กรมอุตุ เตือน! พายุฤดูร้อน ฉบับที่ 8 แนวโน้มจะทวีเป็นพายุดีเปรสชัน

Home » กรมอุตุ เตือน! พายุฤดูร้อน ฉบับที่ 8 แนวโน้มจะทวีเป็นพายุดีเปรสชัน

.webp

กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน! พายุฤดูร้อน ฉบับที่ 8 คาดมีผลกระทบถึงวันนี้ 10 พฤษภาคม 2566 แนวโน้มจะทวีเป็น พายุดีเปรสชัน

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ทางเพจ กรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 8 (137/2566) คาดมีผลกระทบถึง วันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

  • ห้ามทำเด็ดขาด! ยิ่งแคะ ยิ่งตัน อันตราย จากการ ปั่นหู
  • เตือน! 7 พฤติกรรมเสี่ยง โรค ไต ถามหา ทั้งที่ไม่ได้กินเค็ม
  • ความรู้รอบตัว! 7 วิธีหลีกเลี่ยงและป้องกันตัวเองตัวเองจากฟ้าผ่า
ๅจ
10

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนจังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

วันที่ 10 พฤษภาคม 2566

  • ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย ชัยภูมิหนองบัวลำภู นครราชสีมา และบุรีรัมย์
  • ภาคกลาง : จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี และสระบุรี
  • ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 10-14 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน และคาดว่าจะเคลื่อนเข้าอ่าวเบงกอลตอนบน หลังจากนั้นจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเมียนมา ส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น

.webp

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. 66 ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าว

แหล่งที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ