เรียกคืน ยาลดความดัน 8 พันกล่อง เสี่ยงก่อมะเร็ง ให้ลูก-หลานเช็กด่วนที่นี่

Home » เรียกคืน ยาลดความดัน 8 พันกล่อง เสี่ยงก่อมะเร็ง ให้ลูก-หลานเช็กด่วนที่นี่


ยาลดความดัน

ยาลดความดัน กว่า 8,000 กล่อง กระจายไปกว่า 19 โรงพยาบาล อย. เรียกคืนด่วนหลังพบสารที่อาจก่อมะเร็ง ผู้ป่วยให้ลูก-หลาน เช็กรหัสยาได้ที่นี่

วันที่ 22 ตุลาคม 2566 มีรายงานว่า อย. เรียกเก็บคืนยาลดความดันโลหิตเออบีซาแทน (Irbesartan) เฉพาะบางรุ่นการผลิตที่ใช้วัตถุดิบที่ปนเปื้อนสารที่อาจก่อมะเร็งเอแซดบีที (Azidomethyl biphenyl tetrazole; AZBT) ขอผู้ป่วยอย่าตื่นตระหนก อย. ยืนยัน ยารุ่นการผลิตอื่นในท้องตลาดมีความปลอดภัย นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า กรณีที่ต่างประเทศมีการเรียกคืนยารักษาโรคความดันโลหิตสูงเออบีซาแทน (Irbesartan) จากบริษัทผู้ผลิต เนื่องจากพบการปนเปื้อนสารที่อาจก่อมะเร็งเอแซดบีทีในวัตถุดิบที่ใช้ผลิตยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทาง อย. จึงเร่งให้ผู้ผลิตตรวจสอบและเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบที่ไม่มีการปนเปื้อน ควบคู่ไปกับการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ยาที่จำหน่ายในท้องตลาด โดย อย. เก็บตัวอย่างวัตถุดิบยาทุกแหล่งที่นำมาใช้ในการผลิตยา ส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อพบว่ามีวัตถุดิบบางรุ่นที่พบปนเปื้อนสารที่อาจก่อมะเร็งเกินเกณฑ์สากลที่ยอมรับได้ อย. จึงสั่งให้ผู้รับอนุญาตผลิตเรียกเก็บคืนยาสำเร็จรูปที่ใช้วัตถุดิบที่พบการปนเปื้อน และแจ้งเตือนการเรียกเก็บคืนยาไปยังโรงพยาบาล คลินิก และร้านยา ควบคู่กับการประสานให้ผู้รับอนุญาตผลิตชดเชยเปลี่ยนยารุ่นการผลิตอื่นที่ปลอดภัยต่อไป อย่างไรก็ตาม การปนเปื้อนของสารที่อาจก่อมะเร็งดังกล่าวพบเพียงเฉพาะบางรุ่นการผลิตในผลิตภัณฑ์ยาสำเร็จรูปที่เรียกคืนเท่านั้น

ยาลดความดัน (2)

สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาเออบีซาแทนเพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูง ไม่ควรหยุดยาทันทีเนื่องจากยารักษาโรคความดันโลหิตสูงเป็นยาที่จำเป็นต้องใช้อย่างต่อเนื่อง และขอให้ตรวจสอบยาที่ใช้อยู่ หากพบว่าเป็นรุ่นการผลิตที่เรียกเก็บคืน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร และขอเน้นย้ำว่าผู้ป่วยยังคงสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ยาเออบีซาแทนยี่ห้อเดิมในรุ่นการผลิตอื่นที่ไม่มีการปนเปื้อนได้ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ email : [email protected] หรือ โทร 025907405

  • ปกครอง ทลายผับดัง ถนนหทัยราษฎร์ พบยาเกลื่อนพื้น ฉี่ม่วง 137 คน
  • ผลสำรวจ ขยายเวลาปิดผับ คนไม่เห็นด้วย ชี้ ผับปิดตี 2 เหมาะสมแล้ว
  • กรมอุทยานฯ ลุยตรวจ ตลาดจตุจักร ไม่เจอลักลอบค้าสัตว์ผิดกฎหมาย

พญ.มิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่า ยาเหล่านี้จะส่งกระจายไปยังสถานพยาบาลรัฐ 6 แห่ง สถานพยาบาลเอกชน 13 แห่ง โดย รุ่นการผลิต A650197 กระจายหมดแล้วประมาณ 4,500 กล่อง รุ่นการผลิต A660341 ผลิตประมาณ 4,657 กล่อง ยังอยู่ที่องค์การเภสัชฯ ประมาณ 3,400 กล่อง และ รุ่นการผลิต A650197 ผลิต 4,620 กล่อง เหลืออยู่ที่องค์การเภสัชฯ 215 กล่อง ทางองค์การเภสัชฯ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการใช้ยาและการคุ้มครองผู้บริโภคมาเป็นลำดับแรก เพราะฉะนั้น เมื่อได้ข้อมูลจาก อย. ซึ่งเฝ้าระวังเกี่ยวกับสารที่อาจจะเกิดอันตรายและแจ้งให้ทราบ ทางเราก็เริ่มกระบวนการแจ้งและเรียกคืนยาโดยทันที พร้อมเฝ้าระวังผลข้างเคียงเต็มรูปแบบ ส่วนที่ยังไม่ได้ส่งออกก็มีการบล็อกเอาไว้ที่องค์การเภสัชฯ แล้ว ในส่วนที่มีการกระจายไปยังรพ.ต่างๆ นั้น ตอนนี้ ตรวจสอบหมดเลยว่า 3 ล็อตนี้ไปอยู่ที่ใครบ้าง มีการจำหน่ายไปแล้วหรือยัง จำนวนเท่าไหร่ ซึ่งตอนนี้เรารู้ว่า ยากระจายไปที่สถานพยาบาลไหนบ้าง ส่วนรายละเอียดว่าจ่ายให้กับผู้ป่วยรายใดบ้างนั้นยังต้องรอการตรวจสอบ

ยาลดความดัน (1)

ทั้งนี้ ผอ.องค์การเภสัชฯ กล่าวว่า คิดว่า ปัญหาอยู่ที่วัตถุดิบที่นำมาทำเป็นยา ซึ่งน่าจะมีการซื้อร่วมจากบริษัทเดียวกัน หรือบริษัทใกล้ๆ กัน โดยเป็นสารกลุ่มไนโตซามีน ซึ่งเดิมจะไม่มีตัว AZBT อยู่ในรายการที่ต้องเฝ้าระวัง แต่ทางอย.น่าจะเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้ยาอยู่ตลอดและทราบว่ามีปัญหานี้เกิดขึ้นในต่างประเทศ ก็เลยเฝ้าระวังและเพิ่มการตรวจสอบสาร AZBT นี้เพิ่มเติมในประเทศไทย พอตรวจก็เจอว่าน่าจะมีในบางล็อตการผลิต ทั้งนี้วัตถุดิบที่นำมาทำยานั้น เป็นการนำเข้ามาจากจีน และอินเดีย ซึ่งที่ผ่านมา เรามีการตรวจ และทบทวนเรื่องการนำเข้ายา หรือวัตถุดิบที่จะนำมาทำยาเป็นปกติอยู่แล้ว เพียงแต่ว่า ตอนแรก ยากลุ่มนี้จะมีสารที่บังคับตรวจอยู่ 3 ตัว ซึ่งเราก็ตรวจตามมาตรฐาน และเมื่อมีการกำหนดให้ตรวจเพิ่มขึ้น 1 รายการ คือ AZBT เราก็จะตรวจเพิ่มขึ้นมาอีก

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ