นพ.สมชาย ไวกิตติพงษ์ แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทรวงอก ประจำ รพ.ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่าการ ผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ โดยใช้ชิ้นส่วนจากหัวใจวัวและหมู นำมาซ่อมแซม หรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจของมนุษย์เป็นเทคโนโลยีที่มีมาพอสมควรแล้ว และมีผลดีกว่าการใช้ลิ้นหัวใจเทียมผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วและมีอาการข้างเคียงน้อยกว่าลิ้นหัวใจสังเคราะห์หรือที่เรียกว่าลิ้นหัวใจเทียม
“ชิ้นส่วนจากหัวใจวัว และหมูนั้นไม่ได้มาจากการเลี้ยงทั่วไป แต่จะเป็นการเลี้ยงในระบบควบคุมทางเทคโนโลยีชั้นสูงทุกขั้นตอน หลังจากได้ชิ้นส่วนมาแล้วจะนำมาตรวจสอบคัดกรองอย่างละเอียดไม่มีร่องรอยหินปูนหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นจากนั้นจะนำมาเย็บด้วยมือมนุษย์แล้วจึงนำมาใช้ซ่อมแซมลิ้นหัวใจในการผ่าตัด”
- ธรรมนัส งงหนัก! ถามอะไรคือ ‘สวิงกิ้ง’ ไม่รู้เรื่องปมฉาว บิ๊กกระทรวงเกษตร
- กลุ่มไลน์สวิงกิ้ง วงแตก! หลังถูกแฉเรื่องฉาว ทำบ้านแตก ขรก.-คนมีสี เพียบ
- เศร้า! นักศึกษาสาวปี 2 เครียด โดนตัดทุนเรียนต่อ กระโดดน้ำดับสลด
ขณะที่ นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ. โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ การผ่าตัดซ่อมหัวใจ โดยเฉพาะลิ้นหัวใจ ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความก้าวหน้า ผนวกกับแพทย์ผ่าตัดผู้เชี่ยวชาญการรอดชีวิตของผู้ป่วยจากภาวะลิ้นหัวใจพิการ ลิ้นหัวใจรั่ว หรือด้วยอาการอื่นสู่การวินิจฉัยและปฏิบัติการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิต และสามารถกลับไปใช้ชีวิตในครอบครัวได้อย่างปกติ
“การใช้ชิ้นส่วนเนื้อเยื่อหุ้มหัวใจจากวัว และหมู มาใช้ซ่อมแซมลิ้นหัวใจคน เป็นทางเลือกที่ได้รับความสนใจมากขึ้น แต่ปัจจุบันนั้นยังมีการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลักมีมูลค่าสูง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความพร้อมในทุกด้าน พื้นที่ฟาร์ม อุปกรณ์เครื่องมือ นักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ นักเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการแพทย์ และอีกหลายสาขาที่เกี่ยวข้อง การเริ่มต้นพัฒนาและการผลิตขึ้นมาจะเป็นทางเลือกที่สำคัญให้กับการช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยนี้ได้มากขึ้น”