วันที่ 18 มกราคม 2567 คดีฆาตกรรมป้าบัวผัน หรือ คดีป้ากบ ที่จังหวัดสระแก้ว เมืองอรัญประเทศ เป็นคดีที่มีคนให้ความสนใจจำนวนมาก เนื่องจากผู้ก่อเหตุเป็นเด็กและเยาวชน ที่มีอายุราว ๆ 13-16 ปี ซึ่งจากการกระทำถือว่าเป็นเรื่องที่โหดร้ายอย่างมาก ล่าสุด ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและความผิดปกติทางประสาทวิทยา วิเคราะห์สมองแก๊งฆ่าป้ากบ ผ่านเพซบุ๊ก โดยระบุว่า “เบื้องลึกจิตวิทยา แก๊งค์ฆ่าป้ากบ” การที่เด็กเป็นแก๊งค์ไล่ทำร้ายคน ได้ทำสิ่งเลวร้ายเกินเด็ก เราเห็นเต็มไปหมดในปัจจุบัน แล้วส่วนใหญ่เป็นแก็งค์ด้วย พวกนี้ ตัวเดียวทำไม่ได้ หรอก มันมีจิตวิทยาฝังแฝงอยู่ในนั้น มาดูกัน ทฤษฎีอธิบายพวกแก็งค์เด็กเลว
จิตวิทยาเบื้องหลังความรุนแรงในเหตุการณ์ดังกล่าว สถานการณ์ที่เล่ามานี้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยทางจิตวิทยาหลายประการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรุนแรง ซึ่งเป็นการผสมผสานที่ซับซ้อน
1. พลวัตกลุ่ม (Group Dynamics): เยาวชนอาจรู้สึกตื่นเต้นและมีส่วนร่วมมากขึ้นเมื่ออยู่ในกลุ่ม พลวัตกลุ่มสามารถขยายพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ทำให้เกิดการกระทำที่อาจไม่กล้าทำคนเดียว เรียกว่า พวกมากลากไป เออ เอ็งเอา ข้าเอาด้วย
2. การสูญเสียตัวตน (Deindividuation): ความไม่ชัดเจนของตัวตนภายในกลุ่มอาจลดความตระหนักรู้ในตัวเองและความรับผิดชอบต่อการกระทำ ทำให้เกิดพฤติกรรมที่รุนแรงกว่าการกระทำตามลำพัง พวกนี้ จะเป็นพฤติกรรมเด็กที่ได้รับการสั่งสอนไม่ดี ไม่มีจุดมุ่งที่ชัดเจน ทำให้เส้นทางการเดิน ไม่ชัด ตัวตนไม่มี เลยผูกตัวตันไว้กับกลุ่ม คือกลุ่ม แก๊งค์นี่แหละคือตัวตน
- ผู้การแต้ม ซัดตำรวจอรัญฯ จับ ลุงเปี๊ยก ทำไม่ถูกต้อง ไม่ใช่รีบจับรีบจบ
- หลักฐานใหม่คดีป้าบัวผัน พบ สายตรวจวนเวียนอยู่บริเวณใกล้ที่เกิดเหตุ
- เพจดัง แฉเชนลูกตำรวจ นั่งชู 2 นิ้วอยู่ร้านน้ำกระท่อม ถามลั่น เชนอยู่ไหน?
3. ความตื่นเต้นและอิทธิพลเพื่อน (Excitement and Peer Influence): ความตื่นเต้นได้กระทำเป็นตัวเร่ง คือต้องเข้าใจว่า เมื่อตื่นเต้น สมองหลั่งสาร dopamine epinephrine ทำให้มีความรู้สึกตื่นเต้นเมื่อได้ทำ มันเป็นสัญชาตญาณ การล่าสัตว์ การเอาชนะ ที่ฝังตัว โดยเฉพาะเด็กที่ยังไม่มีตรรกะ โตเต็มวัย
4. บรรทัดทางสังคมและการเป็นแบบอย่าง (Societal Norms and Role Modeling): การยอมรับความรุนแรงเป็นวิธีแสดงความตื่นเต้นหรือแก้ไขความขัดแย้งอาจได้รับอิทธิพลจากบรรทัดทางสังคมหรือบุคคลต้นแบบ ส่งผลให้เกิดรูปแบบพฤติกรรมที่รุนแรง เช่น การเห็นแก็งค์นั่นก็ทำได้ และได้รับการยอมรับในสังคมเดียวกัน ยิ่งเดี๋ยวนี้ มี social media ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่
5. ทักษะการแก้ไขความขัดแย้งที่ไม่เพียงพอ (Lack of Conflict Resolution Skills): พวกนี้สมองด้อยพัฒนา แก้ปัญหาแบบไม่มีความคิด ไม่มีตรรกะ แสดงให้เห็นการสอน ของผู้ปกครองไม่ให้คิด ไม่มีเหตุผลที่ควร ดังนั้น การจัดการปัญหา จะเป็นการจัดการแบบป่าเถื่อน ไม่มีการคิดถึง norm หรือ สถานะสังคมที่ควรเป็น หรือ กฎหมาย
6. พันธุกรรม ยีนนักฆ่า (Murderer gene) พวกนี้ เกิดเป็นนักฆ่าโดยสันดาน ทำร้ายแล้วรู้สึกสุข พบว่า ยีนที่คุม MAO เป็นยีนที่เกี่ยวข้อง พวก serial killer ฆาตกรต่อเนื่อง หรือ พวก เข้าคุกแล้วทำซ้ำครั้งที่สอง มันคือสันดาน ควรจัดการตัดตอน เข้าคุกยาว ไม่ให้ออกมา เพราะกฎหมาย ดัดสันดาน ทำไม่ได้ เพราะมันมียีนกำหนด
การแก้ปัญหา เป็นการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน เหมือนปมเชือกที่รัดแน่น แก้ปัญหาอย่างเดียวไม่ได้ การบัญญัติกฎหมายที่แรงขึ้น เป็นการกดทับ ก็ช่วยให้กดความป่าเถื่อนได้ระดับหนึ่ง แต่มันเป็นปัญหา หลายขยัก ต้องบูรณาการ เพื่อป้องกันต่อไป จะได้ไม่มี ป้ากบรายที่ 2,3,4 นะฮะ