วันที่ 3 ธันวาคม 2566 แจ้งข่าวประชาชนดี สำหรับ LGBTQ+ โดย นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยถึง กรณีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ผ่าตัดแปลงเพศในกลุ่ม LGBTQ+ ว่า การผ่าตัดแปลงเพศอยู่ในสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี 2561 แล้ว เพราะไม่ได้มีข้อยกเว้นเอาไว้ อย่างปีที่แล้วเรามีการออกประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข พ.ศ. 2565 ก็ระบุไว้ค่อนข้างชัดเจน การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ไม่ครอบคลุมหรือเบิกไม่ได้ ซึ่งหากเป็นกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ก็ชัดเจนว่าสามารถทำและใช้สิทธิได้
ที่ผ่านมา พบว่าโรงพยาบาลจะมีแต่การเบิกในเรื่องของการผ่าตัดแปลงเพศ กรณีเพศกำกวมแต่กำเนิด แต่ละปีจะอยู่ที่ประมาณ 100 กว่าราย ไม่เคยเบิกกรณีผ่าตัดกลุ่ม LGBTQ+ เข้ามา จะมีก็เมื่อปีที่แล้วที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เบิกเข้ามา 1 ราย ดังนั้น “เรื่องการแปลงเพศของกลุ่ม LGBTQ+ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เรื่องของสิทธิ แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการพูดคุยเป็นเรื่องเป็นราวว่าตรงไหนทำได้หรือไม่ได้ และ ทางโรงพยาบาลก็ไม่เคยทำและเบิกเข้ามา ทาง สปสช. ก็ไม่รู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง จึงมีการนัดภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องหารือทั้งแพ็กเกจเลย ตั้งแต่ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค รักษาฟื้นฟูครบทุกกระบวนการ เพราะจะมีตั้งแต่การใช้ฮอร์โมน จนถึง แปลงเพศ“
- ไทยสมายล์บัส แจงปมอุบัติเหตุใหญ่ หลัง รถเมล์ ปอ. 40 ชนรวด 20 คัน
- ทุกข์ชาวบ้าน! เจ้าของที่ เอาขยะมาทิ้งเป็นภูเขา ทั้งกลิ่นทั้งฝุ่นเหม็นคลุ้งทั่วซอย
- วินาศสันตะโร! รถบรรทุก 22 ล้อ เบรกแตก กวาดเรียบ 10 คันรวด
ในส่วนเรื่องที่จะต้องตรวจกับแพทย์ หรือ จิตแพทย์ ว่าบุคคลนั้นมีความจำเป็นหรือไม่นั้น เดิมในอดีตก็จะมองว่าเป็นความผิดปกติ แต่ปัจจุบันเราเข้าใจว่า ทางฝั่งผู้เรียกร้องมองว่าไม่ได้เป็นเรื่องความผิดปกติ แต่เป็นลักษณะของเพศสภาพไม่ตรงกับจิตใจและร่างกาย ดังนั้น หากแพทย์มองว่าปล่อยทิ้งไว้จะเป็นปัญหาเรื่องสุขภาพจิต ขึ้นอยู่กับแพทย์มองว่าเป็นข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ หากต้องทำก็ทำได้ ซึ่งเรามีระบบให้รองรับการเบิกอยู่แล้ว “การผ่าตัดแปลงเพศที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ส่วนใหญ่จะมองเหมือนเสริมสวย แต่เราตีความชัดเจนขึ้น ถ้าจำเป็นในทางการแพทย์ก็จะอยู่ในสิทธิประโยชน์”
ทั้งนี้ ยังไม่รู้ว่าเงินที่ได้เพียงพอหรือไม่ แม้จะมีระบบเบิกจ่ายรองรับ เพราะการจ่ายคาดว่าคงหลักไม่ถึงแสนบาท แต่จริงๆ การผ่าตัดแปลงเพศราคาค่อนข้างสูง เพราะไม่ใช่แค่ผ่าตัดแปลงเพศเท่านั้น แต่มีหัตถการอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งสิทธิประโยชน์ก็จะต้องครอบคลุมทั้งหมด ก็ต้องมาหารือเรื่องของราคา เบื้องต้นพบมีประมาณ 8-9 หัตถการที่ต้องทำ อาทิเช่น ตัดกราม ผ่าตัดใบหน้า ผ่าตัดหน้าอก ผ่าตัดอวัยวะเพศ เป็นต้น ซึ่งแต่ละหัตถการก็จะแยกเป็น 1 DRG ในการเบิก หลังจากนี้ทีมทำเป็นแพ็กเกจทั้งหมด ที่มีอยู่แล้วก็เอามารวม ที่ยังไม่มีก็เอามาเสริม แล้วจะประกาศเป็นแพ็กเกจสำหรับคนกลุ่มนี้ คาดว่าใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน ถึงจะแล้วเสร็จ