เปิดโผ เก้าอี้คณะรัฐมนตรี ของ พรรคก้าวไกล จองอะไรบ้าง เพื่อไทย ได้อะไรไปบ้าง

Home » เปิดโผ เก้าอี้คณะรัฐมนตรี ของ พรรคก้าวไกล จองอะไรบ้าง เพื่อไทย ได้อะไรไปบ้าง

เก้าอี้คณะรัฐมนตรี

เปิดโผอย่างไม่เป็นทางการ เก้าอี้คณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ พรรคก้าวไกล จองอะไรไปบ้าง และ พรรคเพื่อไทย ได้อะไรไปครองบ้าง บอกเลยเรื่องนี้แปลกตา

วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 มีรายงานประเด็น เรื่อง การแบ่งเก้าอี้คณะรัฐมนตรี ในยุคของ ว่าที่รัฐบาลก้าวไกล อย่างไม่เป็นทางการ เบื้องต้นตามรายงานเผย พรรคก้าวไกล ได้เก้าอี้คณะรัฐมนตรี ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลฯ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงทรัพยากร และ กระทรวงศึกษา โดยทาง พรรคเพื่อไทย ได้เก้าอี้คณะรัฐมนตรี ได้แก่ กระทรวงเกษตร กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ โดยทาง พรรคประชาชาติ ได้เก้าอี้คณะรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม ส่วนกระทรวงอื่นๆ ยังไม่มีการวางไว้

1-1

ซึ่งจากตามรายงานการแบ่งเก้าอี้ คณะรัฐมนตรี ของว่าที่รัฐบาลก้าวไกล พบความผิดแปลกไปจากแต่ก่อนอย่างที่ไม่ค่อยได้เห็นมากนั้น เพราะทางพรรคก้าวไกล มีการจองเก้าอี้คณะรัฐมนตรีกระทรวงศึกษา หรือ กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งหากใครที่ติดตามการเมืองมานานจะรู้ว่ากระทรวงเหล่านี้ถือว่าเป็นกระทรวงขนาดเล็ก และในที่ผ่านๆมา พรรคที่จัดตั้งรัฐบาลจะแบ่งกระทรวงเหล่านี้ให้กับพรรคร่วมที่เป็นพรรคเล็ก แต่นี่กลับเป็นพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเลือกเอาไว้เสียเอง ก็ต้องมารอดูว่า ทางพรรคก้าวไกล จะดำเนินงานอย่างไร

  • ผลการนับคะแนนเลือกตั้ง66 ส.ส.ก้าวไกลลด ภูมิใจไทยเพิ่ม ประชาธิปัตย์เพิ่ม
  • เปิดเหตุผล ก้าวไกล จองประธานสภา เพื่อประชาชน ผลักดัน 3 วาระ สำคัญ
  • อยากเป็นแม่ที่ดี จดหมายลูกคนโต ตัดพ้อน้อยใจ รักน้องมากกว่า

ทั้งนี้ ผลการนับคะแนนเลือกตั้ง 2566 สำนักงาานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีการประกาศผลอย่างเป็นทางการแล้ว โดยทาง กกต. เตรียมประกาศผลนับคะแนนทางการ ว่า พรรคก้าวไกล เหลือ ส.ส. 151 คน , พรรคเพื่อไทย 141 คน , พรรคภูมิใจไทย เพิ่มเป็น 71 คน , พรรคพลังประชารัฐลดเหลือ 40 คน , พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 คน และ พรรคประชาธิปัตย์ เพิ่มเป็น 25 คน

โผ

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้อธิบายไทม์ไลน์การจัดตั้งรัฐบาลให้ครม.รับฟังว่า ไทม์ไลน์ที่พูดวันนี้ เป็นไทม์ไลน์อย่างเร็ว เปลี่ยนได้ทุกวัน แต่ไม่มีทางเร็วกว่านี้ โดยวันที่ (13 ก.ค. 66) จะเป็นวันสุดท้ายที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะรับรองผลเลือกตั้ง โดยหลังจากนี้ครม.จะพิจารณาพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมสภา และวันที่ (20 ก.ค. 66) จะเป็นวันสุดท้ายที่ให้ ส.ส.รายงานตัว จากนั้น วันที่ (24 ก.ค. 66) จะมีพิธีเปิดประชุมรัฐสภา วันที่ (25 ก.ค. 66) จะมีการเลือกประธานสภาฯ วันที่ (26 ก.ค. 66) จะมีการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งประธานสภาฯ ก่อนที่วันที่ (3 ส.ค. 66) จะมีการเลือกนายกรัฐมนตรี ขณะที่วันที่ (10 ส.ค. 66) มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี และใน วันที่ (11 ส.ค. 66) จะมีการถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ซึ่งเป็นการทำงานวันสุดท้ายของครม.รักษาการ

ขอบคุณข้อมูล เรื่องเล่าเช้านี้

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ