“ไซยาไนด์” สารเคมีที่กลายเป็นยาพิษสำหรับฆาตกร

Home » “ไซยาไนด์” สารเคมีที่กลายเป็นยาพิษสำหรับฆาตกร

ไซยาไนด์-min

รู้จักความอันตรายของ “ไซยาไนด์” สิ่งที่ฆาตกรเลือกหยิบมาเป็นเครื่องมือในการสังหารโหด โดยมือไม่ต้องเปื้อนเลือด

ไซยาไนด์ Cyanide เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ออกฤกษ์รุนแรงและเฉียบพลัน เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับสารเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่นาที โดยปกติแล้วสารไซยาไนด์จะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ หรือเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์บางประเภท เช่น ยาฆ่าแมลง น้ำยาขัดเงาโลหะ อุตสาหกรรมถลุงโลหะ การผลิตสี ผลิตพลาสติก นอกจากนี้ยังพบไซยาไนด์ได้ในพืชธรรมชาติ โดยจะมีสาร Cyanogenic glycosides พบได้ในเมล็ดของเอพริคอต เชอร์รี่ดำ หน่อไม้ดิบ หัวและใบของมันสำปะหลังดิบ ไซยาไนด์ เป็นสารพิษที่ยับยั้งการหายใจระดับเซลล์ หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก จะทำให้เซลล์ไม่สามารถใช้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองและหัวใจได้ จึงทำให้เสียชีวิตในที่สุด

  • “ไบโอฟิล์ม” ในชามอาหารหมา – แมว อันตรายกว่าที่คิด!
  • ในอนาคตอาจไม่มี “โกโก้” ถ้าโลกเรายังเป็นเช่นนี้อยู่…
  • เช็กก่อนเลี้ยง! สัตว์ที่ห้ามเลี้ยงในประเทศไทย หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
ไซยาไนด์

ไซยาไนด์มี 3 รูปแบบ

  • รูปแบบของผงสีขาวที่เมื่อแห้งจะไม่มีกลิ่น แต่หากได้รับความชื้นจะเปลี่ยนรูปเป็นแก๊สไฮโดรเจนไซยาไนด์ซึ่งมีกลิ่นฉุน 
  • รูปแบบของของเหลว 
  • รูปแบบของแก๊ส ไม่มีสี อาจพบได้จากการเผาไหม้สารพลาสติก เมลามีน ขนสัตว์ และหนังเทียม มักพบได้ในเหตุเพลิงไหม้

ผลกระทบจากการรับไซยาไนด์

  • ภาวะเป็นพิษจากไซยาไนด์แบบเฉียบพลัน พบได้ยาก หากเกิดขึ้นทันทีอาจทำให้เกิดอาการหายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ สมองบวม ชัก หมดสติ ภาวะหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตในที่สุด
  • ภาวะพิษจากไซยาไนด์แบบเรื้อรัง  คือการรับในปริมาณเล็กน้อยแต่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน เกิดผื่นแดง อาจมีอาการอื่นๆ ตามมา เช่น รูม่านตาขยาย ตัวเย็น อ่อนแรง หายใจช้า หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้หัวใจเต้นช้า เต้นผิดจังหวัด ผิวหนัง ใบหน้า แขนและขาเป็นสีม่วง และเสียชีวิตในที่สุด

วิธีการปฐมพยาบาล

  • เมื่อไซยาไนด์สัมผัสกับผิวหนัง ให้รีบล้างผิวบริเวณที่สัมผัสกับไซยาไนด์ด้วยสบู่และน้ำทันที โดยให้น้ำไหลผ่านผิวหนัง อย่างน้อย 15 นาที ทั้งนี้ผู้ที่ทำการช่วยเหลือควรป้องกันตนเองโดยการสวมชุดและหน้ากากป้องกัน และรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
  • หากไซยาไนด์หกรดลงบนเสื้อผ้า ให้รีบถอดเสื้อผ้าออกโดยเร็ว หรือใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าส่วนนั้นออกเพื่อป้องกันไม่ให้สารพิษสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง
  • เมื่อไซยาไนด์สัมผัสกับดวงตา ให้ล้างตาด้วยการเปิดน้ำให้ไหลผ่านดวงตาอย่างน้อย 15-20 นาที และห้ามขยี้ตาโดยเด็ดขาด หากใส่คอนแทคเลนส์ ให้ใช้มือสะอาดถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อนล้างดวงตา และรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

กฎหมายควบคุม ไซยาไนด์

ไซยาไนด์จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 บทลงโทษ ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ยาพิษ-ไซยาไนด์

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ