ทำความรู้จัก Lab แบบครบวงจรและมาตรฐานที่ควรมีในการฝากเก็บและเพาะสเต็มเซลล์

Home » ทำความรู้จัก Lab แบบครบวงจรและมาตรฐานที่ควรมีในการฝากเก็บและเพาะสเต็มเซลล์
ทำความรู้จัก Lab แบบครบวงจรและมาตรฐานที่ควรมีในการฝากเก็บและเพาะสเต็มเซลล์

ปัจจุบันสเต็มเซลล์ (Stem Cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่ใช้ในการรักษานั้นสามารถเก็บได้จากหลายแหล่ง โดยสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อสายสะดือหรือเลือดจากสายสะดือทารกนั้นมีข้อดีกว่าการเก็บสเต็มเซลล์ในผู้ใหญ่ตรงที่ไม่ต้องเจ็บตัวเนื่องจากเก็บจากรกและสายสะดือที่แยกมาจากทารกแล้ว นอกจากนั้นสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อรกนั้นมีศักยภาพในการแบ่งตัวและเปลี่ยนแปลงตัวเองสูงที่สุด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่  https://www.medezegroup.com/th/news/stem-cell-6-heal

แต่การจะใช้สเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อสายสะดือหรือเลือดสายสะดือจากทารกนั้นจำเป็นต้องเก็บตั้งแต่แรกคลอด นำมาคัดแยกและจัดเก็บรักษาสภาพเพื่อรอการใช้งานในอนาคต โดยจะต้องผ่านกระบวนการจัดเก็บที่ได้มาตรฐาน เพราะคุณไม่อาจทราบได้ว่าในอนาคตคุณจำเป็นจะต้องนำสเต็มเซลล์ดังกล่าวมาใช้ตอนไหน การเลือกห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานย่อมลดโอกาสผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นและเพิ่มความมั่นใจในการรับบริการมากขึ้น ถ้าคุณกำลังวางแผนที่จะเก็บสเต็มเซลล์ ไม่ว่าจะจากสเต็มเซลล์ของบุตรที่กำลังจะเกิดหรือสเต็มเซลล์จากไขมันของคุณเอง สิ่งที่คุณต้องมองหาจากสถาบันเหล่านั้นเริ่มตั้งแต่

1.ขั้นตอนการจัดเก็บ – ต้องมีอุปกรณ์และภาชนะที่ใช้จัดเก็บเนื้อเยื่อที่สามารถเก็บได้อย่างปราศจากเชื้อและควบคุมอุณหภูมิ เพื่อลดโอกาสการปนเปื้อนและคงสภาพของเนื้อเยื่อก่อนนำส่งสู่ห้องปฏิบัติการ ในกรณีที่ต้องการเก็บสเต็มเซลล์ของบุตรควรจะมีอุปกรณ์และภาชนะที่ใช้จัดเก็บเนื้อเยื่อสำรองให้คุณติดตัวไว้หนึ่งชุด เผื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน

2.ขั้นตอนการนำส่งเนื้อเยื่อสู่ห้องปฏิบัติการ – มีบริการจากเจ้าหน้าที่จากห้องปฏิบัติการนั้นๆในการนำส่งเนื้อเยื่อจากโรงพยาบาลสู่ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้คุณและครอบครัวได้ใช้เวลาที่สำคัญร่วมกันโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการนำส่งเนื้อเยื่อ โดยยิ่งระยะเวลาในการนำส่งเนื้อเยื่อเร็วเท่าไหร่ สภาพของเนื้อเยื่อก็ยิ่งสมบูรณ์เท่านั้น บางห้องปฏิบัติการเปิดทำการตลอดเวลา 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์

3.ห้องปฏิบัติการปราศจากเชื้อที่ได้มาตรฐาน – คุณควรมองหาห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานความสะอาดสำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับคือ Clean Room Class 100 หรือ ISO Class 7 ขึ้นไป ที่ปราศจากเชื้อ ควบคุมอุณหภูมิและมีระบบจัดการอากาศที่เหมาะสม

4.ขั้นตอนการคัดแยกสเต็มเซลล์ – หลังจากได้เนื้อเยื่อมาแล้วจะนำมาสู่ขั้นตอนการคัดแยกเพื่อจัดเก็บต่อไป โดยควรเป็นเครื่องอัตโนมัติที่จะลดความผิดพลาดจากมนุษย์และสามารถควบคุมสภาพให้อยู่ในระบบปิดเพื่อลดการปนเปื้อนและคงสภาพสเต็มเซลล์ได้ดีกว่าเครื่องคัดแยกที่ใช้มนุษย์ ตัวอย่างเครื่องคัดแยกสเต็มเซลล์อัตโนมัติเช่น AXP และมีกระบวนการตรวจคุณภาพและจำนวนสเต็มเซลล์หลังจากคัดแยกรวมถึงตรวจหาการติดเชื้อต่างๆก่อนจัดเก็บ

5.ขั้นตอนการจัดเก็บสเต็มเซลล์ – ในน้ำยาสำหรับเพาะเลี้ยงเซลล์มนุษย์และจัดเก็บในเครื่องแช่แข็งคงสภาพเซลล์

6.ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่ได้มาตรฐาน – เช่น  American Association of Blood Banks (AABB) หน่วยงานดูแลเรื่องจัดเก็บโลหิตและสเต็มเซลล์เม็ดเลือดที่รับรองในทุกขั้นตอนรวมถึงคุณภาพของเซลล์ที่จัดเก็บให้ได้มาตรฐานระดับเดียวกันทั่วโลก หรือ Good manufacturing practice (GMP) ที่ดูเรื่องมาตรฐานขั้นตอนการผลิตในห้องปฏิบัติการ

7.บุคลากรที่มีประสบการณ์ – เนื่องจากขั้นตอนการจัดเก็บและนำไปใช้นั้นจะต้องอ้างอิงตามหลักฐานทางการแพทย์ ควรมีแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสเต็มเซลล์เพื่อให้คำแนะนำปรึกษาตลอดการใช้งาน รวมไปถึงบุคลากรต่างๆในห้องปฏิบัติการต้องมีประสบการณ์ในการทำงานเพาะเลี้ยงและจัดเก็บเนื้อเยื่อให้ห้องปฏิบัติการปราศจากเชื้อ

8.การรับประกันคุณภาพ – บางสถาบันมีการออกเอกสารรับประกันคุณภาพในกรณีที่เมื่อนำมาใช้แล้วไม่สามารถได้จำนวนเซลล์เพียงพอกับการรักษาเป็นวงเงินต่างๆกันไป รวมไปถึงระยะเวลาที่การันตีคุณภาพในการจัดเก็บ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 30 ปี และบางแห่งมีการรับประกันจำนวนเซลล์ตั้งต้นก่อนที่จะจัดเก็บ

9.ความน่าเชื่อถือของห้องปฏิบัติการ – อาจจะพิจารณาจากระยะเวลาการดำเนินการ จำนวนผู้เข้ารับบริการ ตัวอย่างกรณีผู้รับบริการที่นำไปใช้จริง การให้การสนับสนุนงานวิจัยร่วมกับสถาบันการแพทย์อื่นๆ เป็นต้น

10.ค่าใช้จ่ายแฝง – เนื่องจากค่าใช้จ่ายตอนแรกมักจะรวมค่าจัดเก็บและคัดแยกไปแล้ว แต่ในกรณีที่นำมาใช้จริงนั้นยังมีค่าใช้จ่ายเรื่องการเพาะเลี้ยงเพื่อเพิ่มจำนวนให้เพียงพอกับการรักษาใสแต่ละครั้ง ค่าใช้จ่ายเรื่องการดูแลรักษาหลังพ้นระยะเวลาการันตีไปแล้วเป็นต้น

ทั้งนี้ใครที่สนใจก็ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้ดีก่อนตัดสินใจทุกครั้งนะคะ เพราะความปลอดภัยสำคัญที่สุด

อ้างอิง

1.Cord Blood Association. Model Criteria for Regulation of Cord Blood Banks and Cord Blood Banking. [Online]. 2019. Available at https://stemcellsjournals.onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/sctm.cbmc. [July 2021]

[Advertorial]

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ