รู้ตัวหรือยัง? หมอเตือนคน 3 กลุ่ม "กินกล้วย" ต้องระวัง ไม่ใช่แค่ผู้ป่วยโรคไต-หัวใจ

Home » รู้ตัวหรือยัง? หมอเตือนคน 3 กลุ่ม "กินกล้วย" ต้องระวัง ไม่ใช่แค่ผู้ป่วยโรคไต-หัวใจ
รู้ตัวหรือยัง? หมอเตือนคน 3 กลุ่ม "กินกล้วย" ต้องระวัง ไม่ใช่แค่ผู้ป่วยโรคไต-หัวใจ

กล้วยมีประโยชน์มาก แต่หมอเตือนคน 3 กลุ่ม ต้องระวังเป็นพิเศษ ไม่ใช่แค่ผู้ป่วยโรคไต-หัวใจ

กล้วย เป็นผลไม้ที่ได้รับการยกย่องว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพนับไม่ถ้วน ทั้งการเพิ่มพลังงาน ด้วยคาร์โบไฮเดรตและวิตามินบีหรือการช่วยย่อยอาหาร ด้วยปริมาณใยอาหาร และยังช่วยควบคุมความดันโลหิต เนื่องจากมีโพแทสเซียมสูง

อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงปริมาณโพแทสเซียมที่สูงในกล้วย “คอลลีน สปีด” รองศาสตราจารย์ด้านโภชนาการ จากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต สหรัฐอเมริกา เตือนว่าการกินกล้วยมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่เป็นโรคไตได้ “ผู้ที่เป็นโรคไตวายระยะสุดท้าย จำเป็นต้องติดตามการบริโภคโพแทสเซียมอย่างใกล้ชิด”

ไม่เพียงเท่านั้น แต่รองศาสตราจารย์สปีดยังกล่าวเสริมด้วยว่า “อาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียมอาจรบกวนยาบางชนิดที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจล้มเหลว” โดยเน้นย้ำว่า ใครก็ตามที่มีคำถามหรือข้อกังวลเกี่ยวกับสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพิ่มกล้วยลงในมื้ออาหาร

ภาวะโพแทสเซียมสูง เป็นภาวะที่มีโพแทสเซียมในเลือดมากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ การบริโภคโพแทสเซียมในปริมาณสูงจะทำให้ไตทำงานหนัก  โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว

แต่สำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี American Heart Association แนะนำให้รับประทานกล้วยเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่หลากหลายผู้ที่ไม่มีโรคไตก็อย่ากังวลเรื่องการกินกล้วยมากเกินไป เพราะกล้วยจะเป็นอันตรายก็ต่อเมื่อรับประทานในปริมาณมากๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักโภชนาการชาวอังกฤษ แคทเธอรีน คอลลินส์ เคยแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกของเธอกับ BBC ว่า “กล้วยช่วยรักษาอัตราการเต้นของหัวใจให้คงที่ ช่วยกระตุ้นการปล่อยอินซูลินจากตับอ่อน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และสิ่งสำคัญกว่าคือการควบคุมความดันโลหิต”

“ในคนที่มีสุขภาพดี การกินกล้วยประมาณ 400 ลูกต่อวัน จึงจะสามารถผลิตระดับโพแทสเซียมที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นได้” คอลลินส์กล่าวเสริม

 

 

  • เช็กก่อนกิน! ถั่ว 3 แบบ มีสารก่อสารพัด “โรคร้าย” ไม่ควรเอาเข้าปากแม้แต่ชิ้นเดียว
  • ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ตัว! เตือนคน 7 กลุ่ม ไม่ควรกิน “แตงโม” อร่อยสดชื่น แต่เสี่ยงอันตราย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ