วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 มีกระแสดราม่า “พ่อผิดหวังผลการเรียนลูก” ที่กำลังกลายเป็นกระแสไวรัลในโลกโซเชียล เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กส่วนตัวรายหนึ่งโพสต์รูปภาพ “สมุดผลการเรียก” ของลูกตนเอง ลงกลุ่มในเฟซบุ๊ก พร้อมแสดงให้เห็นถึงคะแนนในรายวิชาต่างๆ โดยผู้โพสต์ยังได้มีการเขียนข้อความระบุว่า “ผมรับสมุดพกลูกวันนี้แล้วรู้สึกผิดหวังในตัวเขามาก คะแนนภาษาอังกฤษ เขาได้น้อยที่สุด ผมควรย้าย โรงเรียนไหนที่เน้นอังกฤษใน กทม. ดีครับ อยากให้ทำได้ดีกว่านี้ ป.1 ง่าย ๆ ควรจะได้ 4.0 ไม่ใช่แค่ 3.8” โดยโพสต์ดังกล่าวมีผู้คนแชร์ไปแล้วกว่า 126 ครั้ง และมีผู้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นแล้วกว่า 700 ข้อความ
ซึ่งหลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป มีคนจำนวนมากเข้ามาแสดงความคิดเห็น อาทิเช่น
-ไม่น่ามีลูกเลย สงสารเด็กมัน
-น้อยจริงๆแหละ เพราะที่เคยเห็นเกรดรวม ป1 ส่วนใหญ่ 6.2 ขึ้นไป
-อดทนนิดนึงนะคะหนู เดี๋ยวคุณพ่อก็โตแล้วลูก
-สมัยคุณเกรดเท่าไหร่ ?
-ถ้าเรื่องจริง อย่ามีคนที่สองนะครับ
-ไปเรียนเองมั้ยคะ? ไม่ได้จะว่านะคะ เเต่ลองไปเรียนเองไหมคะ เเค่นี้น้องก็เก่งมากเเล้วค่ะ
-ลูกเพิ่ง ป.1 ผิดหวังในตัวลูกแล้วหรอคะ ?
-สงสารเด็กที่มีคุณเป็นพ่อค่ะ
-ดูแลพ่อด้วยนะหนู พ่อคุณไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน
-วิชาE ได้คะแนน 70+ ได้เกรด 3 ถือว่าเด็กเก่งแล้ว ได้คะแนน 80+ ได้เกรด 4 ถ้ารวมเกรดเฉลี่ย ได้ 3.50ขึ้น ก็เก่งแล้วสำหรับเด็กป.1
-คุณพ่อเครียดหรือขิงก่อน
- ผกก. สน.พระโขนง ตอบปม สติ๊กเกอร์ดาวบีสีเขียว ทำเอา วิโรจน์ ถึงกับยิ้ม
- บิ๊กต่อ ฉุน ส่วยสติกเกอร์ ชี้ อย่ากล่าวหา ควรมีหลักฐาน ทำ ตร.เสื่อมเสีย
- เปิดวาร์ป ‘ใบเฟิร์น มณฑิรา’ ดีกรีนางแบบ ฮอตมาแรง เจ้าของธุรกิจเสริมสวย
ทั้งนี้ ซึ่งหากโพสต์ดังกล่าวเป็นเรื่องจริงในการกดดันลูก ไม่ใช้คุณพ่ออยากอวดลูก อาจทำให้เด็ก “เกิดอาการเครียด” ได้ โดยความเครียดของเด็ก จะส่งผลกระทบไปทั้ง ทางร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการการเรียนรู้ต่างๆ อาจทำให้เกิดอาการทางจิตใจ หรือ ความเจ็บป่วยทางกายที่ไม่ทราบสาเหตุ เช่น ปวดท้อง ปวดหัว นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียน ขาดสมาธิ รับประทานได้น้อยลง พ่อแม่พาไปตรวจที่โรงพยาบาลทางกายก็ไม่พบสาเหตุชัดเจน อีกทั้งความเครียดเรื้อรังอาจส่งผลกระทบถึงการเจริญพัฒนาของเซลล์ประสาทในสมอง หรือ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่ส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน อีกด้วย
ความเครียดของเด็กสามารถแบ่งอาการออกได้ 3 ระดับ ดังนี้
–ระดับที่ 1 เด็กอาจเครียด วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ แต่ไม่กระทบกับผลการเรียน และไม่กระทบกับความสัมพันธ์ของคนรอบข้าง อาจเป็นเพียงแค่ความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น
–ระดับที่ 2 เริ่มรุนแรงขึ้นอีก ส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน และความสัมพันธ์ของคนรอบข้าง
–ระดับที่ 3 ถือเป็นระดับที่รุนแรงและมีผลกระทบอย่างมาก ทำให้เด็กไม่มีสมาธิ ผลการเรียนตก ซึมเศร้า เหม่อลอย อยากตาย ร่างกายไม่มีพละกำลัง
จากการวิจัยพบว่า ร้อยละ 5-10 ของกลุ่มโรควิตกกังวลและซึมเศร้าที่เกิดจากความเครียด ที่พบในเด็ก ส่วนมากจะพบว่าเป็นความเครียดที่เข้าสู่ระดับกลางถึงรุนแรง แต่ถ้าเป็นความเครียดธรรมดาทั่วไป พบได้มากถึง ร้อยละ 20-30
ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลมนารมย์
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY