“โรคไอกรน” คืออะไร? พ่อ – แม่ ควรรู้ไว้! ให้ลูกปลอดภัยจากโรค

Home » “โรคไอกรน” คืออะไร? พ่อ – แม่ ควรรู้ไว้! ให้ลูกปลอดภัยจากโรค

โรคไอกรน-min (1)

ทำความรู้จัก “โรคไอกรน” ที่มักเกิดขึ้นกับเด็ก 0 – 4 ขวบ พ่อ – แม่ ควรรู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรค

โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ มีสาเหตุจากเชื้อ Bordetella pertussis ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ก่อโรคในคนเท่านั้น มักก่อให้เกิดอาการรุนแรงในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ติดต่อโดยการสัมผัสกับละอองเสมหะของผู้ป่วย จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไอกรน ของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบสถานการณ์โรคไอกรน มีแนวโน้มเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา สำหรับปี 2566 เริ่มพบการระบาดโรคไอกรน ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม 2566 โดยพบอัตราป่วยสูงในเด็กอายุ0 – 4 ปี และ 10 – 14 ปี ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์รับวัคซีน หรือยังได้รับวัคซีนไม่ครบ 3 เข็ม สำหรับเด็กโตซึ่งพบในผู้ที่มีประวัติได้รับวัคซีนที่น่าจะเกิดจากระดับภูมิต้านทานที่ลดลง โดยกลุ่มเสี่ยงต่อโรครุนแรง คือ เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีภาวะแทรกซ้อนสำคัญที่พบ ได้แก่ ปอดอักเสบ extreme leukocytosis และมักพบการระบาดส่วนใหญ่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีความครอบคลุมการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ น้อยกว่า ร้อยละ 90

  • โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท นั่งนานท่าเดิม อัตรายกว่าที่คิด!
  • รับมือยังไง หากเครียดหนัก จนเกิดอาการจิตตก !?
  • ดวงตาเหนื่อยล้า ใช้สายตาหนักเป็นเวลานาน ชาวออฟฟิตต้องระวัง!
โรคไอกรน

อาการโรคไอกรน

สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคไอกรนจะเริ่มมีอาการคล้ายกับโรคหวัดธรรมดา คือ มีน้ำมูก อาจมีไข้ต่ำๆ ตาแดง น้ำตาไหล และไอ ที่มีลักษณะพิเศษ คือ ไอถี่ ๆ ติดกันเป็นชุด 5 – 10 ครั้ง ตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเสียงวู้ป (whoop)

บางครั้งเด็กจะไอจนมีอาการหน้าเขียว เพราะหายใจไม่ทัน โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน จะพบอาการหน้าเขียวได้บ่อย และบางครั้งมีการหยุดหายใจร่วมด้วย

การรักษาโรคไอกรน

การรักษาโรคไอกรนในระยะเริ่มต้นนั้นสามารถทำได้โดยการใช้ยาปฎิชีวนะ เพื่อช่วยให้ความรุนแรงของโรค แต่ถ้าพบผู้ป่วยในระยะที่มีการไอเป็นชุด ๆ แล้ว การให้ยาจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความรุนแรงของโรคได้แต่จะสามารถฆ่าเชื้อโรคที่มีอยู่ให้หมดไปได้ในระยะ 3 – 4 วัน ซึ่งช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อไอกรนได้

สำหรับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ นั้น จะเป็นการรักษาตามอาการ โดยให้ผู้ป่วยพักผ่อนดื่มน้ำอุ่น อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีหลีกเลี่ยงสาเหตุที่จะทำให้ไอมากขึ้น เช่น การออกแรง ฝุ่นละออง ควันไฟควัน บุหรี่ อากาศที่ร้อนหรือเย็นจัดเกินไป

วัคซีนไอกรน

เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันโรคไอกรน มีลักษณะเป็นยาน้ำแขวนตะกอนสีขาวขุ่น โดยมีข้อห้ามใช้ ดังนี้

  1. ห้ามฉีด ในผู้ที่มีความไวเกินหรือมีประวัติการแพ้รุนแรง ซึ่งอาจส่งผลคุกคามต่อชีวิต หลังฉีดวัคซีน
    ป้องกันโรคไอกรนชนิดอื่นๆ หรือส่วนประกอบอื่นๆ ในวัคซีน
  2. ห้ามฉีด ในผู้ที่เคยมีอาการเจ็บป่วยทางสมองแบบไม่ทราบสาเหตุ ภายใน 7 วัน หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดอื่นๆ เช่นอาการโคม่า ชักเป็นระยะเวลานาน (prolonged seizures) หรือมีระดับความ
    รู้สึกตัวลดลง
  3. ห้ามฉีด ในผู้ที่มีอาการผิดปกติทางระบบประสาทระยะลุกลาม โรคลมชักที่ยังควบคุมอาการไม่ได้ หรืออาการผิดปกติทางสมองระยะลุกลามข้อควรระวัง
  4. ควรเลื่อนการฉีดออกไปในผู้ที่มีไข้สูงเฉียบพลัน
  5. ควรระมัดระวังในผู้ที่มีประวัติการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากได้รับวัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดอื่นๆ เช่น มีไข้สูง (มากกว่า 40 องศาเซลเซียส) โดยไม่มีสาเหตุ มีอาการลมชัก ล้มฟุบหมดสติ(collapse) หรืออาการคล้ายกับภาวะช็อก (Shock-like state)
  6. ระมัดระวังในผู้ที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบเลือด เกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) หรือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากอาจเกิดเลือดออกที่บริเวณที่ฉีด
  7. ในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันหรือผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ระดับการสร้างภูมิคุ้มกันภายหลังวัคซีนอาจลดลง ควรเลื่อนการให้วัคซีนไปหลังจากเสร็จสิ้นการรักษาหรือหายจากโรคภูมิคุ้มกันแล้ว อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเรื้อรัง เช่น ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ควรให้วัคซีน aP แม้ว่าอาจมีการ ตอบสนองทางภูมิคุ้มกันอย่างจำกัด

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน ในหญิงตั้งครรภ์

แนะนำให้วัคซีนไอกรน 1 เข็ม ทุกการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ที่แนะนำ 20 -31 สัปดาห์ และหญิงตั้งครรภ์สามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนได้ที่สถานบริการสาธารณะสุขของรัฐใกล้บ้าน

โรคไอกรน-min

ที่มา กรมควบคุมโรค

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ