ระลึกถึง “จอห์น เอฟ. เคนเนดี” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ถูกลอบสังหารถึงแก่ชีวิต

Home » ระลึกถึง “จอห์น เอฟ. เคนเนดี” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ถูกลอบสังหารถึงแก่ชีวิต
John-F-Kennedy- 22 พฤศจิกายน 1963-min (2)

22 พฤศจิกายน 1963 จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา ถูกลอบสังหารถึงแก่ชีวิต ขณะหาเสียงเลือกตั้งสมัยที่ 2

จอห์น เอฟ. เคนเนดี (John Fitzgerald Kennedy) หรือ JFK ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 1963 เวลา 12.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ เดลลีย์พลาซา เมืองแดลลัส รัฐเท็กซัส ประธานาธิบดีเคนเนดี ถูกลอบสังหารถึงแก่ชีวิต ระหว่างที่นั่งขบวนรถประธานาธิบดีไปกับภรรยาของเขา แจ็กเกอลีน เคนเนดี โอนาสซิส เพื่อเตรียมหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ของเขา

  • ประวัติ วันกองทัพเรือ จากโรงเรียนนายเรือ สู่รากฐานวงการทหารเรือไทย
  • หมอดูตาบอด ทำนายชะตากรรมโลก ปี 2024 น่ากลัวกว่าที่คิด!
  • เช็กวันหยุดและวันสำคัญ เดือนพฤศจิกายน 2566

ซึ่งในช่วงที่ เคนเนดี ดำรงตำแหน่งสถานการณ์โลกมีความวุ่นวายและตึงเครียดเป็นอย่างมาก เพราะเป็นช่วงสงครามเย็นและการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ขณะที่สหภาพโซเวียตเริ่มทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศ โดยที่สหรัฐฯ ก็เริ่มทดลองตอบโต้เช่นกัน

John-F-Kennedy-22-พฤศจิกายน-1963-min
ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ขณะเดินทางผ่านฝูงชนก่อนเกิดเหตุ
John-F-Kennedy-22-พฤศจิกายน-1963-min-1
ที่มา Wikipidia

ลำดับเหตุการณ์วัน ลอบสังหาร JFK

  • เวลา 11:40 น. ได้มีขบวนพาเหรดต้อนรับประธานาธิบดีจากสนามบินสู่ตัวเมือง โดยท่านประธานาธิบดีได้นั่งรถลีมูซีนเปิดประทุน รถมี 3 ช่วง ประกอบด้วยประธานาธิบดีอยู่ด้านหลังสุด ช่วงที่ 3 โดยมีภรรยานั่งอยู่เคียงข้าง และช่วงที่ 2 มี นายจอห์น บี คอนนอลลี (John B. Connally) ผู้ว่ารัฐเท็กซัสและภรรยา ช่วงหน้ามีนายบิล เกรเออร์ (Bill Greer) คนขับรถ และนายรอย เคลเลอร์แมน (Roy Kellerman) ตัวแทนพิเศษของทำเนียบขาว ซึ่งสองข้างทางมีประชาชนชาวดัลลัสเดินทางมาต้อนรับประธานาธิบดีอย่างล้นหลาม
  • เวลา 12:30 น. ขบวนรถได้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเอล์ม และในระหว่างนั้นเกิดเสียงปืนดังขึ้น กระสุนถูกประธานาธิบดีที่คอ กระสุนนัดนั้นยังถูกผู้ว่าจอห์นที่บริเวณหลังอีกด้วย ในขณะที่ภรรยาของท่านประธานาธิบดีเข้าใจว่าเป็นเสียงประทัดที่ประชาชนจุดต้อนรับขบวน ทันใดนั้นเสียงปืนก็ดังขึ้นอีก 1 นัด กระสุนถูกประธานาธิบดีที่ศีรษะ ภรรยาของท่านจึงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ประชาชนที่อยู่ 2 ข้างทางต่างพากันแตกตื่น บางคนหมอบลงกับพื้น บางคนวิ่งหนี เพื่อหลบลูกกระสุนที่อาจเกิดการยิงขึ้นมาอีก ซึ่งในห้วงเวลาดังกล่าว ภรรยาของท่านประธานาธิบดี (แจ็คเกอลีน โอนาซิส) มองเห็นเศษกะโหลกชิ้นหนึ่งของสามี กระเด็นไปค้างอยู่ท้ายกระโปรงรถ เธอจึงเสี่ยงตายปีนไปท้ายรถเพื่อไปเก็บเศษกะโหลกของประธานาธิบดี เจ้าหน้าที่หน่วย secret service (หน่วยรักษาความปลอดภัยของประธานาธิบดี) ต้องวิ่งตามรถและปีนขึ้นไปช่วยจับ เพราะเกรงว่าเธอจะตกลงมาจากรถ (ภายหลังเมื่อถึงโรงพยาบาล เธอได้นำชิ้นส่วนของกะโหลกศีรษะไปให้แพทย์แล้วบอกว่า “ช่วยนำเศษกะโหลกนี้ไปต่อให้สามีฟื้นคืนชีพมาที”) 
  • เวลา 13:00 น. ประธานาธิบดีทนพิษบาดแผลไม่ไหวและได้เสียชีวิตลง และได้มีการชันสูตรศพ ผลชันสูตรพบว่าประธานาธิบดีเสียชีวิตจากกระสุนนัดที่ยิงเข้าศีรษะ กระสุนได้เข้าทำลายเนื้อสมอง ทำให้ท่านเสียชีวิต

ในช่วงเย็น ได้มีการลำเลียงศพของเคนเนดี้ออกจากเมืองดัลลัสด้วยเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน และรองประธานาธิบดี ลินดอน บี. จอห์นสัน ได้ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีบนเครื่องบินลำดังกล่าว

ที่มา : Wikipidia ตึกที่ใช้ในการลอบสังหาร

ในวันลอบสังหารนั้นเอง ลี ฮาร์วีย์ ออสวอลด์ อดีตนาวิกโยธินสหรัฐฯ ถูกจับกุมในข้อหาสังหารเจ้าหน้าที่ตำรวจและลอบสังหารประธานธิบดี หลังการลอบสังหารเคนเนดีเพียง 45 นาที ออสวอลด์ให้การปฏิเสธในทุกข้อหา อ้างว่าตนเป็นเพียงแพะรับบาป และอีก 2 วันต่อมา เมื่อมีการย้ายตัวออสวอลด์จากสถานีตำรวจไปยังเรือนจำท้องถิ่น เขาก็ถูกยิงโดย แจ็ค รูบี้ เจ้าของไนต์คลับในดัลลัส ต่อหน้าต่อตาประชาชนนับล้านทั่วประเทศผ่านการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์

คณะกรรมการวอร์เรน ซึ่งถูกตั้งขึ้นมาเพื่อสอบสวนเรื่องนี้โดยเฉพาะยืนยันว่า ออสวอลด์เป็นผู้ลงมือเพียงลำพัง ไม่มีเบื้องลึกเบื้องหลังใดๆ เช่นเดียวกับ แจ็ค รูบี้ ที่สังหารออสวอลด์ก็ทำเพียงลำพัง ท่ามกลางข้อสงสัยพร้อมทฤษฎีมากมายที่เกี่ยวข้องกับการลอบสังหารประธานาธิบดีที่ทรงเสน่ห์ที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐฯ

ที่มา : วิกิพีเดีย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ