กรมอนามัยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียจาก Home Isolation เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ทั้งนี้หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำเสีย หรือนำน้ำเสียไปใช้ประโยชน์อื่นๆ เนื่องจากผลวิจัยหลายฉบับพบว่า เชื้อโควิด-19 อยู่ในน้ำเสียได้ถึง 2 วัน จะทำอย่างไรได้บ้าง
พื้นที่มีระบบรวบรวมน้ำเสีย และระบบบำบัดน้ำเสียกลางของชุมชน
-ให้รวบรวมน้ำเสียทั้งหมดปล่อยลงสู่ระบบท่อรวบรวมน้ำเสีย เพื่อเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของชุมชนกลาง
อาคารชุด หอพัก อะพาร์ทเมนต์
-ตรวจสอบท่อระบายน้ำทิ้งว่าสามารถระบายอากาศได้ดี
-มีท่อระบายที่ปิดสนิทในห้องน้ำ และวาล์วกันการไหลย้อนกลับ สำหรับหัวฉีดและก๊อกน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ละอองฝอยจากอุจจาระเข้าไปในระบบท่อ หรือระบายอากาศ
-ท่อระบายทิ้งต้องไม่รั่วซึม ก่อนปล่อยเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐาน
พื้นที่ไม่มีระบบรวบรวมน้ำเสียเพื่อนำน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียกลางของชุมชน แต่มีการบำบัดน้ำเสียครัวเรือนเบื้องต้น เช่น บ่อเกรอะ-บ่อซึม-หรือถังเกรอะ
-รวบรวมน้ำเสียทีเกิดขึ้นปล่อยลงบ่อเกรอะ-บ่อซึม หรือถังเกรอะที่มีอยู่เดิมเพื่อเก็บกักและบำบัดน้ำเสียในเบื้องต้น ก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก
พื้นที่ไม่มีการจัดการน้ำเสีย
-รวบรวมน้ำเสียที่เกิดขึ้นและเก็บกักไว้อย่างน้อย 2 วัน ก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก เช่น ปล่อยลงบ่อพักน้ำเสีย
-ไม่ควรให้มีน้ำเสียขังนอง
แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำเสียหรือละอองน้ำเสีย หรือนำน้ำเสียไปใช้ประโยชน์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
รายงานการศึกษาหลายฉบับพบ RNA ของเชื้อไวรัส COVID-19 ในน้ำเสียแต่ยังไม่พบว่ามีความสามารถในการแพร่เชื้อได้ และมีงานวิจัยระบุว่าเชื้อสามารถอยู่ในน้ำเสียได้ 2 วันที่อุณหภูมิ 20 C (WHO,2020)