ยังนำออกไม่ได้! ผู้รอดชีวิตรายแรก เหตุอุโมงค์ถล่ม ล่าสุดชีพจรเริ่มอ่อนลง

Home » ยังนำออกไม่ได้! ผู้รอดชีวิตรายแรก เหตุอุโมงค์ถล่ม ล่าสุดชีพจรเริ่มอ่อนลง

อุโมงถล่ม อุปสรรค

ทีมกู้ชีพ เจอ ผู้รอดชีวิตรายแรก เหตุ อุโมงค์ถล่ม ในรถดั๊ม แต่ยังนำออกไม่ได้ หลังเจออุปสรรค หินก้อนใหญ่ถล่มขว้างทาง ล่าสุดผ่านไป 5 ชม. สัญญาณชีพเริ่มอ่อน

ความคืบหน้าหลังจากเข้าสู่วันที่ 4 ของปฎิบัติการค้นหาและช่วยเหลือ ผู้สูญหาย 3 คน เป็นชาวจีน 2 คน และชาวเมียนมา 1 คน เหตุดินถล่มภายในอุโมงค์ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงคลองขนานจิตร อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค.2567 ที่ขณะนี้ พบรถบรรทุกของผู้ประสบภัยแล้ว 1 คัน แต่ยังไม่สามารถเข้าไปถึงจุดประตูฝั่งคนขับของรถได้   

โดยเมื่อช่วงเวลาประมาณ 14.50 น. กู้ภัยพบตำแหน่งของรถดั้ม ที่คาดว่าผู้ประสบภัยจะอยู่ในนั้น แต่จนแล้วจนรอด จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่สามารถนำตัวผู้ประสบภัยออกมาได้ แม้ว่าผู้ประสบภัยจะอยู่ห่างเพียงแค่ 1.8 เมตรก็ตาม โดยภายหลังจากที่ได้รับแจ้งจากคนงาน ที่กำลังขุดดินภายในอุโมงค์ว่า ขณะที่เร่งขุดดินอยู่นั้นได้ยินเสียงเคาะมาจากด้านใน เพื่อขอความช่วยเหลือจึงเชื่อว่า น่าจะเป็นเสียงมาจากผู้ประสบภัย 1 รายที่อยู่ภายในรถดั๊มซึ่งอยู่ลึกลงไปประมาณ 1.8 เมตร

อุโมงถล่ม-อุปสรรคพิก

นอกจากนี้อุปสรรคอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ทีมกู้ภัย และคนงานขุดไปไม่ถึงผู้ประสบภัยเสียที เนื่องจากดินที่เราต้องขุดลงไปนั้นมีหินอยู่ด้วย เมื่อขุดไปเจอหินก็ต้องเปลี่ยนเครื่องมือ และเปลี่ยนคนเข้าไปทำการแย็ก หรือสกัดหินให้มีขนาดเล็กลง เพื่อที่จะทำการเคลื่อนย้ายออกมาด้านนอก ซึ่งการทำงานจะวนเวียนและซ้ำกันในลักษณะนี้ เพราะอุโมงค์ที่ขุดไปมีลักษณะค่อนข้างแคบ เครื่องจักรไม่สามารถเข้าได้จึงต้องใช้แต่แรงงานคน

ล่าสุด ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรณีอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงถล่ม รายงานความคืบหน้าในการปฏิบัติการค้นหาผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ภายในอุโมงค์ ประจำวันที่ 29 ส.ค.67 ล่าสุดเวลา 04.00 น. สรุปสถานการณ์ ดังนี้

  1. พนักงานชาวจีน แจ้งวิศวกรชาวไทย เวลา 02.00 น.ว่าได้ใช้เครื่องเจาะกระแทกดำเนินการเจาะดิน และหินในแนวเฉียง ประมาณ 45 องศาทะลุหิน พบชั้นปูน (ปูนผสมสารเร่งแข็งตัว ที่ฉีดผิวอุโมงค์ ) ซึ่งมีความหนาประมาณ 1 เมตร จากจุดที่คาดว่าจะมีผู้ประสบภัยตามที่เครื่องสแกนตรวจพบสัญญาณชีพ ในการเจาะทะลุผ่านชั้นคอนกรีต
  2. วิศวกรจึงได้ประสานให้ทีมUSAR วางแผนการทำงานในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย เมื่อเจาะทะลุชั้นปูน ณ จุดดังกล่าว
  3. ตรวจไม่พบการทรุดตัวของเพดานและผนังอุโมงค์

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ