โรคฝีดาษวานรเป็นโรคติดต่อต้องเฝ้าระวัง ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งแพร่โรคได้จากการสัมผัสโดยตรงกับผื่น ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนองจากผู้ป่วย จึงขอให้ประชาชนร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการสงสัยโรคฝีดาษวานร เช่น ตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนองที่ผิวหนังตามตัว และไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น วันนี้ทาง ไบรท์ทูเดย์ (Bright Today) ได้รวบรวมข้อมูล วิธีสังเกตอาการ “ฝีดาษลิง” และการป้องกัน มาให้ทุกคนได้เฝ้าระวังกัน
อาการฝีดาษลิง
อาการมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และมีต่อมน้ำเหลืองโต ข้อแตกต่างระหว่างฝีดาษลิงและฝีดาษคือจะไม่มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต เช่นเดียว กับในฝีดาษลิง ภายใน 1-3 วัน
การรักษาฝีดาษลิง
1.วิธีการ PCR ของเหลวจากตุ่มน้ำผิวหนัง
2.ยาต้านไวรัส Cidofovir /TecovirimatJbrincidofovir
3.วัคซีนที่ได้รับอนุญาตในอเมริกาคือ JYNNEOS
- ด่วน! ผู้ป่วยฝีดาษลิง รายแรกในไทย หนีออกจากโรงพยาบาล
- เปิดอาการผู้ติดเชื้อ ฝีดาษลิง รายแรกในไทย ชายไนจีเรีย มีไข้ เจ็บคอ
- สธ.เผย ฝีดาษลิง เหมือนจะน่ากลัว รักษาตามอาการ ชี้ ยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน
การติดต่อ
จากสัตว์สู่คน
- จากการสัมผัสทางผิวหนัง
- สารคัดหรั่งในร่างกาย เมือก เลือด ผิวหนัง จมูก ปาก ตา
- การนำซากสัตว์มาปรุงอาหาร
- ถูกกัดป่วย ข่วน กัด สัมผัส เครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
จากคนสู่คน
- ละอองฝอยทางการหายใจ
- การสัมผัสสารคัดหรั่งจากผู้ป่วย
- การสัมผัสเลือด ,รอยโรคที่ผิวหนัง
- การสัมผัสของใช้ส่วนตัวปนเปื้อนสารคัดหรั่งจากผู้ป่วย
- ระยะฝักตัว 7-14 วัน อาจได้ถึง 21 วัน
การป้องกันฝีดาษลิง
- ล้างมือด้วยสบู่ / แอลกอฮอล์
- งดรับประทาน ปรุงอาหารจากสัตว์ป่า, ของป่า
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่นาจากพื้นที่เสี่ยง / ป่วย
- หลีกเลี้ยงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยง และมีอาการ
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY