แห่แชร์สนั่นโลกออนไลน์ โพลไหนแม่น คำนวณคะแนนชัชชาติ ใช้การคำนวณทางสถิติ สนั่นก๊าก โพลไหน มั่วสุด ยังงง ใช้การเก็บข้อมูลแบบไหน ถึงได้ฮาสนั่นแบบนี้
วันที่ 24 พ.ค.2565 ทางเพจเฟซบุ๊ก คณิตศาสตร์อย่างที่ควรจะเป็น ได้คำนวณตรวจสอบผลโพลในช่วงการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพ โดยหลังผลคะแนนออกมา ก็ได้มาตรวจสอบดูว่าโพลแต่ละแห่งมีความแม่นยำมากน้อยแค่ไหน โดยใช้การตรวจสอบค่าสถิติสำหรับงานวิจัย โดยนำผลคะแนนมาเทียบกับค่าคำนวณผลโพล จากการตรวจสอบพบว่าผลโพลจากนิด้าโพลมีความแม่นยำสูงสุด โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 2.5 พันตัวอย่าง คำนวณคะแนนของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่ากรุงเทพ ใกล้เคียงเป็นอย่างยิ่ง
รองลงมาคือสถาบันพระปกเปล้า ใช้ค่าตัวอย่าง 806 ตัวอย่าง โดยคำนวณคะแนนของชัชชาติต่ำกว่าความเป็นจริงไปมาก รองลงมาคือโครงการวิจัยทูเดย์โพล ใช้กลุ่มตัวอย่าง 1,777 ตัวอย่าง โดยได้คำนวณคะแนนของชัชชาติไว้ใกล้เคียงมาก แต่ทำนายคะแนนของวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ไว้สูงเกินไป
ทั้งนี้โพสต์ดังกล่าวได้นำโพลของสำนักข่าวท็อปนิวส์มาวิเคราะห์ พบว่าไม่มีรายละเอียดการเก็บกลุ่มตัวอย่าง และคำนวณค่าของคะแนนชัชชาติต่ำกว่าเป็นจริงชนิดไกลลิบ โดยทำนายคะแนนผู้สมัครคนอื่นเช่น นายสกลธี ภัทยกุล พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง สูงกว่าความเป็นจริง ไปอย่างไกลโขมาก ซึ่งโพสต์ดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างมาก คนแห่แชร์และแสดงความคิดเห็นสนั่นโลกออนไลน์