“วิษณุ” แถลงผลสอบ 2 บิ๊กตำรวจ คืนเก้าอี้ ผบ.ตร. “บิ๊กต่อ” ขณะ “บิ๊กโจ๊ก” ยังไม่ออกราชการ รอดูคดี ไม่รู้เอกสารหลุด ย้ำคำสั่งมีผลเมื่อนายกฯลงนาม
นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี แถลงผลการสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีปรากฎเป็นข่าวต่อสาธารณะเกี่ยวกับความขัดแย้งในเรื่องคดีของบุคลากรภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล อดีตรองผบ.ตร. ซึ่งมีนายฉัตรชัย พรหมเลิศ เป็นประธาน ว่า ได้รับมอบหมายจากนายกฯให้แถลงผลสอบของคณะกรรมการฯ
โดยสรุปว่าเมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา ท่ามกลางข่าวขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในตร. ทำให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจและไม่พอใจต่อสภาพที่เกิดขึ้น นายกฯ จึงมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่ง คือกรรมการดังกล่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ ประมวลเรื่องว่าเป็นมาอย่างไร เพื่อแก้ไขในอนาคต โดยมีนายฉัตรชัย เป็นประธาน
กรรมการชุดนี้ตั้งอนุกรรมการหลายชุด สอบพยาน 4 เดือน 50 กว่าคน ในจำนวนนั้นสอบสวนคู่กรณีคือ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ และ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ก่อนสรุปได้ว่า
1.ผลการตรวจสอบพบว่ามีความขัดแย้งในตร.จริง มีความขัดแย้งระดับสูง กลาง เล็ก ทุกระดับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเกิดเหตุเดียวกันหรือคนละเหตุ จึงเกิดเป็นคดีต่างๆ มีการฟ้องร้องในหางานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
2.เรื่องที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่กับบุคคล 2 คนคือพล.ต.อ.ต่อศักดิ์ และพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ แต่ละคนมีทีมงาน ซึ่งเกิดความขัดแย้งด้วย คดีสำคัญเกี่ยวพันกับบบุคคลเหล่านี้ เช่น คดี 140 ล้าน คดีกำนันนก คดีมินนี่ คดีพนันออนไลน์บีเอ็นเค และมีคดีย่อยๆ คดีอยู่ในศาลภาค 7 ความขัดแย้งบางเรื่อง เป็นเรื่องเพิ่มเติม บางเรื่องขัดแย้งมาเป็นสิบปีแล้ว
3.ต้องส่งเรื่องให้หน่วยงานเกี่ยวข้องรับผิดชอบ บางเรื่องส่งให้ตำรวจ อัยการ ศาลว่ากันไปตามปกติ
4.บางเรื่องเกี่ยวพันนอกกระบวนการยุติธรรม เช่น ป.ป.ช. ซึ่งรับไปดำเนินการหมดแล้ว ไม่มีคดีตกค้างในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
5.ตัวพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เนื่องจากได้รับคำสั่งให้กลับ ตร. เมื่อ 18 เม.ย. เดิมเมื่อวันที่ 20 มี.ค. ทั้งสองถูกคำสั่งสำนักนายกฯ มาช่วยราชการที่สำนักนายกฯ แต่วันที่ 18 เม.ย.ได้ส่งตัวพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กลับไปสำนักงานตำรวจในตำแหน่งหน้าที่เดิม แต่ในวันนั้นมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและมีคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
โดยจากนี้หน่วยงานที่ต้องดำเนินการต่อคือกฤษฎีกาและกระทรวงยุติธรรม, ออกคำสั่งสำนักนายกฯ ส่งตัวพล.ต.อ.ต่อศักดิ์ กลับไปดำรงตำแหน่งเดิม และการดำเนินการอื่นเป็นเรื่องของสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าจะต้องสอบวินัยหรืออื่นๆ
ส่วนกรณีพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน คือสั่งตามแบบที่เคยสั่งในอดีต ตามพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2505 แต่ในฉบับใหม่ พ.ศ.2565 เพิ่มมาตราว่าในกรณีที่การสั่งให้ตำรวจออกจากราชการไว้ก่อน ไปกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของบุคคลนั้น จะต้องทำตามคำแนะนำหรือเสนอแนะ ปรากฎว่า วันที่ 18 เม.ย. มีคำสั่ง 3 คำสั่งติดต่อกัน 1.เรียกกลับหางานตำรวจแห่งชาติ 2.ตั้งกรรมการสอบวินัย 3.การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนทันที ซึ่งเป็นปัญหา เนื่องจากเรื่องของพล.ต.อ.สุเชษฐ์ ไม่ได้ผ่านคณะกรรมกาสอบสวน จึงส่งหารือกฤษฎีกาโดยมีมติ 10 ต่อ 0 เห็นว่าการให้ออกจากราชการไว้ก่อนดังกล่าว กระทบต่อสิทธิหน้าที่ต่างๆ
ดังนั้น สถานภาพของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ทาง สลค.ต้องตรวจสอบว่ามีการทำถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และต้องรอคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมพิจารณา เนื่องจากการจะให้ออกจากตำแหน่งจะต้องมีการตรวจสอบว่ามีความผิดชัดเจน
ส่วนเอกสารคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่หลุดออกมา นั้น ตนเองไม่ทราบว่าหลุดออกมาได้อย่างไร ซึ่งคำสั่งจะมีผลก็ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรี มีการเซ็นลงนามคำสั่ง พร้อมเชื่อว่า ทุกอย่างจะสงบลงมีความปรองดองกันในส่วนงานราชการ ซึ่งตนเองตอบได้เพียงว่าเรียบร้อยได้ในระดับหนึ่ง แต่ก่อนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบพบว่ามีเรื่องพัวพันทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีวินัยและคดีจรรยาบรรณ จึงต้องแยกตัวละครว่ามีใครบ้าง จึงคิดว่าคงมีการอ่อนลงในการทำงาน แต่คงไม่หมดไปเพราะความขัดแย้งบางเรื่องมีมาตั้งแต่ปี 2557
- ประวัติ “บิ๊กต่อ” พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล “มือปราบสายธรรมะ”
- ประวัติ “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล นายตำรวจที่เคยถูกแขวน แต่หวนคืนวงการได้สมศักดิ์ศรี