ทำความรู้จัก ‘บุ้ง ทะลุวัง’ จากลูกสาวตุลาการ สู่นักกิจกรรมทางการเมือง

Home » ทำความรู้จัก ‘บุ้ง ทะลุวัง’ จากลูกสาวตุลาการ สู่นักกิจกรรมทางการเมือง
บุ้ง ทะลุวัง คือใคร

เปิดเส้นทางชีวิต ‘บุ้ง ทะลุวัง’ ลูกสาวตุลาการผู้รักความยุติธรรม สู่บทบาทนักเคลื่อนไหวทางการเมือง จนกลายผู้ต้องหา ม.112 กับจุดจบสุดท้ายของชีวิต

ณ เวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก บุ้ง ทะลุวัง หรือ บุ้ง เนติพร เสน่ห์สังคม ติวเตอร์และนักกิจกรรมทางการเมือง วัย 27 ปี จากลูกตุลาการสู่ผู้ต้องขังคดี มาตรา 112 เธอเปรียบเสมือน “ฉากหลัง” ที่คอยสนับสนุนและดูแลการทำกิจกรรมทางการเมืองของกลุ่มทะลุวังอย่างต่อเนื่อง หวังเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ดีกว่า

ประวัติเส้นทางชีวิตของ ‘บุ้ง’

บุ้ง เรียนจบมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า และเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยที่ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความสามารถทางภาษาดีเยี่ยม บุ้งจึงทำงานเป็นครูสอนพิเศษภาษาอังกฤษ และสามารถสร้างรายได้อย่างงดงาม

เธอเติบโตขึ้นในบ้านนักกฎหมาย มีพ่อเป็นผู้พิพากษาและพี่สาวเป็นทนายความ โดยพี่สาวของบุ้งเคยให้สัมภาษณ์ว่า บุ้งเป็นเด็กเรียนเก่ง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ทั้งยังเป็นเด็กกิจกรรม สมัยที่บุ้งเรียนอยู่ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า เธอเคยทำหน้าที่คณะกรรมการนักเรียนด้วยเช่นกัน

messageImage 1715665584414

จากผู้สนับสนุนสู่ผู้ถูกดำเนินคดี

บุ้งถูกดำเนินคดีจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองถึง 3 คดี จากการทำโพลสอบถามของกลุ่มทะลุวัง เธอทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จ ส่งผลให้ บุ้ง และ ใบบอ ซึ่งขณะนั้นทั้งคู่ทำงานสนับสนุนให้กับกลุ่มทะลุวัง ถูกดำเนินคดี มาตรา 112 จากการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกทางการเมือง และคดีทำโพลของทะลุวังอีก 2 คดี ทำให้ศาลอาญากรุงเทพใต้สั่งถอนประกันและส่งไปคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง มาตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2565

ในตอนนั้น ศาลก็ยังคงไม่ให้ประกันตัว บุ้งและเพื่อนจึงเริ่มต้นอดอาหารประท้วงมาตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2565 โดยยืนยันว่าจะอดอาหารต่อไปจนกว่าจะศาลจะให้ประกันตัว กระทั่งผ่านไป 94 วัน ศาลจึงมีคำสั่งให้ประกันตัวทั้งบุ้งและใบปอ

  • เปิดพินัยกรรม บุ้ง ทะลุวัง ยกทรัพย์สินให้หยก พร้อมบริจาคร่างเป็นอาจารย์ใหญ่
  • ด่วน! ‘บุ้ง ทะลุวัง’ เสียชีวิตแล้ว หลังหัวใจหยุดเต้นเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา
  • ‘บุ้ง ทะลุวัง’ ทรุดหนัก! น้ำหนักลดไปกว่า 20 โล ล่าสุดหน้าท้องหด

ศาลฯสั่ง ‘บุ้ง ทะลุวัง’ จำคุก 1 เดือน

หลังจากที่ “บุ้ง” ได้ต่อสู่และมีบทบาททางการเมืองและการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนกับกลุ่มอื่น ๆ จนมีประเด็นความคิดเห็นขัดแย้งกับกลุ่มรัฐบาลอยู่บ่อยครั้ง กระทั่งเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 สื่อมวลชนรายงานว่า ศาลอาญากรุงเทพใต้สั่งจำคุก บุ้ง ทะลุวัง เป็นระยะเวลา 1 เดือน ไม่รอลงอาญา ในข้อหาละเมิดอำนาจศาล กรณีปะทะกับเจ้าหน้าที่ และไม่ให้ประกันตัว

บุ้งหยก-min

ย้อนไทม์ไลน์ บุ้ง ทะลุวัง

  • 26 ม.ค. 2567 ศาลอาญากรุงเทพใต้สั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว กรณีชุมนุมที่กระทรวงวัฒนธรรม พ่นสีธงสัญลักษณ์เบื้องสูง และมีคดีละเมิดอำนาจศาล กระทบกระทั่งกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลสั่งลงโทษจำคุก 1 เดือน โดย น.ส.เนติพรแจ้งว่าจะไม่ยื่นประกันตัวใหม่หรือขออุทธรณ์ นำตัวส่งไปยังทัณฑสถานหญิงกลาง
  • 27 ม.ค. 2567 บุ้ง อดอาหารและน้ำ โดยเสนอข้อเรียกร้อง 2 ข้อ คือ ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และต้องไม่มีใครติดคุกเพราะเห็นต่างทางการเมืองอีก
  • 4 ก.พ. 2567 น.ส.เนติพรทำพินัยกรรม ยกทรัพย์สิน เงินสด บัญชีเงินฝาก นาฬิกาข้อมือ ต่างหู และแมว ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ น.ส.หยก (ขอสงวนชื่อและนามสกุล) ผู้ต้องหาคดี 112 ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว
  • 6 ก.พ. 2567 น.ส.เนติพรถูกนำตัวส่งทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เนื่องจากมีภาวะตับอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อ่อนแรงมากจนเดินไม่ไหว
  • 8 มี.ค. 2567 น.ส.เนติพรถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี
  • 30 มี.ค. 2567 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า อาการของ น.ส.เนติพร ความดันโลหิตต่ำ ค่าโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ไม่ขับถ่ายอุจจาระเป็นระยะเวลาหนึ่ง ปัจจุบันบุ้งน้ำหนักตัวประมาณ 63 กก. ลดลงจากก่อนหน้านี้กว่า 20 กิโลกรัม
  • 4 เม.ย. 2567 น.ส.เนติพรถูกย้ายกลับไปควบคุมตัวอยู่ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ พร้อมด้วย น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือตะวัน และ นายณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร หรือแฟรงค์

บุ้ง ทะลุวัง เสียชีวิตแล้ว

กระทั้งเมื่อวันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2567 โรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้ออกมาเปิดเผยว่า ว่า น.ส.เนติพร หรือ บุ้ง ทะลุวัง ผู้ต้องขังคดีทางการเมือง มีอาการหมดสติ และหัวใจหยุดเต้น เจ้าหน้าที่กำลังเร่งปั๊มหัวใจ ก่อนนำส่งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ต่อมาในเวลา 11.22 น. น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม (บุ้ง) ได้เสียชีวิตลงแล้ว เจ้าหน้าที่กำลังอยู่ในขั้นตอนชันสูตรหาสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริง พร้อมกับติดต่อครอบครัวให้มารับศพ

11852 0

อย่างไรก็ตาม รวมระยะเวลาการอดอาหารประมาณ 108 วัน (27 ม.ค. 67 – 14 พ.ค. 67) นับตั้งแต่ที่ บุ้ง ทะลุวัง ถูกขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง วันที่ 26 ม.ค. 67 หลังถูกศาลอาญากรุงเทพใต้ ลงโทษจำคุก 1 เดือน เหตุละเมิดอำนาจศาล จนกระทั่ง ประกาศอดอาหารและน้ำประท้วง (Dry Hunger Strike) ตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค.2567 เวลา 18.00 น.

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ