วิธีปฐมพยาบาล เมื่อสัมผัส “สารเคมี” รั่วไหล-สูดดม “ควันไฟ”

Home » วิธีปฐมพยาบาล เมื่อสัมผัส “สารเคมี” รั่วไหล-สูดดม “ควันไฟ”
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อสัมผัส “สารเคมี” รั่วไหล-สูดดม “ควันไฟ”

ในแถบต่างจังหวัด หรือเขตอุตสาหกรรมที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ เช่น การไฟไหม้ หรือระเบิดของโรงงาน หรือรถขนส่งสารเคมีต่างๆ สารเคมีอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายของเราได้ ดังนั้นหากเกิดเหตุขึ้น เราควรทำอย่างไรเพื่อช่วยเหลือตัวเอง และคนอื่น รวมถึงทราบวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อต้องสัมผัสกับสารเคมีที่อาจทำให้บาดเจ็บได้

อาการที่อาจเกิดขึ้น เมื่อสัมผัสกับสารเคมีอันตราย

  • แสบร้อนบริเวณผิวหนัง
  • แผลพุพอง
  • ระคายเคืองตา
  • หายใจติดขัด
  • อ่อนเพลีย


วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อต้องสัมผัสกับสารเคมี-สูดควันไฟ

  1. อพยพออกจากพื้นที่ทันที และอยู่เหนือลม
  2. กรณีที่สัมผัสควันไฟหรือไอระเหยจากสารเคมี ให้รีบนำผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยไปยังที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ และถอดเสื้อผ้า รองเท้าที่เปื้อนออก
  3. หากผิวหนังหรือตาสัมผัสโดนไอระเหยของสารเคมี ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที และโทรเรียกรถพยาบาลหรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669
  4. เมื่อออกจากพื้นที่ได้แล้ว แต่พบว่า มีคนที่ยังติดอยู่ห้ามกลับเข้าไปเด็ดขาด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือ
  5. ถึงแม้เหตุการณ์ไฟไหม้จะสงบลงแล้ว ยังไม่ควรเข้าใกล้หรือสัมผัสสารเคมีในบริเวณนั้นโดยเด็ดขาด จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
  6. เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หลังจากที่ได้กลับบ้านไปแล้วควรพักผ่อน ดื่มหรือจิบน้ำเพิ่มขึ้น
  7. หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ หายใจลำบาก ไอ ระคายเคืองตา ควรรีบกลับมาพบแพทย์ทันที
  8. ติดตามข้อมูลสถานการณ์จากหน่วยงานภาครัฐ และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ