จากสภาพปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน ทําให้หลายภาคส่วนเข้ามาให้ ความสําคัญกับการดําเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องคือการชดเชย คาร์บอน (Carbon Offset) ทั้งนี้ การชดเชยคาร์บอนในองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน ปริมาณมากอย่างมีนัยสําคัญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเริ่มมีการดําเนินการให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม หากแต่การชดเชยคาร์บอนในปริมาณน้อย สําหรับบุคคล สถานประกอบการขนาดเล็ก หรือในโครงการย่อยขนาดเล็ก ยัง ไม่มีระบบสนับสนุนการดําเนินการให้เห็นอย่างเด่นชัด เนื่องจากเป็นการชดเชยคาร์บอนสําหรับหน่วยย่อย และ ในปริมาณน้อยมาก ซึ่งการพัฒนาระบบเพื่อให้สอดรับกับการชดเชยคาร์บอนในลักษณะดังกล่าวมี ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการสูง
- อำนาจสั่งได้? ลูกผู้ว่าฯ ระยอง ออกหนังสือราชการ ระดมคนช่วยงานศพพ่อ
- หนุ่มใหญ่เมา แทงเพื่อนดับ ก่อนเดินกลับบ้านผูกคอตาย เพราะสำนึกผิด
- ช้าไม่ได้! ระวังอั้น เลขล็อค 16 5 66 หวยงวดนี้หลุด 3 ตัวตรงๆ
มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน จึงได้จัด “โครงการแข่งขันการพัฒนา แอพพลิเคชั่นเพื่อการ ชดเชยคาร์บอนในหน่วยธุรกิจขนาดเล็ก” เพื่อให้เยาวชนได้เข้ามามีบทบาทในการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบการ ชดเชยคาร์บอนสําหรับหน่วยธุรกิจขนาดเล็กที่มีการชดเชยในปริมาณน้อย และเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้ใช้ ความรู้ที่ได้ศึกษามา มาพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนากลไกเพื่อลด ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศต่อไป
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการชดเชยคาร์บอน
คาร์บอนเครดิต คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่องค์กรหนึ่ง สามารถลดลงได้ หลังจากดําเนินกิจกรรม เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเม่ือเปรียบเทียบกับการดําเนินกิจกรรมตามปกติ เช่น การเปลี่ยนจากการใช้ ไฟฟ้าที่ซื้อจากโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานฟอสซิลมาเป็นไฟฟ้าที่ใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมการรีไซเคิลของเสียที่เกิดขึ้นแทนการทิ้งหรือทําลายของเสียการทํากิจกรรมใช้พลังงานไฟฟ้าใหม้ี ประสิทธิภาพมากขึ้น หรือการปลูกป่าซึ่งเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ซ่ึงเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ สําคัญ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงจะแสดงออกมาในหน่วยของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และหลังจากได้รับการรับรองปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวแล้ว จะได้รับการขึ้นทะเบียน โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. หลังการดําเนินกิจกรรมตามโครงการ ที่ได้รับการอนุมัติ จะมีการตรวจสอบปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง และเมื่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน กระจกที่ลดลงน้ีได้รับการรับรอง จะถูกเก็บสะสมไว้ในระบบทะเบียน ซึ่งเรียกว่า คาร์บอนเครดิต ซึ่งสามารถ นํามา ซ้ือ ขาย เปลี่ยนมือ และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
องค์กรใดที่ไม่สามารถลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้ สามารถติดต่อขอซ้ือคาร์บอนเครดิต เพ่ือนํามา หักลบกับปริมาณการปล่อยคาร์บอนของตนเอง ที่เรียกว่าเป็นการชดเชยคาร์บอนหรือ Carbon Offset
สําหรับกรณีที่องค์กรซื้อคาร์บอนเครดิต มาหักลบเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมา จะเป็นการ ชดเชยคาร์บอนทั้งหมด ทําให้ปริมาณการปล่อยคาร์บอนของตนเองมีค่าเป็นศูนย์ ซึ่งจะเรียกว่าเป็นกลางทาง คาร์บอนหรือ Carbon Neutral
เกณฑ์การแข่งขัน
- ผู้สมัครส่งผลงานเข้าแข่งขันเป็นเยาวชนไม่เกินระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า
- ส่งผลงานเป็นกลุ่มโดยมีสมาชิกกลุ่มละไม่เกิน 5 คน
- ผลงานที่ส่งเข้าแข่งขัน เป็นแอพพลิเคชั่นแบบ Web Base และสามารถแสดงผลได้บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้
เกณฑ์การพิจารณา
- ความครบถ้วนของแอพลิเคชั่นในการทํางาน เช่น การซื้อ ขาย โอน ชดเชย คาร์บอนเครดิต
- ความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานหรือ UserFriendly
- รูปแบบ ภาพลักษณ์ของ แอพพลิเคชั่น สามารถรองรับการแสดงผลได้บนอุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์
- ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
การรับสมัครและส่งผลงาน
- ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566
- กําหนดรับสมัครผ่านทาง Google Form https://forms.gle/aeVwUih5FjbouY5W9 โดยถือจากเวลาที่ระบบรับข้อมูลเป็นสําคัญ
- 2 มิถุนายน 2566 – โครงการจะแจ้งยืนยันการเข้าร่วมโครงการผ่านอีเมล์ของผู้ประสานงานที่ผู้สมัครได้แจ้ง
- 12 พฤษภาคม 2566 – กําหนดการปฐมนิเทศเพื่อชี้แจงถึงหลักการทํางาน และความรู้เรื่องการซื้อขายคาร์บอน เครดิตผ่านระบบออนไลน์ ทั้งนี้ผู้สมัครที่สมัครเข้าร่วมโครงการภายหลังการปฐมนิเทศ สามารถรับชมการปฐมนิเทศย้อนหลังได้ทางเว็บไซต์ หลังวันที่ 12 พฤษภาคม 2566
- 28 กรกฎาคม 2566 – กําหนดส่งผลงานในรูปแบบ Weblink พร้อมคลิปวีดีโอแสดงการสาธิตการใช้งานของ แอพลิ เคชั่น (ก่อนเวลา 24:00 น) ทางอีเมล์ คุณกรวิชญ์ฯ [email protected] และคุณ อังศนาฯ [email protected] โดยถือ วัน เวลา อัพโหลดผลงานเข้าระบบเป็นสําคัญ
- ระหว่างวันที่ 10-11 สิงหาคม 2566 – นําเสนอผลงานและตัดสิน (ซึ่งทางโครงการจะแจ้งกําหนดวัน เวลา สถานที่ ในการนําเสนอให้ทราบภายหลัง)
- 11 สิงหาคม 2566 – กําหนดการมอบรางวัล
รางวัลทุนการศึกษา
- รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา 200,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทุนการศึกษา 100,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทุนการศึกษา 50,000 บาท
- รางวัลชมเชย 2 รางวัล ทุนการศึกษาทุนละ 20,000 บาท
- รางวัลปลอบใจ 10 รางวัล มูลค่ารางวัลละ 10,000 บาท
ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกคน จะได้รับประกาศนียบัตรรับรองการเข้าร่วมโครงการ
*หมายเหตุ :
- ในกรณีที่เป็นเงินได้ที่เข้าข่ายการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทางผู้รับทุนเป็นผู้รับผิดชอบภาระการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามที่กําหนดไว้ในประมวลรัษฎากร
- ลิขสิทธิ์ในผลงานที่ได้รับรางวัลทุกรางวัลเป็นของผู้จัด
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน โทร. คุณกรวิชญ์ 091-804-6643 และคุณอังศนา 084-938-3057
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY