อาหารเสริม เป็นส่วนของอาหารที่เรารับประทานเพื่อป้องกันและชะลอวัย ไม่ใช่เพื่อรักษาโรค เนื่องจากอาหารเสริมไม่ใช่ยา แต่เป็นสารอาหารที่เราเพิ่มเสริมจากอาหารส่วนที่ขาดในแต่ละมื้อ เพราะฉะนั้นหากวิทานอาหารเสริมให้ถูกวิธี ก็สามารถทำให้เราได้รับประโยชน์จากสารอาหารนั้นๆได้อย่างเต็มที่ ซึ่งถ้าถามว่า อาหารเสริม ควรรับประทานเวลาไหน ? อาหารเสริมหรือวิตามินแต่ละชนิด ก็มีเวลาที่แนะนำให้รับประทานด้วยเช่นเดียวกัน เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ!
- 10 ผักออร์แกนิค กินสดได้ รสชาติดี ประโยชน์สูง!
- กล้วยน้ำว้า ดิบ – ห่าม – สุก – งอม ต้องกินตอนไหน? มีประโยชน์อะไรบ้าง?
- โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท นั่งนานท่าเดิม อัตรายกว่าที่คิด!
อาหารเสริม หรือ วิตามิน รับประทานเวลาไหนเหมาะสมที่สุด
อาหารเสริมส่วนใหญ่จริงๆแล้ว ทานเมื่อไรก็ได้ ก่อน – หลังอาหาร หรือพร้อมอาหาร ก็สามารถทานได้ เพราะร่างกายจะเลือกใช้ และเก็บในทุกสิ่งที่ร่างกายต้องการ แต่สิ่งสำคัญเราควรจะรับประทานให้ตรงเวลาทุกวัน เพื่อเป็นการสร้างวินัยในตัวเอง ทำให้เราไม่ลืมทาน แต่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดก็ต้องขอแนะนำเป็น “ช่วงเช้า” เวลาเช้าเป็นเวลาที่ร่างกายตื่นตัวมากที่สุด และต้องการสารอาหารมากที่สุด การทานอาหารเสริมจะได้ประโยชน์สูงสุดเช่นกัน
- วิตามินซี (หลังอาหารเช้า) : ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันหวัด แก้อาการเลือดออกตามไรฟัน ทั้งนี้ เราควรกินวิตามินซีในช่วงหลังอาหารเช้า เพราะวิตามินซีมีกรดที่อาจทำให้กระเพาะอาหารระคายเคืองได้ อีกทั้งอาหารจะเป็นตัวช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินซีได้ดีขึ้นด้วย
- วิตามินบี (ตอนเช้าขณะที่ท้องว่าง) : ควรกินในตอนเช้าขณะที่ท้องว่างจะดีที่สุด เพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ดี หรือถ้ากินตอนท้องว่างแล้วรู้สึกระคายเคืองกระเพาะอาหาร แนะนำให้กินระหว่างมื้ออาหารเช้า หรือหลังอาหารเช้าแทน จะช่วยกระตุ้นระบบประสาท ให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า พร้อมทำกิจกรรมต่าง ๆ
- วิตามินอี (ร่วมกับมื้ออาหารที่มีไขมัน) : ร่างกายจะดูดซึมวิตามินอีได้ดีเมื่อกินร่วมกับอาหารที่มีไขมันนั่นเอง ดังนั้นควรกินวิตามินอีร่วมกับอาหารที่มีไขมันเล็กน้อย เช่น นม โยเกิร์ต อัลมอนด์ ถั่วต่าง ๆ หรือจะกินคู่กับอะโวคาโดก็ได้
- วิตามินดี (ระหว่างมื้ออาหาร หรือหลังอาหารเช้าหรือเที่ยงไม่เกิน 30 นาที) : เป็นช่วงที่ร่างกายจะเริ่มดูดซึมสารอาหาร และไขมันจากอาหารจะมาช่วยเป็นตัวทำละลาย ให้ร่างกายดูดซึมวิตามินดีอย่างเต็มที่มากขึ้น
- วิตามินเอและเค (ระหว่างมื้ออาหารหรือหลังอาหารไม่เกิน 30 นาที ) : เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายได้ดีในไขมัน
- แคลเซียม (แคลเซียมคาร์บอเนตควรกินหลังอาหารทันที และแคลเซียมซิเตรตควรกินตอนท้องว่าง) : ควรเลี่ยงกินพร้อมยาตัวอื่น ๆ เพราะอาจไปลดการดูดซึมได้
- ธาตุเหล็ก (ตอนท้องว่าง) : ไม่ควรกินธาตุเหล็กร่วมกับแคลเซียม วิตามินอี และสังกะสี เพราะจะขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกาย
- สังกะสี (ตอนท้องว่าง) : ไม่ควรกิน Zinc พร้อมกับธาตุเหล็กหรือแคลเซียม
- มัลติวิตามิน (หลังอาหารกลางวันไม่เกิน 30 นาที) : เพื่อลดอาหารระคายเคืองกระเพาะอาหารจากวิตามินบางตัว และเพื่อให้ไขมันจากอาหารมื้อใหญ่ในตอนเที่ยงที่กินเข้าไปช่วยเป็นตัวละลายให้ร่างกายดูดซึมวิตามิน แร่ธาตุได้ดีขึ้น
ที่มา โรงพยาบาลเชียงใหม่ ฮอสพิทอล