บทบรรณาธิการ : ใครใจร้าย

Home » บทบรรณาธิการ : ใครใจร้าย


บทบรรณาธิการ : ใครใจร้าย

คอลัมน์ บทบรรณาธิการ

ใครใจร้าย

ความไม่เป็นเอกภาพระหว่างนายกรัฐมนตรี กับพรรคแกนนำรัฐบาล ประกอบกับ ประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายรัฐบาล หรือวิปรัฐบาล ต้องหยุด ปฏิบัติหน้าที่จากข้อกล่าวหาคดีทุจริต นำไปสู่การประชุมสภาล่ม

โดยเฉพาะช่วงนี้อยู่ในสมัยประชุมสภา จึงมีความกังวลต่อกฎหมายต่างๆ จะไม่ผ่านการพิจารณา หรือส.ส.ไม่ครบองค์ประชุม การประชุมไปต่อไม่ได้ ส่งผลต่อความรับผิดชอบและเสถียรภาพรัฐบาล

แม้ขณะนี้จะได้ประธานวิปรัฐบาลคนใหม่ แต่จากการให้สัมภาษณ์ของนายกฯ ยังแสดงท่าทีกังวลเรื่องส.ส.ในสภา ยอมรับควบคุมไม่ได้ จึง เรียกร้องความร่วมมือจากทุกพรรคการเมือง

ถึงกับระบุในทำนองว่า หากกฎหมายล้มคว่ำเพื่อให้รัฐบาลล้ม คิดว่าใจร้าย กับประเทศเกินไป

ดั งที่ทราบกันดี ฐานอำนาจและที่มาของผู้นำรัฐบาลปัจจุบัน สืบเนื่องจากรัฐประหาร 22 พ.ค.2557 กวาดจับนักการเมืองฝ่าย ตรงข้าม นักวิชาการ นักศึกษา นักกิจกรรม

ออกคำสั่ง ออกกฎหมาย นโยบายทวงคืน ที่ก่อผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะคน ชนบทรากหญ้า แต่งตั้งคณะกรรมการและ แผนยุทธศาสตร์ชาติที่ไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม ถูกตั้งคำถามจากประชาชน

แม้กระทั่งยอมคายอำนาจ วางกติกาสืบทอดผ่านการเลือกตั้ง ได้รัฐธรรมนูญใหม่ แต่ก็ยากแก่การแก้ไขชำระ โดยเฉพาะอำนาจ 250 ส.ว.แต่งตั้ง เหนือกว่าส.ส.ที่มาจากการเลือกของประชาชน

ด้วยเหตุต่างๆ เหล่านี้ในมุมมอง ผู้นำประเทศเข้าข่ายใจร้ายด้วยหรือไม่

ข ณะเดียวกัน ด้วยรัฐธรรมนูญที่เป็นปัญหา แก่การพัฒนาประเทศ ไม่เปิดโอกาสให้ คนที่มีความสามารถ หรือวิสัยทัศน์ใหม่ๆ เข้ามา บริหาร เมื่อประสบกับสถานการณ์โควิดจึงเป็นวิกฤตเรื้อรัง เศรษฐกิจดิ่งทรุด ชีวิตและครอบครัวผู้คนล่มสลาย

ที่ผ่านมาจึงเกิดการชุมนุมเรียกร้องความเปลี่ยนแปลง อยากได้เศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทวงถามความรับผิดชอบจากโรคระบาด ผู้คนล้มตายเป็นเบือ ถามหาหลักประกัน ความมั่นคงในชีวิตข้างหน้า

แต่รัฐบาลกลับใช้มาตรการแข็งกร้าวดุดัน ใช้กฎหมายอย่างล้นเกิน จับกุมคุมขัง โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ รัฐบาลมองเป็นผู้ก่อความไม่สงบ ไม่ใช่ผู้เห็นต่างทางความคิด

ใจร้ายกับประเทศ ประชาชน และอนาคตของชาติเกินไปหรือไม่

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ