การศึกษาเผย กินผัก เพียงอย่างเดียว อาจไม่ช่วยลดเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

Home » การศึกษาเผย กินผัก เพียงอย่างเดียว อาจไม่ช่วยลดเสี่ยงต่อโรคหัวใจ


การศึกษาเผย กินผัก เพียงอย่างเดียว อาจไม่ช่วยลดเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

วันที่ 21 ก.พ. บีบีซี รายงานว่า การศึกษาครั้งใหญ่โดย UK Biobank ของสหราชอาณาจักร จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและบริสตอลของอังกฤษ และมหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง ที่รวบรวมความคิดเห็นเกือบ 400,000 คน ที่ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับอาหารที่รับประทาน รวมถึงการ กินผัก ปรุงสุกและผักดิบที่กินแต่ละวัน

จากค่าเฉลี่ยแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า กินผักดิบ 2 ช้อนโต๊ะ กับผักปรุงสุกแล้ว 3 ช้อนโต๊ะ ทั้งหมดรวมเป็นวันละ 5 ช้อนโต๊ะ และต่อจากนี้ คณะนักวิจัยติดตามปัญหาสุขภาพและปัญหาหัวใจของผู้ตอบแบบสอบถามที่จะนำไปสู่การรักษาในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตในช่วง 12 ปีข้างหน้า

ผัดผัก กระทะ

การศึกษาชี้ว่า ผักอาจมีประโยชน์สำหรับบางคน แต่การรับประทานผักมาก ๆ ไม่น่าจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง

นักวิจัยระบุว่า อะไรที่เรากินเพิ่มเติม การออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหน ที่ไหน อย่างไร และรูปแบบการใช้ชีวิตอย่างไร อาจเห็นการเปลี่ยนแปลงมากกว่า แต่เน้นว่าการรับประทานอาหารที่สมดุลช่วยลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ รวมถึงมะเร็งบางชนิด

แม้ว่าความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจจะลดลงประมาณ 15% สำหรับผู้กินผักมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้กินผักสดมาก ๆ เมื่อเทียบกับผู้กินน้อยที่สุด

นักวิจัยกล่าวว่าทั้งหมดนี้สามารถอธิบายได้ด้วยปัจจัยอื่นๆ รวมถึงวิถีชีวิตของคน เช่น ไม่ว่าจะสูบบุหรี่หรือไม่และดื่มแอลกอฮอล์มากเพียงใด เช่นเดียวกับงาน รายได้ และอาหารโดยรวม เป็นผลให้นักวิจัยกล่าวว่า การศึกษาไม่พบหลักฐานของ “ผลการป้องกันของการบริโภคผัก” เกี่ยวกับความถี่ของปัญหาหัวใจและการไหลเวียนโลหิตที่เกิดขึ้น

ไม่กินผัก

ดร.เบน เลซีย์ จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด กล่าวว่า “นี่เป็นการศึกษาที่สำคัญที่มีนัยยะสำหรับการทำความเข้าใจสาเหตุอาหารของโรคหัวใจและหลอดเลือด (ซีวีดี)”

แต่ศ.นาวีด สัตตา ศาสตราจารย์เวชศาสตร์การเผาผลาญ ที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ กล่าวว่า มีหลักฐานการทดลองที่ดีว่า การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก สามารถช่วยลดน้ำหนักและเพิ่มระดับของปัจจัยเสี่ยงที่ทราบว่าเป็นสาเหตุของโรคหัวใจได้

ศ.สัตตากล่าวว่า ข้อสรุปของการศึกษานี้สามารถถกเถียงกันได้ และไม่ควรแก้ไขคำแนะนำเดิมในการ กินผัก และผลไม้อย่างน้อย 5 ส่วนต่อวัน

“หลายคนที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักรไม่สามารถทำได้ เป็นเรื่องน่าเศร้า และจำเป็นต้องทำอีกมากเพื่อส่งเสริมการบริโภคผักดีขึ้น อันที่จริง ผมสงสัยว่าเราอาจประเมินความสำคัญของอาหารเพื่อสุขภาพที่มีต่อสุขภาพและโรคโดยทั่วไปต่ำเกินไป” ศ.สัตตาเสริม


ทำไมต้องกิน 5 ส่วน

  • จากคำแนะนำของบริการสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร (เอ็นเอชเอส) ผลไม้และผักเป็นแหล่งวิตามินที่ดี เช่น โฟเลต และแร่ธาตุ เช่น โพแทสเซียม
  • ทั้งมีเส้นใยอาหารที่ช่วยให้ลำไส้แข็งแรง ป้องกันปัญหาการย่อยอาหาร และลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้
  • สามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็งบางชนิดได้
  • ผักและผลไม้มีส่วนช่วยในการรับประทานอาหารที่สมดุลและดีต่อสุขภาพ
  • และมักจะมีไขมันและแคลอรีต่ำ (หากไม่ทอดหรือย่างในน้ำมันมากๆ)

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ กล่าวว่า การวัดปริมาณและชนิดของอาหารที่คนกินตลอดหลายปีที่ผ่านมา เพื่อศึกษาผลกระทบต่อความเสี่ยงต่อโรค มักเกิดข้อผิดพลาด เช่น ศ.เจเน็ต เคด จากมหาวิทยาลัยลีดส์ กล่าวว่า ต้องตั้งข้อสงสัยในความน่าเชื่อถือของการค้นพบจากการใช้คำถามง่ายๆ ที่คาดหวังให้ผู้ตอบแสดงตัวเลขการบริโภคโดยเฉลี่ย

การศึกษาดังกล่าวที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Nutrition กล่าวว่า ผู้กินผักดิบจำนวนมากอาจมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจลดลง เนื่องจากการปรุงอาหารผักจะขจัดสารอาหารที่สำคัญ เช่น วิตามินซี

น้ำมันและไขมันที่ใช้ในการปรุงอาหารอาจเพิ่มการบริโภคโซเดียมและไขมัน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหาหัวใจที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ส่วนคนรับประทานอาหารที่มีผักสูงอาจกินแคลอรี่และไขมันน้อยลง ขณะบริโภควิตามินและสารต่อต้านอนุมูลอิสระมากขึ้น ซึ่งสามารถป้องกันความเสียหายต่อเซลล์ได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์ – บำบัดเด็กแพ้ถั่ว

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ