หลังจากเหตุการณ์ศาลเยาวชนและครอบครัว ได้ออกคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ ห้ามไม่ให้นำ น้องไนซ์ เชื่อมจิตจัดกิจกรรม และให้ผู้ปกครองพา น้องไนซ์ ไปพบแพทย์ภายใน 15 วัน พร้อมแจ้งกับ พม.สุราษฎร์ฯ และรายงานผลกับศาลฯ ทราบด้วย หากฝ่าฝืนโทษถึงคุก
ต่อมาทางพ่อ และแม่ของ น้องไนซ์ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประเดนนี้ว่า เตรียมยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลเนื่องจากเอกสารหลายอย่างพึ่งได้มาหลังจากที่เสร็จสิ้นการสืบสวนไปแล้ว เพราะจากคำร้องอาจจะมองว่าใช้ น้องไนซ์ เพื่อหาผลประโยชน์ ซึ่งจริง ๆ แล้วเราไม่ได้ใช้ น้องไนซ์ หาผลประโยชน์เลย ต่อมาได้มีแชทหลุดในกลุ่ม นิรมิตเทวาจุติ โดยสมาชิกในกลุ่มได้มีการเรียกร้องศาลตอบประเดน ห้าม น้องไนซ์ สอน เชื่อมจิต เหตุเพราะคำสอนไม่ตรงตามพระไตรปิฎก
ล่าสุด วันที่ 29 สิงหาคม 2567 เวลา 19.36 น. เฟซบุ๊คเพจ นิรมิตเทวาจุติ ได้มีลงคลิปที่ พ่อ และแม่ น้องไนซ์ ยืนให้สัมภาษณ์ หลังเข้าพบศาล โดยแม่ น้องไนซ์ ได้กล่าวว่า “ขอบพระคุณศาลยุติธรรมท่านคะ สิ่งที่ศาลท่านมีคำสั่งมีผลดีกับน้องคะ เป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพน้อง ด้วยจะทำให้ประเด็นต่าง ๆ ที่มีข้อถกเถียงได้เกิดความกระจ่างชัดเจน” พร้อมกับโพสต์ระบุข้อความว่า “สรุปคำสั่งศาล 28 สิงหาคม 2567 1.ห้ามผู้ถูกร้องทั้งสองแสวงหาประโยชน์จากเด็กชายนิรมิตหรือไนซ์ ศูนยะคณิต โดยห้ามนำเด็กชายนิรมิตไปทำกิจกรรมเชื่อมจิต หรือเผยแพร่คำสอนตามสถานที่ต่าง ๆ หรือใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวอันปรากฎข้อมูล ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือสื่ออื่นใด ที่เป็นการยืนยันถึงเด็กชายนิรมิต
- เปิดแชท! กลุ่มลูกศิษย์ น้องไนซ์ โวยศาล ปม คำสอนไม่ตรงพระไตรปิฎก
- ครอบครัวน้องไนซ์ จ่อยื่นอุทธรณ์ คำพิพากษาศาล ลั่น ไม่ได้หากินกับลูก
- ครอบครัว น้องไนซ์ ยังไม่หยุด!? หลังศาลสั่งหยุด สอน เชื่อมจิต 6 เดือน
2.ให้ผู้ถูกร้องทั้งสองนำเด็กชายนิรมิตหรือไนซ์ ศูนยะคณิต เข้าพบและรับคำปรึกษาจากคณะจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ประจำสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคไต้ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใน 15 วัน นับแต่วันนี้ โดยให้คณะจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ตรวจรักษาหรือให้คำปรึกษาแนะนำ เด็กชายนิรมิตไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ภายใน 6 เดือน แล้วให้ผู้ตรวจรักษารายงานผลการตรวจรักษาและความคืบหน้าต่อศาล
ให้ผู้ร้องกำกับดูแลการใช้อำนาจปกครองของผู้ถูกร้องทั้งสองที่เกี่ยวกับการจัดการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามคำสั่งศาลและตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
คำสั่งนี้ให้มีผล 6 เดือน นับแต่วันรับทราบคำสั่งหมายแจ้งคำสั่งให้ผู้ร้อง ผู้ถูกร้องทั้งสองและผู้เกี่ยวข้องทราบ เว้นแต่จะลงชื่อรับทราบ คำขออื่นให้ยก”