วันที่ 5 มกราคม 2567 ตามรายงาน ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่ กฎกระทรวง 2 ฉบับ กำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับการโอนและการจำนองจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง พ.ศ.2566
โดยเป็น ที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด หรือบ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดิน พร้อมอาคาร รวมถึงอาคารชุดหรือคอนโดฯ ซึ่งมีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกินสามล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกินสามล้านบาท ลงนามโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สำหรับเหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ โดยที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สมควรกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัย หรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวเป็นกรณีพิเศษ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
สาระสำคัญของกฎกระทรวง
ทั้งนี้ สาระสำคัญ ของกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว คือการขยายเวลามาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย ปี 2567 มี วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ส่งเสริมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ รวมถึงช่วยรักษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์
- จุรินทร์ เฉลยแล้ว! ความหมาย ‘งบเป็ดง่อย’ สะท้อน งบประมาณปี 67
- สภาเดือด! ปชป. เปิดคลิปย้อน ‘เศรษฐา’ ยัน ไม่กู้เงินทำดิจิทัลวอลเล็ต
- เชือดหนัก! สั่งปิด ผับดังขอนแก่น 5 ปี เซ่นคดี ‘สมรักษ์’ และ ‘เด็ก 17’
รายละเอียด
ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 2% เหลือ 1% และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% (เฉพาะการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน) โดยให้มีผลใช้บังคับใช้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้ารัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน ได้มีมติ ครม.เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 ต่ออายุมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ออกไปอีก 1 ปี โดยให้ มีผลบังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
สาระสำคัญคือ ค่าโอน 2% ลดเหลือ 1% หรือภาระค่าใช้จ่ายภาษีโอนจากล้านละ 20,000 บาท ลดเหลือล้านละ 10,000 บาท
อีกรายการคือค่าจดจำนอง (กรณีขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน) 1% ลดเหลือ 0.01% หรือภาระค่าใช้จ่ายจดจำนอง จากล้านละ 10,000 บาท ลดเหลือล้านละ 100 บาทเท่านั้น ดูเอกสารฉบับเต็ม
ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา