ทำความเข้าใจใหม่! “คนหาย” ไม่จำเป็นต้องรอ 24 ชั่วโมง

Home » ทำความเข้าใจใหม่! “คนหาย” ไม่จำเป็นต้องรอ 24 ชั่วโมง

แจ้งความคนหาย ไม่ต้องรอ24ชั่วโมง-min

ความเข้าใจผิดๆ ที่หลายคนยังไม่รู้! การแจ้งความคนหาย ไม่จำเป็นต้องรอให้ครบ 24 ชั่วโมง เพราะ 48 ชั่วโมงแรกถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดในการค้นหา

การแจ้งความคนหาย ไม่มีกฏหมายข้อใดระบุว่าต้องรอให้เวลาผ่านไป 24 ชั่วโมงจึงจะแจ้งความได้ ญาติสามารถไปสถานีตำรวจท้องที่ที่คนหาย เพื่อแจ้งความและให้รายละเอียดกับพนักงานสอบสวน และควรขอสำเนาบันทึกประจำวันและหมายเลขโทรศัพท์มือถือของพนักงานสอบสวน เพื่อประสานงานหรือสอบถามความคืบหน้าด้วย ปัญหาการความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การแจ้งความคนหาย ต้องรอให้ถึง 24 ชั่วโมง ยังคงเป็นความสับสนในสังคมไทยปัจจุบัน เพราะความไม่รู้ อาจนำไปสู่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้

  • โอนเงินผิดบัญชี ต้องทำอย่างไร? ทำตามวิธีนี้ ได้เงินคืนแน่นอน
  • เช็กก่อนเลี้ยง! สัตว์ที่ห้ามเลี้ยงในประเทศไทย หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
  • “บุหรี่ไฟฟ้า” ปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน เรื่องจริงหรือแค่คำหลอกลวงผู้บริโภค ?

ซึ่งปัญหาที่ญาติคนหายพบเสมอในการแจ้งความ คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับแจ้งความ โดยให้เหตุผลว่า คนหายยังหายไปไม่ถึง 24 ชั่วโมง ถือเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้ปฏิบัติ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจใช้ดุลพินิจในการไม่รับแจ้งความกรณีไม่สมเหตุสมผล เช่น คนหายขาดการติดต่อ หรือกลับบ้านคลาดเคลื่อนจากเวลาปกติ แต่ถ้าเป็นกรณีเด็กเล็ก คนชรา หรือผู้ป่วยที่มีอาการทางสมอง สามารถแจ้งความได้ทันที

ช่วงเวลา 48 ชั่วโมงแรกถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดในการค้นหา สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำชับพนักงานสอบสวนทุกท้องที่ให้รับแจ้งความคนหายในทุกกรณี และทำการสืบสวนสอบสวนตามหาคนหายทันทีโดยไม่ต้องรอให้ครบ 24 ชั่วโมง แต่ล่าสุดในทางปฏิบัติก็ยังคงพบกรณีแบบนี้อยู่เรื่อยๆ

เมื่อคนสูญหายต้องทำอย่างไร?

เมื่อพบว่ามีการสูญหายของบุคคล ไม่ว่าจะเป็น ลูก-หลาน ญาติ-พี่น้อง หรือคนรู้จัก ให้รีบไปแจ้งความทันที โดยต้องเดินทางไปที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่คนหายเพื่อแจ้งความ และลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานเพื่อให้ดำเนินการสืบค้นหาคนหายต่อไป เพราะการรีรอไม่เป็นผลดีต่อการสูญหายของบุคคลที่คุณรักโดยเฉพาะ เด็ก-เยาวชน และสตรี ที่มักตกเป็นเป้าของการค้ามนุษย์ และมิจฉาชีพได้ง่าย

ขั้นตอนการแจ้งความคนหายที่สถานีตำรวจ

  1. พบพนักสอบสวนเพื่อให้สอบถามรายละเอียดและสอบปากคำผู้แจ้งเกี่ยวกับข้อมูลของคนหาย
  2. เสมียนประจำวันคดีลงบันทึกประจำวัน
  3. พนักงานสอบสวนมอบสำเนาบันทึกประจำวันให้แก่ผู้แจ้ง (ในกรณีที่พนักงานสอบสวนไม่มอบสำเนาบันทึกประจำวันดังกล่าวให้ ผู้แจ้งความต้องร้องขอ)
  4. ให้ผู้แจ้งขอชื่อและหมายเลขโทรศัพท์มือถือของพนักงานสอบสวนที่รับแจ้งความไว้ด้วย สำหรับการประสานงานเพื่อสอบถามความคืบหน้า

ใครที่สามารถแจ้งความคนหายได้

ส่วนบุคคที่สามารถแจ้งความได้ ตามระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดีเรื่องคนหาย พลัดหลง และประมวลวิธีพิจารณาความอาญา คือ บุคคลดังต่อไปนี้

  1. ผู้บุพการี ได้แก่ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย
  2. ผู้สืบสันดาน ได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื่อ 
  3. ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาลของผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถ
  4. สามี ภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเท่านั้น

แต่ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจใช้ดุลพินิจในการไม่รับแจ้งความได้ ในกรณีที่ไม่สมควรแก่เหตุ เช่น การกลับบ้านคลาดเคลื่อนจากเวลาปกติที่เคยกลับเพียง 2–3 ชั่วโมง ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอ เนื่องจากผู้หายอาจจะติดธุระ หรือมีเหตุจำเป็นเรื่องอื่น จึงทำให้กลับบ้านช้ากว่าปกติ เป็นต้น

ดังนั้น การแจ้งความคนหายจึงสามารถแจ้งได้ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องหายไปครบ 24 ชั่วโมง แต่อย่างใด อีกทั้งถ้าเป็นกรณีเร่งด่วน เช่น เด็ก คนชรา หรือผู้ป่วยที่มีอาการทางสมองหายออกจากบ้านไป สามารถแจ้งความเพื่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันที เพื่อจะได้แก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที

ที่มา จส.100

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ