หมอสมิทธิ์ ชี้! ต้องเปลี่ยนระบบ-หมอรุ่นพี่ ทิ้งภาระงานให้รุ่นน้องจนกดดัน

Home » หมอสมิทธิ์ ชี้! ต้องเปลี่ยนระบบ-หมอรุ่นพี่ ทิ้งภาระงานให้รุ่นน้องจนกดดัน

หมอสมิท

ผศ.นพ.สมิทธิ์ นายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย ชี้! ต้องเปลี่ยนระบบ หมอรุ่นพี่ ทิ้งภาระงานให้รุ่นน้อง จนกดดันต้องลาออกหรือจบชีวิต

สืบเนื่องจากเหตุสลดกลางดึก เมื่อคืนที่ผ่านมา (29 มิ.ย. 66) หลังมีรายงานจาก ร.ต.อ.นราธิป เทพอาจ รอง สว.(สอบสวน) สน.ยานนาวา รับแจ้งเหตุคนตกจากที่สูง เสียชีวิต ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งย่านสีลม ก่อนเดินทางไปตรวจสอบพร้อมแพทย์นิติเวช รพ.ตำรวจ พิสูจน์หลักฐาน และอาสามูลนิธิร่วมกตัญญู ที่เกิดเหตุอยู่ด้านหลังอาคารสนับสนุนบริการ สูง 28 ชั้น พบร่าง นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ฝึกงานโรงพยาบาลดังกล่าว อายุ 24 ปี สภาพร่างนอนคว่ำหน้า มีบาดแผลที่ศีรษะ ใกล้กับร่างพบบัตรประจำตัวของโรงพยาบาลตกอยู่ จึงประสานเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานเข้าตรวจสอบ

ล่าสุด ทางด้านโรงพยาบาลที่เกิดเหตุ ระบุแล้วว่าเป็น โรงพยาบาลเลิดสิน โดยทางโรงพยาบาลก็ได้ออกมาแถลงการณ์ในเบื้องต้นซึ่งมีข้อมูลระบุ ดังนี้

ตามที่มีข่าวทางช่องต่างๆเรื่อง นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่6 ตกจากอาคารหอพักเสียชีวิต ทางโรงพยาบาลเลิดสินรับทราบเหตุการณ์ดังกล่าวและขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว รวมทั้งได้ประสานงานติดต่อแจ้งข่าวต่อผู้ปกครองของนักศึกษาแพทย์รายนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้สาเหตุของเหตุการณ์นี้ยังไม่แน่ชัดและยังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยทางผู้ปกครองของนักศึกษาแพทย์มีความประสงค์ที่จะไม่ให้ข้อมูลใดๆ ในทุกช่องทาง โรงพยาบาลเลิดสินจึงขออภัยมา ณ โอกาสนี้

รพ.เลิดสิน แถลง! หลัง นศ.แพทย์ ตกตึกดับ เผย อยู่ในขั้นตอนตรวจสอบ

หมอสมิทธิ์ ชี้! ต้องเปลี่ยนระบบ

ทางด้าน ผศ.นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ นายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย และกรรมการแพทยสภาชุดปัจจุบัน นั้นเคยพูดถึงเรื่องนี้ไว้ โดยเปิดเผยผ่าน The Coverage ซึ่ง หมอสมิทธิ์ นั้นกล่าวไว้ว่า

ปัญหาเรื่องวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ดีในโรงพยาบาล เช่น การดูถูก ดุด่าจากอาจารย์แพทย์ หรือการที่แพทย์รุ่นพี่ทำงานไม่เต็มเวลา ทำให้แพทย์รุ่นน้องต้องรับภาระแทน เป็นหนึ่งในปัญหาเรื้อรังในระบบสุขภาพของรัฐที่มีส่วนบั่นทอนสภาพจิตใจของแพทย์ชดใช้ทุน หรืออินเทิร์น จนตัดสินใจลาออกแต่ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน

ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวมีมานานแล้ว และบางเรื่องก็ส่งผลเสียต่อการรักษาผู้ป่วยโดยตรงด้วย อย่างในกรณีที่แพทย์ประจำโรงพยาบาลบางส่วนเอาเวลาราชการออกไปทำในคลินิก ทำให้เวลาเกิดสถานการณ์คับขันที่แพทย์อินเทิร์นยังไม่สามารถจัดการได้ ไม่สามารถโทร.ถาม หรือ ปรึกษาใครได้ กระทั่งมาช่วยไม่ได้ก็มี จนนำไปสู่การรักษาที่ผิดพลาด ซึ่งที่ผ่านมาก็เคยเกิดขึ้นแล้ว เพียงแต่ไม่มีการเก็บข้อมูลอย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน อีกทั้งแม้จะรู้ และผิดจริงแต่ก็สามารถแก้ไขได้ยาก

บางทีสตาฟประเภทนี้ (เอาเวลาราชการไปเปิดคลินิก) อาจจะเป็นแพทย์คนเดียวในจังหวัด หรือเป็นหนึ่งในแพทย์ไม่กี่คนในจังหวัด ถ้าลงโทษให้ออกหรือหยุดทำหน้าที่ คำถามคือแล้วใครจะมาอยู่แทน ซึ่งทำให้ประเด็นนี้แก้ได้ยากในระดับหนึ่ง อีกทั้งในเชิงกระบวนการออกของระบบราชการก็ต้องใช้เวลาด้วย เลยกลับมาเรื่องเดิมว่าปริมาณแพทย์ไม่พอ เพราะถ้าแพทย์พอเรื่องพวกนี้เกิดขึ้นก็ไล่เขาออกไปเลย” นพ.สมิทธิ์ ระบุ

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เป็นการดูถูก ดุด่า เมื่อปี 2565 ทางแพทยสภาได้มีการประกาศข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นการปรับปรุงข้อบังคับให้สอดคล้องกับสภาวะในปัจจุบัน โดยในส่วนที่เป็นการกำกับการปฏิบัติตนต่อผู้ร่วมงาน ได้กำหนดไว้ว่า ต้องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของกันและกัน รวมถึงต้องไม่มีการให้ร้าย ทับถม กลั่นแกล้ง เหยียดหยาม ฯลฯ ต่อกัน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นสามารถร้องเรียนมาที่แพทยสภาได้ เพราะถือว่ามีความผิด

หมอสมิท

ขอบคุณข้อมูล : The Coverage

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ