กสทช. สั่งให้ OPPO และ realme แอปสินเชื่อออก และ ห้ามจำหน่ายเครื่องที่มีแอปส์ดังกล่าว

Home » กสทช. สั่งให้ OPPO และ realme แอปสินเชื่อออก และ ห้ามจำหน่ายเครื่องที่มีแอปส์ดังกล่าว
กสทช. สั่งให้ OPPO และ realme แอปสินเชื่อออก และ ห้ามจำหน่ายเครื่องที่มีแอปส์ดังกล่าว

หลังจากที่มีกรณีอื้อฉาวเรื่องมือถือ OPPO และ realme มีการติดตั้งแอปส์เงินกู้ในตัวเครื่องและบไม่สามารถนำออกได้ ซึ่งล่าสุดนี้ทั้ง OPPO และ realme ได้เข้าให้ข้อมูลกับ กสทช. กรณีของแอปส์ดังกล่าวติดออกมา ซึ่งทั้ง 2 แบรนด์ยอมรับว่า แอปส์ฯ ดังกล่าวติดมาตั้งแต่ออกจาโรงงานและไม่ได้ขออนุญาตจาก ธปท. (ธนาคารแห่งประเทศไทย)

ทั้ง 2 แบรนด์พบกับ กสทช.

นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เชิญบริษัท โพสเซฟี่ กรุ๊ป จำกัด ตัวแทนจำหน่ายโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ OPPO และบริษัท โปรทา จำกัด ตัวแทนจำหน่ายโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ Realme มาสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการติดตั้งแอปพลิเคชันกู้เงิน ในเครื่องโทรศัพท์มือถือ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) และตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เข้าร่วมรับฟังด้วย

เบื้องต้น ทั้งสองแบรนด์ยอมรับว่า บริษัทได้ติดตั้งแอปฯ มากับตัวเครื่องตั้งแต่เครื่องออกจากโรงงาน โดยผู้บริหารของ OPPO อ้างว่าเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแอปฯ ต่างๆ ซึ่งใช้แนวคิดเดียวกันกับการติดตั้งแอปฯ ทรูวอลเลต และยอมรับว่าไม่ได้ขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำหรับการติดตั้งแอปฯ ดังกล่าว อย่างไรก็ตามบริษัทต้องการตรวจสอบเรื่องนี้อีกครั้ง

ทั้งนี้ต้องบอกก่อนว่าอำนาจในการตรวจสอบของ กสทช. ทำได้แค่ตรวจสอบเรื่องของคลื่นความถี่และการใช้งานกระแสไฟของตัวเครื่องว่ามีอันตรายกับประชาชนหรือไม่ และต้องเป็นไปตามกลไกที่กำหนด แต่เรื่องแอปส์ไม่ได้บังคับ ที่ได้เขิญทั้ง 2 แบรนด์มาพูดคุยพบว่า ตัวเครื่องมีการโหลด แอปส์ฯ ดังกล่าวก่อนที่ กสทช. จะตรวจสอบ หรือมีการนำเครื่องมาตรวจสอบเพื่อขายจึงโหมดแอปส์ก่อนที่จะขายกับประชาชน

ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการติดตั้งแอปส์ จะมีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล เพราะปกติ มือถือจะมีแอปส์พื้นฐานในเครื่อง แต่การติดตั้งแอปส์เงินกู้นั้น ไม่ได้แอปส์พื้นฐาน ที่ต้องตรวจสอบและขออนุญาตจาก ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยหรือไม่ ก่อนที่จะเกิดความเสียหายและการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

อย่างไรก็ตามก็มีการให้ทั้ง 2 ผู้ผลิตมือถือดังกล่าว นำแอปส์ ดังกล่าวออกจากอุปกรณ์ทั้งหมด แม้ว่าส่วนตัวจะเผย่าสามารถระงับและถอดแอปฯ ออกจากเครื่องได้โดยไม่ต้องเดินทางไปศูนย์บริการของทั้ง 2 แบรนด์

เท่ากับ กสทช. จะขอความร่วมมือกับ 2 ผู้ผลิตในการถอดแอปฯ หรือระงับการใช้แอปฯ จากประชาชนที่ซื้อมือถือของ 2 ค่ายน้ำ ให้เร็วที่สุด และต้องส่งผลการดำเนินงานมาให้ กสทช.

batch_img_20250112_092011

มาตรการจัดการในอนาคต

นายไตรรัตน์ กล่าวว่า แนวทางในอนาคต อยู่ระหว่างการหารือกันอยู๋ว่า หากมีแอปฯ ที่เกินมาตรฐานการให้บริการพื้นฐานจะต้องมีการชี้แจงว่า ติดตั้งเพื่ออะไร โดยคาดว่าอนาคตจะมีมาตรการรองรับ

อย่างไรก็ตามมีการเปิดเผยจาก สภาองค์กรของผู้บริโภคโดย นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา รองเลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ระบุว่า บริษัทขายมือถือหรือผู้ประกอบการอาจมีส่วนในการเสนอขายสินค้าหรือบริการให้แก่ประชาชน โดยประชาชนไม่ประสงค์จะรับบริการเหล่านั้น และอาจมีการเฝ้าติดตามพฤติกรรมของประชาชนผ่านทางระบบ

ซึ่งเรื่องนี้คาบเกี่ยวกับแอป หรือบริการที่มีความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องการปล่อยสินเชื่อเงินกู้ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้มีความสุ่มเสี่ยงที่ประชาชนจะสูญเสียทรัพย์สินได้ จากกลุ่มอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้อง 

gal-1607359-20241212115604-1c

แม้ขณะนี้ทั้ง 2 ค่ายมือถือจะออกมาระบุว่าจะเร่งดูแลเรื่องดังกล่าว แต่สภาองค์กรของผู้บริโภคก็เรียกร้องให้ตรวจสอบ 5 ข้อ

  1. ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ตรวจสอบสินค้าและบริการที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อทรัพย์สิน หากละเมิดต้องลงโทษและเยียวยา
  2. ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลบุคคล (สคส.) ตรวจสอบการละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลอย่างจริงจัง
  3. สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต้องตรวจสอบค่ายมือถือที่ปล่อยให้แอปฯ อันตรายติดตั้งในสมาร์ทโฟน
  4. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมต้องเรียกบริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและเพลย์สโตร์ กำหนดมาตรการคัดกรองและบล็อกแอปฯ ผิดกฎหมาย
  5. ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เร่งออกมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อผิดกฎหมายและปราบปรามแอปฯ กู้เงินเถื่อน

batch_img_20241211_124214_1

ขณะเดียวกันมีข้อมูลจาก พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ระบุว่า กรณีนี้เป็นการโปรโมตร่วมกันระหว่างแบรนด์มือถือและผู้พัฒนาแอปฯ โดยแอปฯ ถูกติดตั้งมากับตัวเครื่อง เสมือนกับการทำตลาดร่วมกันและไม่สามารถลบหรือถอนการติดตั้งได้

เลขาธิการ สกมช. กล่าวอีกว่า แอปฯ ทั้ง 2 ยังไม่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลภายในเครื่องได้โดยตรง เมื่อตรวจสอบทั้ง 2 แอปฯ คือ “สินเชื่อความสุข” เกี่ยวกับการให้สินเชื่อ ส่วน “Fineasy” เกี่ยวกับการส่งเสริมการขายคูปองส่วนลด ซึ่งการขอเข้าถึงข้อมูลไม่ได้มากกว่าแอปฯ อื่น เพียงแต่เป็นแอปฯ ที่พ่วงมา ทำให้เจ้าของมือถือเลือกไม่ได้ แต่ถูกขายพ่วงมาหรือทำโปรโมชันกับแบรนด์มือถือ เพื่อที่จะได้ฐานผู้ใช้งานมากขึ้นหรือลูกค้าจะได้สมัครได้ง่ายขึ้น แทนที่จะให้ผู้บริโภคดาวน์โหลดเอง

เรื่องนี้คงต้องติดตามกันต่อไปเพราะค่อนข้างประทบเยอะเหมือนกันโดยเฉพาะผู้ใช้งาน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ