วัดศรีมหาโพธิ ในอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และถูกทิ้งร้างไปจนถึง พ.ศ.2366 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ เจดีย์สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ปูนปั้นประดับองค์ระฆังเป็นเจดีย์ทรงเครื่อง มีบัวคอเสื้อสังวาลทับทรวงพระวิหารขนาด 2 ห้องอยู่ภายใน กำแพงแก้วด้านหน้ามี 2 องค์ ลักษณะฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนยอดเป็นลักษณะเป็นองค์ปรางค์และด้านหลังอีก 2 องค์ ภายในบริเวณวัดได้จัดเป็นสวนสาธารณะร่มรื่นเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย และป่าดงยางที่ยังคงสภาพสมบูรณ์เหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
จุดเด่นที่ไม่ควรพลาดแวะชมอีกอย่าง คือ ศาลาอายุประมาณ 80 ปี ซึ่งเป็นศิลปะผสมไทย-จีน หน้าบันมีชิ้นงานครุฑถลา แบบ 3 มิติ ถือเป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทย และมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะอยุธยาตอนปลาย
คำบอกเล่าของ ละเอียด ใคร่ครวญ ไวยาวัจกรวัดศรีมหาโพธิ
เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2505 พระครูสุวรรณสารพิสิษฐ์ (หลวงพ่อต้อ) เจ้าอาวาสวัดพายทองในขณะนั้น ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถ โดยมีช่างใหญ่เป็นผู้ควบคุม ได้ปั้นลวดลายเอาไว้ที่ซุ้มประตูทางเข้าโบสถ์ ทางด้านฝั่งตะวันออกเป็นลายพระราหูอมจันทร์ ทางด้านตะวันตกเป็นลายเทพนม หลังจากนั้นพระปลัดเสริญ กาแก้ว เจ้าอาวาสวัดศรีมหาโพธิในขณะนั้น ได้ว่าจ้างมาทำการสร้างหอฉัน และได้ปั้นครุฑถลาที่หน้าบันเอาไว้ และช่างปั้นครุฑถลาบนหน้าบันหอฉัน คือ ช่างคนเดียวกับที่ปั้นซุ้มประตูโบสถ์ ชื่อว่า “ตากริช บ้านเอกราช”
วัดศรีมหาโพธิ ต.โรงช้าง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง