ถ่วงดุลอำนาจ ส.ว. สมาชิกวุฒิสภา เป็นใคร ถึงมีสิทธิออกเสียงแทนคนทั้งประเทศ

Home » ถ่วงดุลอำนาจ ส.ว. สมาชิกวุฒิสภา เป็นใคร ถึงมีสิทธิออกเสียงแทนคนทั้งประเทศ
สมาชิกวุฒิสภา

ส.ว. หรือ สมาชิกวุฒิสภา กลายเป็นประเด็นร้อนหลังเลือกตั้ง ประชาชนแห่ถาม เป็นใคร ทำไมถึงมีสิทธิออกเสียงแทนคนทั้งประเทศเลือก นายกรัฐมนตรี

กลายเป็นประเด็นร้อนในโลกโซเชียล หลัง พรรคก้าวไกล สามารถเอาชนะศึก เลือกตั้ง 2566 ได้คะแนนจากประชาชนเป็นเอกฉันท์ แน่นอนว่า เมื่อเป็นพรรคที่ได้คะแนนเยอะสุดจึงกลายเป็นพรรคที่ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ แต่เส้นทางกลับไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด เมื่อทาง สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. กลายเป็นก้างขวางคอชิ้นใหญ่ที่อาจทำให้ นายพิธา อาจไปไม่ถึงฝันในการเป็น “นายกรัฐมนตรี”

สมาชิกวุฒิสภา2

วุฒิสภาไทย หรือเดิมมีชื่อว่า “พฤฒสภา” เป็นวุฒิสภาของประเทศไทย โดยเป็นสภาสูงในรัฐสภาไทยคู่กับสภาผู้แทนราษฎรไทยซึ่งเป็นสภาล่าง วุฒิสภาไทยเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2489 สมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด หรือผสมระหว่างแต่งตั้งกับเลือกตั้ง มีเพียงวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 และ พ.ศ. 2540 เท่านั้นที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และมีบางช่วงที่ไม่มีวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ภายใต้การทำงานของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ กำหนดให้วุฒิสภามีวาระคราวละ 5 ปี

  • ศาลสั่ง ส.ส.เตอร์ ก้าวไกล โทษ คุก 2 เดือน ปรับ 4 พัน-รอลงอาญา 2 ปี
  • ส.ว.กิตติศักดิ์ ลั่นแรงถึง ‘ปุ่น ศิธา’ หลังโดนวิจารณ์ ปม โหวตพรรคก้าวไกล
  • ข้อมูลผิด ? ส.ว. กิตติศักดิ์ คนที่เรียก ศิธา ไทยสร้างไทย เxี้ย จบแค่ ม.ปลาย

งานนี้ทำเอาประชาชนเริ่มตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของ ส.ว. หรือ สมาชิกวุฒิสภา ที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ตอนนี้ หลังมีกระดราม่าเมื่อ ส.ว. บางรายเริ่มออกมาพูดถึงมีแนวโน้มว่าจะไม่โหวตให้ นายพิธา เป็นนายกฯ จนมี #สวมีไว้ทำไม ติดเทรนทวิตเตอร์ โดยประชาชนมองว่า ระยะเวลาการดำรงตำแน่งของสมาชิกวุฒิสภาที่ยาวถึง 5 ปี ทั้งที่รัฐบาล 1 ชุดมีวาระการทำงานเพียง 4 ปีเท่านั้น นี่อาจเป็นการถ่วงดุลอำนาจที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจาก ส.ว.ชุดปัจจุบัน ถูกตั้งขึ้นมาภายในเงื่อนไขของ คสช. ที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประชาชนจึงเกิดความไม่สบายใจหวั่นว่า ส.ว. จะเอนเอียงไม่ฟังเสียงของประชาชน เพราะหากมองในมุมกลับกัน ส.ว.ชุดดังกล่าว ถูกตั้งโดย นายพิธา แล้ว พลเอกประยุทธ์ ชนะเลือกตั้งในครั้งนี้ ก็คงไม่แฟร์กับลุงตู่เช่นเดียวกัน

สมาชิกวุฒิสภา1

ทั้งนี้ ประชาชนเริ่มตั้งคำถามว่า การที่ ส.ว. หรือ สมาชิกวุฒิสภา จำนวน 250 คน ที่จะยกมือโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ในการจัดตั้งรัฐบาลปี 2566 สมควรแล้วหรือไม่ แล้วประชาชนจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการโหวตในครั้งนี้อาจเป็นการถ่วงดุลอำนาจที่ไม่เป็นธรรม สำหรับการตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เพราะ ส.ว. ไม่ได้มาจากการเลือกของประชาชน แถมยังเป็นการแต่งตั้งขึ้นมาในยุค คสช. ที่นำโดย พลเอกประยุทธ์ อย่างไรก็ตามก็ต้องรอดูว่าผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีอำนาจในการตัดสินในการจัดโหวตนายกรัฐมนตรี ภายในสภาฯ คิดเห็นอย่างไร ฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนทั้งประเทศหรือไม่ และ ส.ว. ยังควรมีสิทธิที่จะยกมือโหวตเลือกนายกฯไหม อีกทั้ง ในอนาคตจะมีการปรับเปลี่ยนระยะการดำรงตำแหน่งเพื่อให้ไม่เป็นการถ่วงดุลอำนาจที่ไม่เป็นธรรมจาก “สมาชิกวุฒิสภา” อย่างไร

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ