บทลงโทษการครอบครอง “ไซยาไนด์” – วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ทนายแก้ว เผย! โทษ “ไซยาไนด์” หลัง “ไอซ์ ปรีชญา” มีไว้ในครอบครอง !
- ตู้ไปรษณีย์ DIYสุดเก๋ จาก”เครื่องใช้ไฟฟ้า” ที่ใครเห็นก็ต้องเหลียวมอง
- ‘โอ๋ ชัยวุฒิ’ ลั่นประโยคเด็ด งัดหมัดสู้ ทำเอา ‘คริส เส้นด้าย’ ถึงกับกุมขมับ
สารไซยาไนด์ เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 ห้ามนำเข้า ห้ามครอบครอง และห้ามนำมาผสมใส่อาหาร ยา และเครื่องสำอาง หากพบผู้ใดฝ่าฝืน จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว รายงานว่า นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า กรมโรงงานฯ ได้หารือร่วมกับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ถึงแนวทางการควบคุมใช้สาร ‘ไซยาไนด์’ ให้ถึงกลุ่มผู้ใช้รายย่อยว่า นำไปทำอะไร เพิ่มเติมจากกฎหมายปัจจุบันที่กำหนดให้ร้านค้าปลีกรายใด ครอบครองสารเคมีอันตรายเกิน 100 กิโลกรัม ภายใน 6 เดือน จะต้องรายงานมายังกรมฯ ต่อไปอาจจะให้ร้านค้าปลีกทุกรายที่จำหน่ายสารโซเดียมไซยาไนด์ , โพแทสเซียมไซยาไนด์ ให้ผู้ซื้อรายย่อยรายใด
รูปแบบต้องลงทะเบียนคล้ายกับซื้อซิมโทรศัพท์มือถือ ให้ระบุว่า นำไปใช้เพื่ออะไร อาทิ นำไปในร้านชุบเงินชุบทอง หรือใช้ในห้องแล็บ หากหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว คาดว่าจะประกาศเงื่อนไขการใช้สารไซยาไนด์ ภายในสัปดาห์หน้า
ไทยผลิตสารไซยาไนด์ไม่ได้เอง ต้องนำเข้าเท่านั้น ปัจจุบันมีผู้นำเข้าสารโพแทสเซียมไซยาไนด์ จำนวน 14 ราย ถ้ามาตรการเพิ่มเติมผ่านการเห็นชอบจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว จะแจ้งผู้นำเข้าทั้งหมด โดยการกำหนดเป็นเงื่อนไขท้ายใบอนุญาต เพื่อให้ผู้ที่ซื้อต่อจากผู้นำเข้าทุกราย ทั้งโรงงาน , ร้านค้าปลีก , ผู้ใช้รายย่อย ต้องปฏิบัติตามแนวทางใหม่ เรื่องการควบคุมดูแลการใช้สารโพแทสเซียมไซยาไนด์
อย่างไรก็ตาม ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้นำเข้า และผู้ใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่ถูกต้องด้วย โดยปัจจุบันสารไซยาไนด์ มี 2 ประเภทที่ กรอ. ควบคุมอยู่ คือ โซเดียมไซยาไนด์ และโพแทสเซียมไซยาไนด์ ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้ มีไว้ใช้ในงานอุตสาหกรรม อาทิ การสกัดแร่ การชุบโลหะ ชุบทอง เงิน หรือใช้ในห้องแล็บ ส่วนที่เป็นข่าวตอนนี้ เป็นการนำไปใช้ในทางที่ผิด ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
นอกจากนี้ กรมฯ ได้หารือเบื้องต้น กับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคแล้วว่า อาจจะขอความร่วมมือ ไม่นำสารไซยาไนด์ ไปขายบนช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์แพลตฟอร์มต่างๆ เนื่องจากเป็นสารอันตราย ไม่ควรหาซื้อง่าย
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY