เช็กด่วน! กรมทรัพยากรธรณี เปิดชื่อ 14 จังหวัด ภาคกลาง-ใต้ เสี่ยงดินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก 9-11 ต.ค.
(9 ต.ค.67) ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) แจ้งเตือนให้เฝ้าระวังเหตุดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก โดยขอให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยของกรมทรัพยากรธรณีและประชาชนทั่วไป จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา กระบี่ ตรัง พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา ในระหว่างวันที่ 9-11 ต.ค. 2567 โดยเฉพาะในพื้นที่
- จังหวัดราชบุรี อำเภอบ้านคา อำเภอปากท่อ อำเภอสวนผึ้ง
- จังหวัดเพชรบุรี อำเภอเมือง อำเภอชะอำ อำเภอบ้านลาด อำเภอท่ายาง อำเภอเขาย้อย อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองหญ้าปล้อง
- จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี อำเภอเมือง อำเภอกุยบุรี อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย อำเภอสามร้อยยอด
- จังหวัดชุมพร อำเภอเมือง อำเภอสวี อำเภอพะโต๊ะ อำเภอท่าแซะ อำเภอหลังสวน อำเภอปะทิว
- จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา อำเภอเมือง อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอวิภาวดี อำเภอดอนสัก
- จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอสิชล อำเภอนบพิตำ อำเภอพิปูน อำเภอฉวาง อำเภอขนอม
- จังหวัดพังงา อำเภอกะปง อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง
- จังหวัดกระบี่ อำเภอเขาพนม อำเภอเมือง อำเภออ่าวลึก อำเภอปลายพระยา
- จังหวัดตรัง อำเภอห้วยยอด อำเภอนาโยง อำเภอปะเหลียน อำเภอย่านตาขาว
- จังหวัดพัทลุง อำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด อำเภอควนขนุน อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอศรีบรรพต
- จังหวัดสงขลา อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอหาดใหญ่ อำเภอรัตภูมิ
- จังหวัดปัตตานี อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอมายอ อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอสายบุรี อำเภอยะรัง
- จังหวัดนราธิวาส อำเภอสุไหงปาดี อำเภอศรีสาคร อำเภอแว้ง อำเภอสุคิริน
- จังหวัดยะลา อำเภอธารโต อำเภอเบตง อำเภอยะหา
เนื่องจากมีฝนตกหนักในบางพื้นที่วัดปริมาณน้ำฝนในรอบ 24 ชั่วโมง ได้มากกว่า 100 มิลลิเมตร และเริ่มมีน้ำท่วมฉับพลันเข้าท่วมบางพื้นที่แล้ว ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้และลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก
ทั้งนี้ ขอให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยของกรมทรัพยากรธรณี เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังภัยและวัดปริมาณน้ำฝนอย่างต่อเนื่อง หากเกิดเหตุให้แจ้งเตือนสถานการณ์แผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับทราบ และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมปฏิบัติตามแผนการเฝ้าระวังที่ได้มีการอบรมไว้แล้ว