ตาเกือบบอด! งูสวัดขึ้นหน้าผาก ไม่ไปหาหมอ บดถั่วเขียวพอกเอง แค่ 2 วันสยองมาก

Home » ตาเกือบบอด! งูสวัดขึ้นหน้าผาก ไม่ไปหาหมอ บดถั่วเขียวพอกเอง แค่ 2 วันสยองมาก
ตาเกือบบอด! งูสวัดขึ้นหน้าผาก ไม่ไปหาหมอ บดถั่วเขียวพอกเอง แค่ 2 วันสยองมาก

งูสวัดขึ้นหน้าผาก บดถั่วเขียวพอกเอง รักษาได้ 2 วัน สภาพสยองมาก หอบสังขารไปหาหมอ ตาเกือบบอด!

ตามรายงานพบว่า ชายเวียดนามอายุ 45 ปี มาพบแพทย์ผิวหนังโดยมีตุ่มสีแดงบวมที่หน้าผากข้างหนึ่ง ลามไปจนถึงเบ้าตา ดั้งจมูก และมองเห็นภาพไม่ชัดในตาขวา สอบถามจนรู้ว่ารักษาโรคงูสวัดด้วยตัวเอง ไม่ใช่แค่ไม่หาย แต่อาการรุนแรงขึ้นจนน่ากลัว

ปรากฎว่าเมื่อ 5 วันที่แล้ว นานต้วนพบว่ามีตุ่มเล็กๆ ปรากฏบนหน้าผากของตนเอง โดยมีรอยแดงและแสบร้อน เมื่อคิดว่าตนเองเป็นโรคงูสวัด จึงเรียนรู้เคล็ดลับที่ปู่ย่าตายายเคยทำมาแต่โบราณ นั่นคือการใช้ “ถั่วเขียว” บดแล้วทาบนใบหน้า

อย่างไรก็ตาม หลังจากลองรักษาตามตำรับโบราณแล้ว แผลกลับรุนแรงและเจ็บปวดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เขายังคงไม่ไปหาหมอ แต่เลือกเชื่อคำที่คนอื่นๆ บอกว่าการใช้ “ผงอนามัยสตรีแบบซอง” ทาบริเวณที่เป็นงูสวัดจะหายได้ 

กระทั่ง 2 วันต่อมา ใบหน้าของเขาบวม ปวดจนทนไม่ไหว สายตาพร่ามัว แม้แต่ลืมตายังทำไม่ได้ ในเวลานี้เขาจึงรีบไปโรงพยาบาล แพทย์ระบุว่าผู้ป่วยเป็นโรคงูสวัดแต่ไม่ได้รักษาอย่างเหมาะสม นำไปสู่การติดเชื้อ

“ผิวหนังบริเวณหน้าผากบวม กระจกตาได้รับความเสียหาย มีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลเป็นที่กระจกตา และการมองเห็นลดลง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานาน” แพทย์กล่าว

งูสวัด เป็นโรคที่พบบ่อย แต่มีคนน้อยมากที่ไปสถานพยาบาลเพื่อรับการรักษาในช่วง “เวลาทอง” คือตั้งแต่ 24-72 ชั่วโมงหลังจากเกิดโรค ซึ่งหลังจากนั้นไวรัสจะบุกรุกทำลายรากและเส้นประสาท และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย ทั้งการติดเชื้อ แผลเป็นถาวร อาการปวดเป็นเวลานาน เส้นประสาทเป็นอัมพาต เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เช่น หากงูสวัดเกิดขึ้นที่หน้าผาก เบ้าตา หรือจมูก อาจทำให้การมองเห็นลดลง หรือสูญเสียการมองเห็นโดยสิ้นเชิง หรือหากเกิดขึ้นที่แก้ม อาจทำให้ใบหน้าเป็นอัมพาต และปากบิดเบี้ยวได้

โดยอาการบ่งชี้โรคงูสวัด มักเริ่มจากเป็นปื้นสีแดง บวมเล็กน้อย เป็นสันสูงกว่าผิว หลังจากนั้น 1-2 ชั่วโมง จะมีตุ่มที่มีของเหลวใสปรากฏบนปื้นสีแดง

แพทย์เตือนด้วยว่า การใช้ยาพื้นบ้านรักษาอย่างไม่เหมาะสม จะทำให้เกิดการอักเสบและการติดเชื้อที่บาดแผล ดังนั้น เมื่อพบอาการของโรคงูสวัด ควรได้รับการตรวจจากแพทย์ผิวหนังเพื่อรับคำแนะนำในการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง โรคงูสวัดอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้

  •  เคสช็อก แพทย์จีนวินิจฉัยพลาด บอกเด็กมี “เนื้องอกในปาก” ที่แท้แค่ของกินติดเพดาน
  • เคสช็อก หมอสงสัย “เลือดผสมน้ำผลไม้” ต้นเหตุคนไข้ดับ รพ.โบ้ยญาติ “ซื้อเลือด” มาเอง

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ