ม.ศรีปทุม จัดเวทีแข่งขัน “SPU AI Prompt Mini Hackathon 2024” ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา ครั้งแรกในประเทศไทย มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างทักษะ AI Engineer อาชีพมาแรงเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานทั่วโลกในยุคดิจิทัล
ในการแข่งขันนี้ มีนักเรียนสนเข้าร่วมการแข่งขันคับคั่งว่า 300 คน จาก 28 รร.ทั่วประเทศ ทีม Query Crafters มาวินคว้ารางวัลชนะเลิศ เผยทักษะการใช้ AI จะเป็นหนึ่งสกิลสำคัญที่ต้องมี ค่าตัวสูง ชี้ AI Engineer เนื้อหอม ผลตอบแทนสูง ธุรกิจทุกอุตสาหกรรม มุ่งลงทุน AI ยกระดับศักยภาพธุรกิจ พร้อมเปิด 3 อาชีพดาวรุ่งยุคค่าตัวสูงยุค AI 1. Prompt Engineer 2. AI and Machine Learning Engineer และ 3. Data Engineer
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปราลี มณีรัตน์ รักษาการคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก โดยได้เข้ามามีบทบาทแทรกซึมอยู่ชีวิตมนุษย์อย่างรวดเร็ว และได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม หันมาให้ความสนใจและเริ่มลงทุนเพื่อสร้างแต้มต่อทางธุรกิจให้สามารถแข่งขันและเติบโตต่อไปได้ และยังเป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนาประเทศ
มหาวิทยาลัยมองเห็นเทรนด์ดังกล่าวจึงได้เตรียมความพร้อมพัฒนาคน เข้าไปตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อทันต่อการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี AI ในภาคเศรษฐกิจและสังคม ในมิติของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษามีสกิลการใช้ AI ชีวิตประจำวัน การปรับหลักสูตรคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อสร้างบุคลากรด้าน AI Engineer ป้อนให้ทันความต้องการของตลาดแรงงาน รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อบ่มเพาะเยาวชน ให้มีความพร้อมศึกษาต่อในสายอาชีพ AI Engineer
ทั้งนี้คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( NECTEC) สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AiAT) และ สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยี ไซเบอร์ จัดเวทีแข่งขัน “SPU AI Prompt Mini Hackathon 2024” ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา
ครั้งแรกของประเทศไทย โดยทีมชนะเลิศได้แก่ทีม Query Crafters รับเงินรางวัล 10,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับเงินรางวัล 8,000 บาท และรองชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่โรงเรียนราชบพิธ รับเงินรางวัล 5,000 บาท ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนชั้นนำทั่วประเทศ อาทิ เตรียมอุดมศึกษา มหิดลวิทยานุสรณ์ จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย โยธินบูรณะ สามเสนวิทยาลัย ฯลฯ ที่สนใจเข้าร่วมกว่า 300 คน
“ การจัดการแข่งขันครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อกระจายความรู้ บ่มเพาะ การสร้าง Prompt Engineer เพื่อให้มีความเข้าใจและใช้คำสั่งพัฒนา AI ให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ นับเป็นจุดประกายแนวทางให้เยาวชน โดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี AI ต้องการกระจายองค์ความรู้เทคโนโลยี Al เพื่อบ่มเพาะทักษะ AI Engineer ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่สนใจเข้าสู่สายอาชีพ AI Engineer”
นาย กนธี บุญมีประกอบ Super AI Engineer Machine Learning Scientist บริษัท ฟินีม่า จำกัด เปิดเผยว่า อาชีพ AI Engineer คือ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ หน้าที่หลัก ๆ คือการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งด้วยเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์สามารถเรียนรู้ พัฒนา
และสามารถตัดสินใจในเรื่องที่ซับซ้อนได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นผู้นำข้อมูลใหม่ๆมาพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ในปัจจุบัน กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดในยุคปัจจุบันและอนาคตและเป็นอาชีพที่มีผลตอบแทนสูงมีโอกาสเติบโตในสายงานอย่างมาก
เนื่องจากธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมในประเทศกำลังมุ่งนำเอา AI เข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ประกอบกับ ในอนาคตอันใกล้ AI จะเข้าไปมีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ และการทักษะพื้นฐานเช่นเดียวกับการใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์พื้นฐาน Word, Excel ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ทำให้เกิดความต้องการอาชีพ AI Engineer มาพัฒนา AI Prompt ที่ง่ายและสะดวก สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
ทั้งนี้อาชีพดาวรุ่ง AI Engineer ที่มาแรงและเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน ได้แก่
- Prompt Engineer อาชีพใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานปัญญาประดิษฐ์และ Natural Language Processing ต้องการมีทักษะความเข้าใจและการสร้างข้อความที่มีความหมายจากข้อมูลธรรมชาติ
- AI and Machine Learning Engineer อาชีพนี้เปรียบเสมือนผู้สร้างหัวใจหลักของ AI ช่วยศึกษา ออกแบบ และพัฒนา Algorithm ให้ระบบ AI สามารถทำงานและเรียนรู้ได้ด้วยตัวระบบเอง และประยุกต์ใช้ให้ตรงกับความต้องการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การแพทย์, การผลิต, การขนส่ง, การสื่อสาร, การเงิน
- Data Engineer วิศวกรข้อมูล ทำให้ข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น ให้องค์กรสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เป็น insight เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจ
นาย ธนพัฒน์ แช่มเทศ ตัวแทนจากทีม Query Crafters ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่ง SPU AI Prompt Mini Hackathon 2024 เปิดเผยว่า ทีมเกิดจากการรวมตัวกันจากเด็กต่างโรงเรียนคือโรงเรียนศรียาภัยชุมพร และโรงเรียนนานาชาตินิวตัน ที่พบกันในงานประกวด Hackathon ครั้งก่อนได้ชักชวนกันมาเข้าร่วมแข่งขัน
การเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการสร้าง Prompt Engineer แบบจับมือทำและนำมาประยุกต์ใช้ได้ทัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการคว้าชนะครั้งนี้ และยังเป็นแรงบันดาลใจให้มุ่งมั่นเข้าเรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ AI เพราะมองว่าเป็นเทคโนโลยีที่มี ความสำคัญกับมนุษย์ ภาคธุรกิจ มากขึ้นเรื่อย ๆ