กรมราชทัณฑ์ ชี้แจง กรณีนักโทษเสียชีวิต ยืนยัน ไม่มีการทำร้ายร่างกาย

Home » กรมราชทัณฑ์ ชี้แจง กรณีนักโทษเสียชีวิต ยืนยัน ไม่มีการทำร้ายร่างกาย

สิ้นใจเพราะติดเชื้อ

กรมราชทัณฑ์ ยืนยัน นักโทษที่เสียชีวิต ไม่ได้ถูกทำร้ายร่างกาย เสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ญาติไม่ติดใจสาเหตุการเสียชีวิต

จากกรณี เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2567 นายอำนวย อายุ 31 ปี นักโทษเรือนจำกลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เสียชีวิตลงแล้ว หลังจากถูกส่งตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาล ในสภาพหมดสติ หัวแตกเย็บหลายเข็ม และมีร่องรอยฟกช้ำตามตัว แม่ของนายอำนวย ร้องขอความเป็นธรรมให้ลูกชายนั้น

ล่าสุดกรมราชทัณฑ์ ขอเรียนว่า ได้รับรายงานข้อเท็จจริงจากเรือนจำกลางสุราษฎร์ธานีว่ากรณีดังกล่าวผู้โพสต์ได้กล่าวถึง ผู้ต้องขังที่ชื่อว่า นายป๊อป อายุ 31 ปี คดีเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ยาเสพติด เข้าเรือนจำเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 ตรวจสอบประวัติการเจ็บป่วยพบว่ามีประวัติการรักษาโรคทางจิตประสาท และโรคลมชัก หลังออกจากห้องกักโรค นายป๊อบ ได้เข้ามารักษาตัวอยู่ในสถานพยาบาลของเรือนจำฯ เนื่องจากมีการเจ็บป่วยเนื่องจากมักมีอาการชัก เกร็ง

ทั้งนี้ในวันที่ 15 มิถุนายน 2567 นายป๊อป ได้พยายามลุกขึ้นยืน แต่ไม่สามารถทรงตัวได้จนล้มทำให้ศีรษะกระแทกร่องน้ำ จนเกิดบาดแผลฉีกขาดที่ด้านหลังศีรษะ พยาบาลของเรือนจำฯ ได้ดูแลรักษาเย็บแผลห้ามเลือด และให้นอนพัก ที่ห้องพักฟื้นเพื่อสังเกตอาการ หลังจากนั้นขณะนอนอยู่เริ่มมีอาการชัก เกร็ง อาการไม่ทุเลาลง ทางเรือนจำฯ จึงได้รีบดำเนินการจัดส่งไปรับการรักษายังโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

1
  • ดับก่อนพ้นโทษ แม่ไม่ปักใจเชื่อ ลูกชายชัก หลังเห็นแผลตามตัว
  • แม่ ร้องขอความความจริง หลังจนท.เรือนจำ อ้าง ชัก แต่แผลเต็มตัว
  • ‘ซากพะยูน’ ตัวที่ 5 ถูกอวนปูชาวบ้านพันหาง ลอยตายกลางทะเลกระบี่

ซึ่งได้รับตัวไว้รักษาจากอาการชัก เกร็ง และได้รับรายงานจากโรงพยาบาลฯ ว่าในวันที่ 22 มิถุนายน 2567 เวลา 02.20 นาฬิกา นายป๊อป ได้เสียชีวิต และเรือนจำฯ ได้ประสานญาติเพื่อเข้ารับทราบสาเหตุการเสียชีวิต โดยหลังจากการชันสูตรศพ แพทย์ได้ให้ความเห็นว่าสาเหตุการตายเกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและปอดอักเสบ ไม่ได้มีการทำร้ายร่างกายแต่ประการใด ซึ่งทางเรือนจำฯ ได้ให้ญาติมาตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิดและทำความเข้าใจกับญาติเรียบร้อยแล้ว โดยญาติไม่ติดใจกับสาเหตุการเสียชีวิตแต่อย่างใด

กรมราชทัณฑ์ ขอยืนยันว่า เรือนจำ/ทัณฑสถานได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดขั้นต่ำขององค์การสหประชาชาติในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (ข้อกำหนดแมนเดลา) เพื่อสร้างความปลอดภัยของผู้ต้องขังทุกคนเป็นสำคัญ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ