[ad_1]

กรมการประมง ปลาหมอคางดำ -ปก-min

อธิบดีกรมประมง แถลงการ หลัง บ.เอกชนชื่อดัง กล่าวอ้าง นำส่งตัวอย่าง “ปลาหมอคางดำ” 50 ตัว ยืนยัน! ไม่พบข้อมูลการรับขวดโหลอย่างใด

จากกรณีการแพร่ระบาดของ ปลาหมอคางดำ ในหลายจังหวัดของประเทศไทย เอเลี่ยนสปีชีส์ ที่ตอนนี้ชาวเน็ตต่างตั้งคำถามออกมาว่าใครเป็นผู้นำเข้ามา และทำไมถึงมีการระบาดรุนแรงได้ขนาดนี้ จนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและเกษตรกรผู้ทำประมง ซึ่งวานนี้ (16 ก.ค.) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ได้ส่งหนังสือชี้แจงกรณีปัญหาปลาหมอคางดำ ต่อคณะกรรมาธิการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กมธ.) โดยมีใจความว่า 14 ปีที่ผ่านมา ในปี 2553 บริษัทได้นำเข้าปลาจำนวน 2,000 ตัว ซึ่งพบว่ามีปลาสุขภาพไม่แข็งแรงและมีการตายจำนวนมากในระหว่างทาง ทำให้เหลือปลาที่ยังมีชีวิตแต่อยู่ในสภาพอ่อนแอเพียง 600 ตัว ซึ่งได้รับการตรวจสอบ ณ ด่านกักกันโดยกรมประมง

ปลาหมอคางดำ-min

เนื่องจากปลามีสุขภาพไม่แข็งแรง จึงมีการตายต่อเนื่องจนเหลือเพียง 50 ตัว บริษัทจึงตัดสินใจหยุดการวิจัยในเรื่องนี้ โดยมีการทำลายซากปลาตามมาตรฐานและ แจ้งต่อกรมประมง พร้อมส่งตัวอย่างซากปลา ซึ่งดองในฟอร์มาลีนทั้งหมดไปยังกรมประมงในปี 2554 แต่ทว่า กรมการประมง ก็ได้ออกมาชี้แจงเรื่อง พร้อมกับยืนยันว่า ไม่ได้มีการรับตัวอย่าปลา 50 ตัว ดังกล่าว

ล่าสุด วันที่ 17 ก.ค. 2567 กรมการประมง ได้มีการจัดแถลงข่าว การแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า ปลาหมอคางดำ เป็นปลาลุกลาม เพราะปรับตัวได้ดี ในสมัยนั้น มีการใช้กฎหมาย พ.ร.บ.การประมง 2490 มีมาตรา 54 ห้ามมิให้นำสัตว์น้ำชนิดหนึ่งชนิดใด ตามที่ระบุไว้ใน พระราชกฤษฎีกา เข้ามาในพระราชอาณาจักร โดยมิได้รับอนุญาติจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มี ปลาหมอคางดำ อยู่ในบัญชีด้วย มีวัตถุประสงค์อยู่ 2 เรื่อง คือ
1. มิให้มีโรคระบาดเข้ามาระบาดในประเทศ
2. ป้องกันสุขภาพ ของคนในประเทศ สารที่ติดมากับสัตว์น้ำ

อธิบดีกรมประมง-2-min

กรมประมง เมื่อ 14 ปีที่แล้ว มีการควบคุมการนำเข้า (IBC) เขาก็อนุมัติให้นำเข้าได้ โดยมีเงื่อนไข 2 ข้อ
1. ต้องมีการเก็บตัวอย่าง ครีบ ดองในน้ำยาเก็บตัวอย่างส่งให้กลุ่มวิจัย
2. เมื่อสิ้นสุดการทดลองให้รายงานผล หากผลการวิจัยไม่เป็นไปตามเป้าหมายให้ทำลายชุดดังกล่าวทั้งหมด และแจ้งเจ้าหน้าที่กรมประมงเข้าตรวจสอบการทำลายต่อไป

ประเด็นการกล่าวอ้าง ว่า บ.เอกชน มีการนำส่งตัวอย่าง 50 ตัว ให้กลุ่มวิจัยความกลากหลายทางชีวภาพ เราก็ขอเรียนว่า ระบบจัดเก็บตัวอย่าง มีทั้งหมด 2 ลักษณะ คือ 1. ห้องตัวอย่างอ้างอิง เก็บตัวอย่างสัตว์น้ำทั้งตัวในขวดแก้ว ด้วยน้ำยาฟอมาลีน 2. ห้องปฎิบัติการ เป็นการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำ ครีบปลา และเลือด เพื่อใช้ตรวจสอบสารพันธุกรรม

การตรวจสอบ ได้เรียกผู้ที่ดูแลมาตรวจข้อมูลโดยเอาสมุดบันทึกลงทะเบียน การลงรับข้อมูลการรับสัตว์น้ำเข้า มาเช็กตั้งแต่ปี 50 กว่า เราก็เพ่งไปที่ ปี 2553 เดือน ธ.ค. และ ม.ค. 2554 ยืนยันว่า ไม่พบข้อมูลการนำส่ง ขวดปลา 50 ตัว ในสมุดคุม ที่กรมประมงคุมอยู่ตั้งแต่บัดนั้น จนถึงบัดนี้ และให้เจ้าหน้าที่หา ก็ไม่มีขวดที่ถูกกล่าวอ้างแต่อย่างใด ขณะนี้ กรมประมง ไม่มีการรับตัวอย่างปลา จำนวน 50 ตัว จาก บริษัทผู้นำเข้าแต่อย่างใด

อธิบดีกรมประมง-4-min

สำหรับมาตรการการแก้ไข ได้ดำเนินการที่ได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการลงพื้นที่ และรับปะญหา ก็ได้ทำมาเป็นระยะ แต่เมื่อได้รับมอบหมายให้เป็นวาระสำคัฯ ในการแก้ปัญญาของพี่น้อง ประกอบการตั้งคณะทำงานมา 40 กว่าท่าน

ดังนั้น นี่ก็เป็นเครื่องยืนยันว่า บ.เอกชนแห่งนี้ มีการนำเข้ามาแค่ที่เดียว ตั้งแต่ปี 2554 และเกิดการแพร่ระบาดออกมาจนเกิดผลกระทบกับพี่น้องชาวไทย ในวันนี้อธิบดีกรมประมง ได้มีการชี้แจงออกมาชัดเจนแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม หากอยากรับฟังการแถลงการของ กรมการประมง สามารถดูได้ : ที่นี่

[ad_2]