ทำความรู้จัก “นกชนหิน” สัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 หลังเหลือไม่ถึงร้อยตัวในโลก

Home » ทำความรู้จัก “นกชนหิน” สัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 หลังเหลือไม่ถึงร้อยตัวในโลก
-หน้าปกใหม่-1

ทำความรู้จัก “นกชนหิน” สัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าหายาก หลังใกล้สูญพันธุ์และเหลือไม่ถึง 1 ร้อยตัวในโลก

หลังจากที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่นกชนหิน (Rhinoplex Vigil) โดยจะเป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เนื่องจากนกชนหินเป็นสัตว์ป่าหายาก ใกล้สูญพันธุ์ จำเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวดนั้น

วันนี้ทีมข่าวไบรท์ ทูเดย์ (Bright Today) ก็ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สัตว์ป่าสงวนอันดับที่ 20 หรือ นกชนหิน มาฝากกันค่ะ

  • เปิดเส้นทาง คุณยาย วัย81ปี โดดน้ำหวังจบชีวิต ตีกรรเชียงลอยคอ ร่วม20กม.
  • ตกอีกเป็นทะเลแน่ กรมอุตุเตือนฝนตกซ้ำ กรุงเทพฯ ปริมณฑล ร้อยละ 80%
  • เผยคลิปนาทีระทึก น้ำท่วมระยองหนัก กระแสน้ำพัดเด็กนักเรียนตกจากรถ
305043020 451075673730939 1392970704881604539 n
ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

นกชนหิน คือนกอะไร

นกชนหิน เป็นนกเงือก 1 ใน 13 ชนิดของไทย กระจายเฉพาะตั้งแต่จังหวัดชุมพรจนถึงจังหวัดนราธิวาส พบเป็นกลุ่มขนาดเล็กในป่าดิบชื้นระดับต่ำ มีกลุ่มประชากรหลักอยู่ในอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง

โดยปัจจุบัน นกชนหิน มีเหลือในธรรมชาติน้อยมาก ประมาณไม่เกิน 100 ตัว มีปัจจัยคุกคามสูง เนื่องจากมีโหนกที่ตันและสวยงาม เหมือนลักษณะของงาช้าง จึงเป็นที่ต้องการของตลาดค้าสัตว์ป่า ส่งผลให้เกิดการลักลอบล่า เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ แม้จะกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 410 แล้วก็ตาม

อย่างไรก็ตาม นกชนหิน ยังคงเป็นที่นิยมในตลาดมืด องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ( IUCN ) จึงปรับสถานภาพการอนุรักษ์นกชนหิน จากสัตว์ป่าใกล้ถูกคุกคาม เป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง

เนื่องจาก “นกชนหิน” มีโหนกที่ตันและสวยงามเหมือนลักษณะของงาช้าง ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดค้าสัตว์ป่า ส่งผลให้เกิดการลักลอบล่านกชนหินอย่างมาก จนกระทั่งมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้จะกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 410 แล้วก็ตาม จึงต้องยกระดับการคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าสงวน

305624340 395463722766667 7093492012773370632 n

ข้อมูลจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ