่ร่างกาย

จึงจัดเป็นสารเคมีที่ห้ามใช้ในอาหาร ซึ่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (..2536) แห่ง พ...อาหาร พ..2522 หากตรวจพบจะเข้าข่ายอาหารไม่บริสุทธิ์มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถังใส่สาร ฟอร์มาลีน ที่ตรวจพบจากร้านที่เป็นข่าว

ถังใส่สาร ฟอร์มาลีน ที่ตรวจพบจากร้านที่เป็นข่าว

อันตรายหากได้รับ สารฟอร์มาลีน

ระยะเฉียบพลัน อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ ซึ่งส่วนนี้อาจเป็นด้วยปัจจัยส่วนบุคคล รวมถึงสารเคมีที่ได้รับด้วย

อาการระยะสั้น หากสูดเข้าไปจะมีผลต่อระบบหายใจ คือ แสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก หากสูดดมในปริมาณมากอาจทำให้ปอดอักแสบ น้ำท่วมปอด และอาจเสียชีวิตได้

ผลต่อระบบผิวหนังคือ ทำให้เกิดผื่นคัน จนถึงผิวหนังอาจไหม้ หรือเปลี่ยนเป็นสีขาวได้หากสัมผัสกับฟอร์มาลินโดยตรง

หากกินอาหารที่ปนเปื้อนฟอร์มาลินเข้าไปในปริมาณมาก อาจมีอาการปวดศีรษะรุนแรง หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก ปากและคอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องอย่างรุนแรง ปัสสาวะไม่ออก หมดสติ ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจเสียชีวิตเพราะระบบหมุนเวียนเลือดล้มเหลว

ส่วนผลระยะยาวสารฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งเป็นสารประกอบของฟอร์มาลีน เป็นสารกระตุ้นที่ทำให้เกิดมะเร็งได้อีกด้วย

วิธีเลือกซื้อรับประทานอาหารทะเลให้ปลอดภัยจากฟอร์มาลีน

สำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้ออาหารทะเลสามารถใช้วิธีการดมกลิ่น ถ้าอาหารนั้นมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ให้สงสัยว่ามีฟอร์มาลินอยู่ และก่อนการทำอาหารควรล้างให้สะอาด เพราะฟอร์มาลินส่วนมากจะถูกชะล้างออกไปหมดเนื่องจากมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี และควรปรุงอาหารให้สุกก่อนบริโภค

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ