กสทช. ยืนยัน! พร้อมสร้างระบบแจ้งเตือนเรียลไทม์ ในเสร็จภายใน 1 ปี

Home » กสทช. ยืนยัน! พร้อมสร้างระบบแจ้งเตือนเรียลไทม์ ในเสร็จภายใน 1 ปี
กสทช-min (1)

โฆษกประจำประธาน กสทช. ยัน! พร้อมสร้างระบบแจ้งเตือนแบบ ‘Cell Broadcast System’ ให้เสร็จภายใน 1 ปี แต่แบบ SMS ทำได้เลย

สืบเนื่องจากกรณี กราดยิงพารากอน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยผู้ก่อเหตุนั้นมีอายุเพียง 14 ปีเท่านั้น ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวเมียนมาร์ นอกจากนั้นยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 5 ราย โดยความคืบหน้าล่าสุดของคดี กราดยิงพารากอน นั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับคนขายปืนให้แก่ผู้ก่อเหตุวัย 14 ปี ได้แล้วโดยเป็นบุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ จ.ยะลา จำนวน 2 ราย ดังนี้ นายสุวรรณหงส์ อายุ 45 ปี และนายอัครวิชญ์ อายุ 22 ปี ที่อยู่ ถ.เวฬุวัน ต.สะเตง อ.เมืองยะลา จ.ยะลา

ซึ่งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐหลายฝ่ายนั้นต้องออกมาเคลื่อนไหว ทั้งในเรื่องของข้อกฎหมายการครอบครองอาวุธ หรือแม้แต่ พรบ. คุ้มครองเด็ก อีกทั้งยังมีเรื่องของระบบการแจ้งเตือนภัยร้ายของประเทศไทย ที่โดนวิพากษ์วิจารณ์มาหลายต่อครั้ง ว่าเวลามีเหตุร้ายนั้นอาจจะไม่ได้รับการแจ้งเตือนเร็วเท่าที่ควรจะเป็น ซึ่งประชาชนบางกลุ่มมองว่า เมื่อเกิดเหตุต้องเช็กข่าวสารในโซเชียลมีเดียมากกว่า

  • กราดยิงพารากอน กระทบหนัก นักท่องเที่ยวหาย กว่า 1 ล้านคน
  • รวบ! ‘โอ ยี่เรือ’ ดัดแปลงอาวุธปืนแบลงค์กัน เอี่ยวเหตุ ยิงกราดพารากอน?
  • จีนซึ้ง ในหลวง-ราชินี พระราชทานดอกไม้ แก่ผู้บาดเจ็บ สยามพารากอน

ยืนยันสร้างระบบแจ้งเตือนเสร็จภายใน 1 ปี

ล่าสุด วันนี้ 5 ตุลาคม 2566 มีรายงานว่าทางด้าน นายพชร นริพทพันธ์ โฆษกประจำประธาน สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เปิดเผยว่า กสทช. ได้หารือกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทุกราย และยืนยันความพร้อมในการจัดทำ ‘ระบบเตือนภัยฉุกเฉิน’ โดยระยะแรกจะเป็นการแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS แบบ Location Base Service System ที่ทำได้ทันที ซึ่งผู้ประกอบการพร้อมให้การสนับสนุน โดยทางเทคนิคสามารถทำได้ทันที แต่อาจต้องรอให้รัฐบาลจัดทำระเบียบ วิธีการ และขั้นตอนปฏิบัติ ที่ชัดเจน ก็สามารถดำเนินการได้ทันที

อย่างไรก็ตาม การแจ้งเตือนภัยแบบ Location Base Service System อาจมีช่วงเวลาหน่วงในการหา Location แต่ถ้าเป็นการเตือนภัยแบบ Cell Broadcast System ที่เป็นแบบ Push Notification ก็จะทำให้การเตือนเป็นแบบอัตโนมัติ เรียลไทม์ แม้ปิดเครื่อง ซึ่งคาดว่าจะพัฒนาระบบไปถึงขั้นใช้งานได้ภายในระยะเวลา 1 ปี ส่วนงบประมาณการจัดทำ น่าจะเป็นรูปแบบการร่วมสนับสนุน ระหว่างภาครัฐและเอกชน

ทั้งนี้หลังเกิดเหตุ กสทช. ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องว่า สำนักงาน กสทช. ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้และขอความร่วมมือจากองค์กรวิชาชีพสื่อ และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน ตรวจสอบและกำชับการนำเสนอเนื้อหาของสื่อมวลชน ตามมาตรฐานวิชาชีพสื่อและจริยธรรมสื่อ หลีกเลี่ยงการนำเสนอเนื้อหาที่หมิ่นเหม่ทางจริยธรรม และคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม

กสทช-min

ที่มา : สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ